กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากล ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1. นางสาวนูรฮูดา อาซัน
2. นางสาวนูรอาซีกีน บือราเฮง
3. นางสาวรอกีเยาะ มะดาโอ๊ะ

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กรมอนามัย ได้ดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนวัยรุ่นให้เกิดการพัฒนาสุขภาพควบคู่กับการศึกษา ตามแนวทางโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพตามกรอบแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 โดยผลการประเมินรับรองด้านกระบวนการ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ทอง เงิน และทองแดง และด้านผลลัพธ์สุขภาพ เป็นการประเมินรับรองเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ผลการดำเนินงานมีความก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ. 2564 - 2565 ได้มีการยกระดับพัฒนามาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเทียบเคียงกับมาตรฐานระดับโลก ภายใต้ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก (WHO) สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงศึกษาธิการ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยบูรณาการความรอบรู้ด้านสุขภาพ ยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมด้านสังคม จิตใจ การเตรียมความพร้อมสำหรับโรคอุบัติใหม่ ภัยคุกคามด้านสุขภาพ โดยพิจารณาความเป็นไปได้ตามบริบทที่สอดคล้องของประเทศไทย เพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนวัยรุ่นสามารถขับเคลื่อนไปอย่างมีประสิทธิภาพยั่งยืน รองรับสถานการณ์และสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ภายใต้ชื่อมาตรฐาน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากล “ Global Standards for Health Promoting School : (GSHPS) ” ซึ่งประกอบด้วยมาตรฐาน ด้านกระบวนการ 10 องค์ประกอบ และมาตรฐานด้านผลลัพธ์สุขภาพนักเรียน 6 ตัวชี้วัด
งานส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก มีบทบาทในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค คัดกรองสุขภาพ และรักษาพยาบาลเบื้องต้นให้กับเด็กวัยเรียน โดยมีสถานศึกษาที่รับผิดชอบทั้งหมด 9 แห่ง เพื่อพัฒนาและสนับสนุนให้สถานศึกษาในสังกัด เข้าร่วมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากล รวมทั้งครูและเจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุข เสริมสร้างพฤติกรรมและความรอบรู้ด้านสุขภาพให้นักเรียนมีผลลัพธ์ด้านสุขภาพตามเกณฑ์ที่เหมาะสม ตามช่วงวัย และได้รับบริการด้านสุขภาพอย่างครอบคลุม
งานส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จึงเล็งเห็นความสำคัญของการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากล ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก เพื่อให้ครูและเจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุขที่ผ่านการอบรมมีความรู้ และทักษะในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากล โรงเรียนมีการประเมินตนเองตามเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากลผ่านระบบโปรแกรมต่างๆ และโรงเรียนมีเครื่องมือในการให้บริการตรวจสุขภาพโดยจัดตั้งสถานีบริการสุขภาพ ด้วยตนเองในสถานศึกษา (Health Station at School) อันจะส่งผลที่ดีต่อสุขภาพของนักเรียนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ครูและเจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุขมีความรู้และทักษะในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากล

ครูและเจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุขผ่านการอบรมมีความรู้ และมีทักษะในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากล ร้อยละ 80

10.00 80.00
2 เพื่อให้โรงเรียนมีการดำเนินการประเมินตนเองตามเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากลผ่านระบบโปรแกรมต่างๆได้อย่างถูกต้อง

โรงเรียนมีการประเมินตนเองตามเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากลผ่านระบบโปรแกรมต่างๆ ร้อยละ 80

0.00 80.00
3 เพื่อพัฒนาเด็กนักเรียนให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลรอบข้างได้

เด็กนักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลรอบข้างได้

40.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
1. ครูในโรงเรียนเขตพื้นที่รับผิดชอบ 18
2. เจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุข 14
2.เจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุข 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากล

