กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการตรวจคัดกรอง ค้นหา และดูแลกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านควน 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรอง ค้นหา และดูแลกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านควน 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

รพ.สต.บ้านควน 2

1.นายภาณุวัตร แซ่หลู่ ตำแหน่ง ผอ.รพ.สต.บ้านควน 2 เบอร์โทรศัพท์ 087-3987875
2.นางอารีนี หมัดสะแหละ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 081-0925942
3.นางสุกัญญา ลัสมาน ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 086-0810676
4.นางสาวมุณา กฤติยาสกุล ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 081-0995792
5.นางรอฮานา พลาอาด ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 081-4610968

หมู่ที่ 1 และ 4 ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

16.67
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

19.58

โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง นับเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วย ผู้ดูแล ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการเรื้อรังเป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ไตวายเรื้อรัง เบาหวานขึ้นตา แผลที่เท้า และโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในแต่ละปี เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากวิถีชีวิตของประชาชนมีการเปลี่ยนแปลง มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องมากขึ้น บริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่า มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม มีภาวะเครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
ดังนั้นการป้องกันดูแลที่สำคัญ คือการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยง การตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น เพื่อการคัดแยกกลุ่ม ในการจัดบริการสุขภาพได้ถูกต้องเหมาะสม กลุ่มปกติได้รับคำแนะนำการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม กลุ่มเสี่ยงได้รู้เท่าทันภาวะสุขภาพของตนเอง ได้รับการอบรมให้ความรู้เพื่อให้สนใจและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของตนเองมากขึ้น และกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการส่งต่อพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมาต่อไป
จากผลการดำเนินงานคัดกรอง ค้นหา กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย ต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ ม.1 และ ม.4 ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ข้อมูลปีงบประมาณ 2567 ผลงานการคัดกรองโรคเบาหวาน จากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1,000 คน ผลงาน 822 คน คิดเป็นร้อยละ 82.20 พบกลุ่มเสี่ยงจากโรคเบาหวาน จำนวน 137 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67 กลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.49 และผลงานการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 887 คน ผลงาน 720 คน คิดเป็นร้อยละ 81.17 พบกลุ่มเสี่ยงจากโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67 กลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 141 คน คิดเป็นร้อยละ 19.58 และพบผู้ป่วยใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วย โรคเบาหวาน จำนวน 4 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 6 คน จากข้อมูลดังกล่าว ประชาชนยังขาดความตระหนักในการดูแล การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของตนเองส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง และมีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นทุกปี ซึ่งโรคดังกล่าวสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ หากได้รับการตรวจคัดกรอง และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม อย่างต่อเนื่อง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2 ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย จึงจัดทำโครงการตรวจคัดกรอง ค้นหา และดูแลกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ตำบลบ้านควน ปี 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้เข้ารับการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่องให้ได้รับความรู้ สามารถดูแลตนเอง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรอง ค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 80 ของประชาการกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

82.00 84.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3อ 2ส

ร้อยละ 60 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงมีค่าระดับน้ำตาล,ค่าความดันโลหิตลดลงจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ(ลดลงจากการตรวจครั้งแรก ติดตามหลังการอบรม 2 เดือนและ 4 เดือน)

40.00 60.00
3 เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ให้ได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างเป็นระบบ

ร้อยละ 100 ผู้ป่วยใหม่ได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างเป็นระบบ

80.00 100.00
4 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 865
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรม อสม.เพื่อฟื้นฟูทักษะการตรวจคัดกรอง การซักประวัติทั่วไป พฤติกรรมสุขภาพ การวัดส่วนสูง การชั่งน้ำหนัก การวัดรอบเอว การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย การใช้เครื่องตรวจเบาหวาน เครื่องวัดความดันโลหิต และการแปลผล และการให้คำแนะนำกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบของตัวเอง
2.ประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน
3.จัดเตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในกิจกรรมคัดกรอง
4.จัดเตรียมเอกสารที่ใช้ในการคัดกรองสุขภาพ,แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกสรุปผลการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
5.ออกคัดกรองในหมู่บ้าน โดย อสม.ออกตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบของตัวเอง
6.หลังการคัดกรอง เจ้าหน้าที่ทำทะเบียนแยกกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วย เพื่อจัดบริการสุขภาพให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
-กลุ่มปกติ ให้ความรู้ และส่งเสริมการดูแลสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส. โดย อสม.
-กลุ่มเสี่ยง ให้ความรู้และจัดกิจกรรมอบรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
-กลุ่มสงสัยป่วย ติดตามให้มารับการตรวจซ้ำโดยเจ้าหน้าที่ เพื่อยืนยันการเจ็บป่วยและพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา

