กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตะบิ้ง ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

สำนักเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตะบิ้ง

1. นางซาลือมา สาและ
2. นางสาวฟิรดาวส์ มายีซา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง อ.สายบุรี จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 กำหนดว่า “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ
ตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ ดังนี้ (4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินร้อยละ ๑5 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ในแต่ละปีงบประมาณนั้น และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงให้สนับสนุนได้ในวงเงินตามความจำเป็นและครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ให้เป็นทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น หมวด 3ค่าตอบแทนการประชุม ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ ข้อ 6.เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพให้จ่ายเป็นค่าตอบแทนของกรรมการ ที่ปรึกษา อนุกรรมการ คณะทำงานและบุคคลภายนอกที่ได้รับเชิญมาประชุม ดังต่อไปนี้
6.1 ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับกรรมการหรือที่ปรึกษา ไม่เกินครั้งละ 400 บาทต่อคนเดือนหนึ่งไม่เกิน 800 บาท
6.2 ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับอนุกรรมการ ไม่เกินครั้งละ 300 บาท ต่อคนเดือนหนึ่งไม่เกิน 600 บาท
6.3 ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับคณะทำงาน ไม่เกินครั้งละ 200 บาท ต่อคน เดือนหนึ่งไม่เกิน 400 บาท
6.4 ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับบุคคลภายนอกซึ่งเข้าประชุมคณะกรรมการกองทุนหรือคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ให้เบิกจ่ายค่าตอบแทนได้เท่ากับกรรมการ หรืออนุกรรมการหรือคณะทำงาน แล้วแต่กรณี
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตำบล เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุวัตถุประสงค์ โดยคำนึงถึงสถานะการคลังของกองทุนฯ
จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1) เพื่อให้มีการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ/รับทราบและติดตามผลการดำเนินงานโครงการของกองทุน อย่างต่อเนื่อง 2) พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง 3) ส่งเสริมสการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ

1.

23.00 100.00

1) เพื่อให้มีการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ/รับทราบและติดตามผลการดำเนินงานโครงการของกองทุน อย่างต่อเนื่อง
2). พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง
3). ส่งเสริมสการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 27

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตะบิ้ง ปี 2568

ชื่อกิจกรรม
โครงการบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตะบิ้ง ปี 2568
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) ประชุมทำแผนสุขภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง เดือน ตุลาคม 2567

2) จัดประชุมที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารกองทุน ฯ อนุกรรมการกองทุนและเจ้าหน้าที่กองทุนอย่างน้อยไตรมาส ละ 1 ครั้ง

3) คณะกรรมการติดตามผลและประเมินผลโครงการเข้าติดตามการดำเนินงานโครงการที่ได้รับเงินจากกองทุน ปีละ 4 ครั้ง

4) รายงานผลการดำเนินงานกองทุน ฯ การใช้จ่ายงบประมาณกองทุน ฯเดือนตุลาคม 2568

5) สรุปผลการดำเนินงานกองทุน ฯเดือนตุลาคม 2568

1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการกองทุน/ที่ปรึกษา/อนุกรรมการ/คณะทำงานเป็นเงิน 66,725 บาท

  • คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ 19 คน x 400 บาท x 5 ครั้ง เป็นเงิน 38,000 บาท

    • ค่าตอบแทนประชุมอนุกรรมการ (LTC) 300 บาท x 10 คน x 5 ครั้ง เป็นเงิน 15,000 บาท

    • ค่าคณะทำงานกองทุนฯ 9 คน x 200 x 5 ครั้ง เป็นเงิน 9,000 บาท

    • ค่าอาหารว่างและเครืองดื่ม จำนวน 27 คน x 35 x 5 ครั้ง เป็นเงิน 4,725 บาท

    • ค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงานกองทุนฯ เป็นเงิน 18,410 บาท

กิจกรรมที่ 2 ประชุมชี้แจ้งเกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนฯ เป็นเงิน 8,865

  • ค่าอาหารสำหรับจัดประชุม จำนวน 27 คน ๆละ 80 บาท เป็นเงิน 2,160 บาท

    • อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับจัดประชุม จำนวน 27 คน ๆละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,890 บาท

    • ค่าสมนาคุณวิทยากร (600 บ. x 6 ชม.) เป็นเงิน 3,600 บาท

    • ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม จำนวน 27 ชุด ๆละ 45 บาท เป็นเงิน 1,215 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
94000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 94,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.คณะกรรมการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ/รับทราบและติดตามผลการดำเนินงานโครงการของกองทุนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
2.คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้งมีศักยภาพเพียงพอในการปฏิบัติงานของกองทุนฯ
3.การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


>