กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ และภัยสุขภาพในชุมชน เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานควบคุมโรคและระบาดวิทยา โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1. นางสาวไซนะ กาซอ 0808678149
2. นายอริสมัน กริยา 0836532030

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดต่อ คือ โรคที่เกิดจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรค ซึ่งสามารถแพร่โดยทางตรงหรือทางอ้อมมาสู่คน โรคติดต่อ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ทำให้เชื้อโรคมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และสามารถแพร่ระบาดได้ง่าย เช่น โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ และโรคติดต่ออื่นๆ อีกทั้งสภาพสังคม สภาพบ้านเรือนที่เพิ่มขึ้น และการอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น การเดินทางติดต่อไปมาที่สะดวกและรวดเร็วล้วนเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดโรคติดต่อที่เพิ่มมากขึ้น และเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดในวงกว้าง ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้เครือข่ายอำเภอจัดตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เพื่อเป็นทีมหลักในการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค
ในปี 2567 จังหวัดนราธิวาสมีรายงานการพบผู้ป่วยโรคติดต่อที่สำคัญ ได้แก่ โรคไข้เลือดออก อัตราป่วย 151.61 ต่อประชากรแสนคน (ข้อมูล ณ วันที่ 25 กันยายน 2567) โรคหัด 100.23 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้เสียชีวิต (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2567) อำเภอสุไหงโก-ลก มีรายงานการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก อัตราป่วย 64.99 ต่อประชากรแสนคน (ข้อมูล ณ วันที่ 25 กันยายน 2567) และโรคหัด อัตราป่วย 144.77 ต่อประชากรแสนคน และยังพบโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โรคมือ เท้า ปาก โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอาหารเป็นพิษ เป็นต้น การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันโรคจะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ เพื่อที่จะสามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุบัติการของโรค และควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้างได้ งานควบคุมโรคและระบาดวิทยา โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จึงได้จัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ และภัยสุขภาพในชุมชน เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2568 เพื่อส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นแกนนำในการเฝ้าระวัง สอบสวนเคลื่อนที่เร็วในชุมชน สามารถป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ พัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคล และชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ และทักษะเรื่องโรคติดต่อ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ และทักษะเรื่องโรคติดต่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

60.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นแกนนำเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว มีความพร้อมในการเฝ้าระวัง และควบคุมป้องกันโรค

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นแกนนำในการเฝ้าระวัง สอบสวนเคลื่อนที่เร็วในชุมชน จำนวน 31 ชุมชน

32.00 32.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การป้องกันควบคุมโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การป้องกันควบคุมโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ จำนวน 80 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- กิจกรรม อบรมให้ความรู้การป้องกันควบคุมโรคติดต่อ และภัยสุขภาพในชุมชน
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน/เปิดโครงการ/แบบทดสอบก่อนอบรม
09.00 - 12.00 น. อบรมการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ และภัยสุขภาพ
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 - 1ุ6.00 น. แบ่งกลุ่มย่อยอบรมโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในชุมชน
16.00 - 16.30 น. สรุปกิจกรรม/แบบทดสอบหลังอบรม
16.30 น. ปิดโครงการ
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,800 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 4,800 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 600 บาท x 3 ชั่วโมง x 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม จำนวน 6 คน x 300 บาท x 3 ชั่วโมง x 1 วัน เป็นเงิน 5,400 บาท
5. ค่าวัสดุสำนักงาน ได้แก่ สมุด ปากกา กระดาษ ฯลฯ เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้รับความรู้ ทักษะ และสามารถเป็นแกนนำเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วในชุมชน มีความพร้อมในการเฝ้าระวัง และควบคุมป้องกันโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,800.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทักษะเรื่องโรคติดต่อสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้
2. แกนนำเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วในชุมชน มีความพร้อมในการเฝ้าระวัง และควบคุมป้องกันโรค


>