งบประมาณ
- ค่าเอกสารแบบคัดกรองสุขภาพรายบุคคล ถ่ายหน้า-หลัง จำนวน 865 แผ่น ๆ ละ 2 บาท เป็นเงิน 1,730 บาท
- ค่าคู่มือการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง สำหรับ อสม. จำนวน 49 เล่มๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,470 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน สำหรับ อสม. จำนวน 49 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาท เป็นเงิน 2,940 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับ อสม.จำนวน 49 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน 2,940 บาท
- ค่าวิทยากรในการให้ความรู้ อสม. จำนวน 5 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต OMRON HEM-7156-A จำนวน 2 หมู่บ้าน ให้หมู่ที่ 1 จำนวน 2 เครื่องหมู่ที่ 4 จำนวน 1 เครื่อง รวม 3 เครื่อง ๆละ 2,950 บาท เป็นเงิน 8,850 บาท

เวลา กิจกรรม
08.00 น.-08.30 น. ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม
08.30 น.-09.00 น. ทำแบบทดสอบก่อนการอบรม
09.30 น.-09.15 น. ชี้แจงแนวทางและความเป็นมาของโครงการ
09.15 น.-10.00 น. ให้ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และโรคหลอดเลือดสมอง )และการปฏิบัติตัว
10.00 น.-10.15 น. รับประทานอาหารว่าง
10.15 น.-11.00 น. ให้ความรู้เรื่องการเป็นนักจัดการสุขภาพชุมชน เน้นการควบคุมโรค ‘NCDs’
11.00 น.-12.00 น. ฝึกปฏิบัติการนับคาร์บ ลดคาร์บด้วยตนเอง
12.00 น.-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน / ปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนา
13.00 น.-14.00 น. ฝึกปฏิบัติการให้คำแนะนำกลุ่มเป้าหมายกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย
14.00 น.-14.45 น. ฝึกปฏิบัติการให้คำแนะนำการดูแลกลุ่มป่วย
14.45 น.-15.00 น. รับประทานอาหารว่าง
15.00 น.-16.00 น. ฟื้นฟูทักษะการตรวจคัดกรอง พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติทุกคน
16.00 น.-16.30 น. ทดสอบหลังการอบรม/สรุปเนื้อหา

หมายเหตุสถานที่จัดอบรม ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ตำบลบ้านควน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19430.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมและติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมและติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
2.ทำหนังสือเชิญกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการอบรม
3.ดำเนินกิจกรรมอบรมกลุ่มเสี่ยง ดังนี้
-ประเมินความรู้ก่อนการอบรม
-ให้ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และโรคหลอดเลือดสมอง)และการปฏิบัติตัว
-ให้ความรู้เรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ,Model อาหาร -สาธิตและฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย
-ให้ความรู้เรื่องการผ่อนคลายความเครียด
-ประเมินความรู้หลังการอบรม
-แจ้งแผนการออกติดตามประเมินสุขภาพกลุ่มเสี่ยงซ้ำทุก 2 เดือนและ 4 เดือน โดยอสม.และเจ้าหน้าที่

งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวันประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 60 คน มื้อละ 60 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 60 คน มื้อละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าคู่มือดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยง จำนวน 60 เล่ม เล่มละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าวิทยากรในการให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง จำนวน 5 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท เวลา กิจกรรม
08.00 น.-08.30 น. ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม
08.30 น.-09.00 น. ทำแบบทดสอบก่อนการอบรม
09.00 น.-09.15 น. ชี้แจงแนวทางและความเป็นมาของโครงการ
09.15 น.-10.30 น. ให้ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และโรคหลอดเลือดสมอง )และการปฏิบัติตัว
10.30 น.-10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
10.45 น.-12.00 น. ให้ความรู้เรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ,Model อาหาร
12.00 น.-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน / ปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนา
13.00 น.-14.15 น. สาธิตและฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย
14.15 น.-15.15 น. ให้ความรู้เรื่องการผ่อนคลายความเครียดพร้อมทั้งฝึกปฏิบัติ
15.15 น.-15.30 น. รับประทานอาหารว่าง
15.30 น.-16.00 น. แลกเปลี่ยนประสบการณ์
16.00 น.-16.30 น. ทดสอบหลังการอบรม/สรุปเนื้อหา

