กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดการขยะต้นทางบ้านท่าพยอม ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

คณะกรรมการหมู่บ้านและอสม.

1. นายปิยะพงศ์ ปากบารา

2. นายธีรยุทธ์ งะสมัน

3. นายวิรัตน์ จิเหม

4. นางอุไร หลีหมัน

5. น.ส.มะลิวัลย์ พรหมดำ

บ้านท่าพยอม หมู่ที่ 7 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

50.00

ปัญหาการจัดการขยะเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศ นับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา และยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการควบคุม และจัดการขยะ แต่ยังประสบปัญหาเรื่องของการกำจัดขยะ เนื่องด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากการกระทำของคน การบริโภค การใช้ชีวิตประจำวัน และอีกหลายปัจจัยอันก่อให้เกิดขยะ ชุมชนบ้านท่าพยอม เห็นว่าหากไม่ขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหาขยะ ขยะก็จะก่อเกิดปัญหาอื่นตามมาหลายประเด็น จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการเชิงรุกส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการขยะในพื้นที่หมู่บ้าน โดยใช้หลักการ 3ช (3Rs) ส่งเสริมให้ประชาชนและ อถล.ประจำครัวเรือน ได้จัดการขยะที่เกิดขึ้นภายในครัวเรือนของตนเอง โดยเป็นการกระตุ้นบทบาทหน้าที่ของ อถล. ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการขยะต้นทาง และสามารถเป็นต้นแบบให้แก่ชุมชนอื่นๆ เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน โดยลักษณะทางกายภาพของพื้นที่หมู่บ้านท่าพยอม มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการจัดการขยะภายในครัวเรือนเอง เช่นการคัดแยกขยะรีไซเคิลและขยะมูลฝอย ดังนั้นคณะกรรมการหมู่บ้านและอสม. เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นให้มีการจัดการขยะต้นทางขึ้นภายในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ส่งเสริมการคัดแยกขยะในครัวเรือน

คนในชุมชนสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกวิธีและถูกประเภท

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/10/2024

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนการดำเนินงานแกนนำชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนการดำเนินงานแกนนำชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมวางแผนการดำเนินงานแกนนำชุมชน/สร้างกลไกชุมชน โดยแกนนำชุมชนและภาคีเครือข่ายชุมชน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 15 คน x 35 บาท = 525 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ธันวาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้วางแผนรูปแบบการดำเนินงานโครงการ และมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
525.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะในครัวเรือนและโรคต่างๆ ที่เกิดจาก แมลงวัน แมลงสาบและหนู

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะในครัวเรือนและโรคต่างๆ ที่เกิดจาก แมลงวัน แมลงสาบและหนู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะในครัวเรือน ด้วยหลักการ 3ช (3Rs) และเรียนรู้โรคต่างๆ ที่เกิดจากพาหะนำโรค

  2. กำหนดมาตรการด้านการจัดการขยะในชุมชนและปฏิบัติตามธรรมนูญจัดการขยะชุมชนร่วมกัน ดังนี้

    2.1 คัดแยกขยะเปียก กิ่งไม้ใบไม้ ออกจากขยะอื่นๆ จัดทำภาชนะที่มีฝาปิดเพื่อแยกเศษอาหาร ผัก ผลไม้ หรือจัดทำหลุมขยะเปียก

    2.2 แยกขยะรีไซเคิลที่ขายได้ แต่ละประเภทให้เป็นระเบียบ เพื่อสะดวกในการหยิบใช้หรือจำหน่าย

    2.3 ขยะติดเชื้อ เช่น หน้ากากอนามัย ผ้าอ้อมเด็ก ผ้าอ้อมผู้ป่วย ผ้าอ้อมผู้สูงอายุ เมื่อถอดออกแล้วควรม้วนตามคำแนะนำข้างห่อ และปิดเทปกาวให้เป็นห่อ ทิ้งแยกในถุงต่างหาก แล้วค่อยนำไปทิ้งลงถังขยะ

