กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กและเยาวชนตำบลริโก๋

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

ชมรมตาดีกาตำบลริโก๋

ตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของสังคมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เป็นผู้นำครอบครัว เป็นผู้นำชุมชนเป็นผู้นำประเทศ ซึ่งในปัจจุบันในพื้นที่ตำบลริโก๋ได้เกิดปัญหาการระบาดของยาเสพติด บุหรี่ อบายมุข ปัญหาเด็กและเยาวชนติดเกมส์ออนไลน์ การเกิดคุณแม่วัยใสส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ดังนั้นชมรมตาดีกาตำบลริโก๋จึงเห็นความสำคัญบุคคลเหล่านี้ที่จะต้องได้รับความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล ชุมชน และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งให้ด้านสาธารณสุข ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนให้ได้รับความรู้และทักษะในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติสุขการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องตามหลักศาสนามีคุณธรรมจริยธรรมเป็นคนดีของสังคมในอนาคตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนทำความดีไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดและบุหรี่

เด็กและเยาวชนรับรู้ถึงอันตรายของยาเสพติดและบุหรี่ที่มีผลต่อสุขภาพ

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

เด็กและเยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ลดการเล่นเกมและโซเชียล

เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ลดการเล่นเกมและโซเชียล

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/11/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้โทษภัยของยาเสพติดและบุหรี่กิจกรรมอบรมให้ความรู้การส่งเสริมสุขภาพให้เด็กและเยาวชน การใช้แนวทางศาสนาในการดำเนินชีวิตประจำวัน เป้าหมาย 100 คน จำนวน 2 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้โทษภัยของยาเสพติดและบุหรี่กิจกรรมอบรมให้ความรู้การส่งเสริมสุขภาพให้เด็กและเยาวชน การใช้แนวทางศาสนาในการดำเนินชีวิตประจำวัน เป้าหมาย 100 คน จำนวน 2 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ 4 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 10,000.- บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน ๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 15,000.- บาท
  • ค่าวัสดุการอบรม จำนวน 100 คนๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน4,000.- บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 12 ชั่วโมงๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 6,000.- บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 850.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,850.00 บาท

หมายเหตุ :
หมายเหตุ : งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กและเยาวชนมีสมรรถภาพร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็ง
2. เด็กและเยาวชนไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
3. เด็กและเยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และสามาถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน


>