หมายเหตุสถานที่จัดอบรม ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ตำบลบ้านควน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10500.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมและติดตามกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมและติดตามกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการคัดกรอง โดยแยกกลุ่มประชาชน เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรวบรวมปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน พร้อมทั้งร่วมกันหาแนวทางแก้ไข เพื่อพัฒนารูปแบบในการดำเนินงานให้มีคุณภาพต่อไปพร้อมทั้งนำเสนอจุดแข็งในการดำเนินงานสร้างขวัญและกำลังใจให้ อสม. ในการปฏิบัติงานต่อไป
  2. คืนข้อมูลกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยผ่าน อสม. เพื่อการติดตามและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่องในชุมชนต่อไป

งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวันกลุ่มป่วย จำนวน 50 คน มื้อละ 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับ จำนวน 50 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าคู่มือดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 เล่มๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าวิทยากรในการให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง จำนวน 5 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
เวลา กิจกรรม
08.00 น.-08.30 น. ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม 08.30 น.-09.00 น. ทำแบบทดสอบก่อนการอบรม
09.00 น.-09.15 น. ชี้แจงแนวทางและความเป็นมาของโครงการ
09.15 น.-10.30 น. ฟื้นฟูความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการปฏิบัติตัว
10.30 น.-10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
10.45 น.-12.00 น. ให้ความรู้เรื่องการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
12.00 น.-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน / ปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนา
13.00 น.-14.00 น. สาธิตและฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย
14.00 น.-14.30 น. ฝึกทำสปาเท้า
14.30 น.-15.00 น. แจ้งผลการตรวจสุขภาพ/ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยแต่ละคน พร้อมแจ้งวันเวลาออกเยี่ยมบ้าน
15.00 น.-15.15 น. รับประทานอาหารว่าง
15.15 น.-16.00 น. แลกเปลี่ยนประสบการณ์
16.00 น.-16.30 น. ทดสอบหลังการอบรม/สรุปเนื้อหา

หมายเหตุสถานที่จัดอบรม ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการคัดกรอง โดยแยกกลุ่มประชาชน เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้  กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง  รวบรวมปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน พร้อมทั้งร่วมกันหาแนวทางแก้ไข เพื่อพัฒนารูปแบบในการดำเนินงานให้มีคุณภาพต่อไป  พร้อมทั้งนำเสนอจุดแข็งในการดำเนินงาน  สร้างขวัญและกำลังใจให้ อสม. ในการปฏิบัติงานต่อไป
  2. คืนข้อมูลกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยผ่าน อสม. เพื่อการติดตามและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่องในชุมชนต่อไป

งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับ อสม.ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน  จำนวน 49 คนๆละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน  1,470  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 ของประชาการกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  2. ร้อยละ 60 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงมีค่าระดับน้ำตาล,ค่าความดันโลหิตลดลงจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ(ลดลงจากการตรวจครั้งแรก ติดตามหลังการอบรม 2 เดือนและ 4 เดือน)
  3. ร้อยละ 80 ของกลุ่มสงสัยป่วย ได้รับการส่งตรวจเพื่อยืนยันการเจ็บป่วย
  4. ร้อยละ 100 ผู้ป่วยใหม่ได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างเป็นระบบ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1470.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,400.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวจ่ายกันได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพื่อค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปีละครั้งทำให้ประชาชนทราบถึงภาวะสุขภาพตนเอง และได้รับการดูแลจัดการที่เหมาะสมต่อไป
2. ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยหลัก 3อ.2ส. และได้รับการติดตาม เฝ้าระวัง ภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยแกนนำ อสม.ในชุมชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ สามารถจัดการตนเองได้ เมื่อพบความผิดปกติ
3. ประชาชนที่เป็นกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการส่งต่อโดยแกนนำ อสม.ให้พบเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ติดตามภาวะสุขภาพซ้ำ เพื่อยืนยันการเจ็บป่วย และส่งต่อผู้ป่วยรายใหม่พบแพทย์ ให้ได้รับการวินิจฉัยโรค และได้รับการดูแลรักษา โดยเร็วที่สุด
4.ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างเป็นระบบ ลดภาวะแทรกซ้อนของโรค
5.ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง


>