    2.4 แยกขยะอันตราย ขยะมีพิษ เช่น หลอดไฟ แบตเตอรี่โทรศัพท์ ถ่านไฟฉาย ภาชนะบรรจุยากำจัดแมลงหรือวัชพืช กระป๋องสีสเปรย์ กระป๋องสารกำจัดแมลง ภาชนะบรรจุสารเคมี ให้แยกออกจากขยะอื่นๆ แล้วให้นำไปทิ้งลงถังขยะอันตรายที่หมู่บ้านจัดเตรียมไว้ตามจุดต่างๆ ไม่ทิ้งปะปนกับขยะทั่วไป

งบประมาณ

-ค่าอาหารว่าง 100 คน x 35 = 3,500 บาท

-ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง x 300 บาท = 900 บาท

-ค่าป้ายไวนิล 1.20 x 2.40 เมตร = 500 บาท

-ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ (วิธีจัดการขยะด้วยหลักการ 3ช (3Rs) และป้ายร่วมใจแยกขยะให้ถูกต้อง & แยก ลด งด ใช้) พร้อมติดตั้ง 1.20 x 2.40 เมตร จำนวน 2 ชุด x 1,500 บาท = 3,000 บาท

-ค่าป้ายไวนิล 60x80 ซม. (ป้ายรณรงค์และประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะรีไซเคิล) จำนวน 7 ชุด x 100 บาท = 700 บาท

-แผ่นผับความรู้ 100 คน x 25 = 2,500 บาท

-กระเป๋าผ้าสำหรับจับจ่ายซื้อของร้านค้าในชุมชน เพื่อลดถุงพลาสติก 100 ใบ x 50 = 5,000 บาท

-ค่าสถานที่และเครื่องกระจายเสียง = 1,000 บาท

-ค่าเช่าเก้าอี้ 100 ตัว x 5 บาท = 500 บาท

-ค่าเช่าเต็นท์ 1 หลัง = 500 บาท

กำหนดการ

08.30 น. - 09.00 น.ลงทะเบียน

09.00 น. - 12.00 น. -ให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะในครัวเรือน ด้วยหลักการ 3ช (3Rs) และเรียนรู้โรคต่างๆ ที่เกิดจากพาหะนำโรค

-ชี้แจงมาตรการด้านการจัดการขยะในชุมชนและปฏิบัติตามธรรมนูญจัดการขยะชุมชนร่วมกัน

-ให้ความรู้ความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการคัดแยกขยะในครัวเรือนและตระหนักถึงอันตรายของโรคต่างๆ ที่เกิดจากแมลงวัน แมลงสาบและหนู

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18100.00

กิจกรรมที่ 3 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ถังพลาสติกพร้อมสติกเกอร์ 102 ครัวเรือน x 150 = 15,300 บาท

-ค่าตัดก้นถัง 102 ถัง x 10 = 1,020 บาท

-ค่าถุงอวนคัดแยกขยะรีไซเคิล 102 ถุง x 80 = 8,160 บาท

-สมุดบันทึกประเภทขยะในครัวเรือน+ปากกา 1 ด้าม 102 ชุด x 30 = 3,060 บาท

-ค่าวัสดุอื่นๆ ที่จำเป็น (มีด 5 กรรไกร 5) = 1,000

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทุกครัวเรือนได้มีถังขยะเปียกไว้คัดแยกขยะอินทรีย์ และมีถุงอวนไว้แยกขยะรีไซเคิล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28540.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามประเมินการใช้งานถังขยะเปียกและการคัดแยกขยะในครัวเรือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีการคัดแยกขยะในครัวเรือนได้อย่างถูกวิธี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 15 x 35 = 525 บาท

-ค่าสรุปผลโครงการจำนวน 2 เล่ม x 500 = 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการหมู่บ้านและอสม. ได้รวบรวมข้อมูล จัดเก็บและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1525.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,690.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดปริมาณขยะที่ส่งกำจัด

2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะ

3. ลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคแมลงวัน แมลงสาบและหนู หรือพาหะนำโรคอื่นๆ

4. ชุมชนสะอาด


>