ชื่อกิจกรรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
1. ครูในโรงเรียนเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จำนวน 9 แห่ง ๆ ละ 2 คนรวมทั้งหมด 18 คน (โรงเรียนเทศบาล 1-4 , โรงเรียนเกษมทรัพย์ , โรงเรียนบ้านฯ , โรงเรียนแสงธรรม , โรงเรียนสุไหงโก-ลก , โรงเรียนบุณยลาภนฤมิตร)
2. เจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุขผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน จำนวน 10 คน
รวม 28 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องแนวทางดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากล
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน และทำแบบทดสอบความรู้ก่อนอบรม
09.00 - 11.00 น. การบรรยาย เรื่อง จุดเน้นมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากล : (GSHPS) ด้านกระบวนการ 10 องค์ประกอบ โดยคุณลุตฟี สะมะแอ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ จากศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
• องค์ประกอบที่ 1 นโยบายและทรัพยากร
• องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการเรียนรู้สู่เด็กไทยรอบรู้ด้านสุขภาพ
• องค์ประกอบที่ 3 โภชนาการ อาหารปลอดภัย เด็กไทยสุขภาพดี
• องค์ประกอบที่ 4 โรงเรียนคือองค์กรแห่งความสุข
• องค์ประกอบที่ 5 สิ่งแวดล้อมปลอดภัย โรงเรียนปลอดโรค
• องค์ประกอบที่ 6 อนามัยโรงเรียนสู่นักเรียนสุขภาพดี
• องค์ประกอบที่ 7 กระบวนการเรียนรู้สู่เด็กไทยรอบรู้ด้านสุขภาพ
• องค์ประกอบที่ 8 โภชนาการดี อาหารปลอดภัย เด็กไทยสุขภาพดี
• องค์ประกอบที่ 9 กิจกรรมทางกายเพียงพอและนอนหลับดี
• องค์ประกอบที่ 10 บุคคลต้นแบบด้านสุขภาพในโรงเรียน
11.00 - 12.00 น. การบรรยาย เรื่อง จุดเน้นมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากล : (GSHPS) ด้านผลลัพธ์สุขภาพ 6 ตัวชี้วัด โดยคุณลุตฟี สะมะแอ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ จากศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
• ตัวชี้วัดที่ 1 ภาวะโภชนาการ
• ตัวชี้วัดที่ 2 สุขภาพช่องปากและฟัน
• ตัวชี้วัดที่ 3 สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ
• ตัวชี้วัดที่ 4 นักเรียนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม อารมณ์ สังคม ได้รับการดูลแลช่วยเหลือ
• ตัวชี้วัดที่ 5 นักเรียนที่เจ็บป่วย บาดเจ็บหรือได้รับอุบัติเหตุจากสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่ทำให้ต้องพักรักษาตัว
• ตัวชี้วัดที่ 6 นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 15.00 น. สาธิตการใช้งานระบบการบันทึกข้อมูลของการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากล โดยคุณลุตฟี สะมะแอ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ จากศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
15.00 - 16.00 น. กิจกรรมกลุ่ม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพและปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมา 16.00 - 16.30 น. ทำแบบทดสอบความรู้หลังอบรมและประเมินความพึงพอใจของโครงการ
หมายเหตุ : รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มเวลา 10.30 น. และ 14.30 น.
งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท × 28 คน × 1 มื้อ เป็นเงิน 1,680 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท × 28 คน × 2 มื้อ เป็นเงิน 1,680 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 600 บาท × 5 ชม. เป็นเงิน 3,000 บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม จำนวน 300 บาท × 1 ชม.× 6 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
5. ค่าวัสดุที่ใช้ในการอบรม ได้แก่ วัสดุสำนักงาน ฯลฯ เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียนประเมินตนเองผ่านเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากล ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10160.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,160.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครูและเจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุขมีความรู้ และทักษะในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากล
2. โรงเรียนสามารถประเมินตนเอง ตามเกณฑ์การประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับ.มาตรฐานสากลในโปรแกรมต่างๆได้
3. เด็กนักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลรอบข้างได้


>