กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชนตำบลชะมวง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านหัวถนน

1. นางอุไร สงนุ้ย
2. นางปริชาต อ่อนประเสริฐ
3. นางโสภักดิ์ดี ณ.พัทลุง
4. นางยุวดี เกื้อรุ่ง
5. นางจำเรียง แก้วมาก

พื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน หมู่ 1,2,4,5,6,9,10,11,13

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

80.00
2 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน(1 แห่ง)

 

20.00

การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ทำให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า นอนหลับสบาย มีสุขภาพดีขึ้น แต่ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมมีมากขึ้น มนุษย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต การใช้กล้ามเนื้อและพลังกายลดลง ทำให้สมรรถภาพร่างกายและคุณภาพการปฏิบัติงานในหน้าที่ลดลงตามไปด้วย นอกจากนี้ตามรายงานการค้นคว้าทางการแพทย์ยืนยันว่า บุหรี่ สุรา และสิ่งเสพติดต่างๆ มีส่วนบันทอนสุขภาพร่างกาย ในทางตรงกันข้ามการออกกำลังกายหรือการการเล่นกีฬาเพียงวันละ 30 นาที และงดสิ่งเสพติดทั้งหลาย จะช่วยทำให้สมรรถภาพร่างกาย สมบูรณ์แข็งแรง อีกทั้งยังลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน หมู่ที่ 10 ได้เล็งเห็นว่าการออกกำลังกายมีความสำคัญ และยังตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดี ภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติ “รวมพลังสร้างสุขภาพ เพื่อคนไทยแข็งแรง เมืองไทยแข็งแรง” อีกทั้งยังเป็นการต่อยอดโครงการในปีงบประมาณที่ผ่านมาให้ขยายพื้นที่ ขยายกลุ่มเป้าหมาย และสร้างกระบวนการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องยั่งยืน จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชน” ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนออกกำลังกาย มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งลดอัตราการเจ็บป่วย และการเกิดโรคของผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนอีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

60.00 80.00
2 เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน (1 แห่ง)

0.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ วางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ วางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ วางแผนการดำเนินงาน
- คัดเลือกสถานที่จัดกิจกรรมทางกายของชุมชน
- ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกาย ผ่านหอกระจายข่าวหมู่บ้าน
ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 1 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ได้กลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์
มีพื้นที่สาธารณะเพื่อใช้ในการทำกิจกรรมทางกายของชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ออกกำลังกายด้วยการเต้นแอรโรบิก

ชื่อกิจกรรม
ออกกำลังกายด้วยการเต้นแอรโรบิก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดกิจกรรมการออกกำลังกาย เต้นแอโรบิก ที่ รพ.สต. บ้านหัวถนน ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 16.30-17.00น.(ใช้สื่อดิจิตัลมาแทนผู้นำเต้น เพื่อความสะดวก ประหยัด มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น)
2.ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมออกกำลังกายทุกวัน
3.บันทึกค่าดัชนีมวลกาย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- ค่าอุปกรณ์ประกอบการเต้นแอโรบิก (สื่อนำเต้น) ทีวีขนาด 50 นิ้ว จำนวน 1 เครื่องๆละ 9,990 บาท เป็นเงิน 9,990 บาท
- ค่าสมุดบันทึก จำนวน 50 เล่มๆละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ร้อยละ 80 ของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)
ผลลัพธ์
ร้อยละ 60 ของกลุ่มที่มีดัชนีมวลกายเกิน มีค่าดัชนีมวลกายลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10490.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินผลการดำเนินงานชมรมออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลการดำเนินงานชมรมออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมออกกำลังกาย
- รวบรวมผลการออกกำลังกาย และสรุปผลการดำเนินงาน


ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 สิงหาคม 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ชุมชนมีผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 10
ผลลัพธ์
มีชมรมออกกำลังกายในชุมชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,490.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีชมรมออกกำลังกายจำนวน 1 ชมรม
2.ประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น(150 นาที/สัปดาห์) ร้อยละ 80


>