กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบูลลี่ปัญหาใหญ่ที่ไม่ใช่เรื่องของเด็ก ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กลุ่มงานการพยาบาลจิตเวช โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นางดาวดือราโอ๊ะ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการโทร 089-9760969
นางมัสนีและ ตำแหน่งนักจิตวิทยาชำนาญการโทร 086-9621377

ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ราชพฤกษ์ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หากได้ติดตามข่าวสารทางช่องทางต่าง ๆ ทุกวันนี้ปัญหาการกลั่นแกล้งกันในสังคม ไม่น่าจะเกิดขึ้นในสถานศึกษา หรือสังคมทำงาน กระทั่งบนโลกออนไลน์ ปัญหานี้เกิดขึ้นทุกวัน และเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลายคนอาจมองว่าการกลั่นแกล้งกันเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องที่สนุกสนาน แค่เรื่องที่หยอกล้อกันในกลุ่มเพื่อน ๆ แต่ปัจจุบันนี้ปัญหาการกลั่นแกล้งทั้งในวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ ได้ส่งผลกระทบในทางลบเป็นอย่างมาก ทั้งกับผู้ที่กระทำและผู้ถูกกระทำ การกลั่นแกล้งกันไม่ใช่เรื่องล้อเล่นอีกต่อไป แต่อาจเป็นภัยร้ายที่ใกล้ตัวและเป็นอันตรายมากกว่าที่เราคิด การกลั่นแกล้งรังแกที่แสดงออกด้วยคำพูด หรือพฤติกรรมก้าวร้าวต่อผู้อื่น ซึ่งมักเกิดขึ้นในสังคมที่มีช่องว่าง ระหว่างผู้ที่มีกำลังหรืออำนาจมากกว่าแสดงออกแก่ผู้ที่อ่อนแอกว่า มีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะนำไปสู่ปัญหาสภาพทางจิตใจที่ร้ายแรงได้ในอนาคตและการบูลลี่ในปัจจุบันนี้มีแนวโน้มจะยิ่งมากขึ้น ยิ่งในยุคสมัยนี้ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างง่ายดาย จนทำให้เกิดไซเบอร์บูลลี่ (Cyberbully) หรือการกลั่นแกล้งกันผ่านทางสื่อออนไลน์ทั้งการข่มขู่ วิพากวิจารณ์ การคุกคามทางเพศ โดยในโลกออนไลน์นั้นข่าวสารต่าง ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ คนที่บูลลี่ไม่ได้เปิดเผยตัวตน บางครั้งก็ไม่สามารถหาตัวคนบูลลี่ได้ ทำให้ยิ่งเกิดแผลทางใจที่ฝังลึก ยากเกินจะเยียวยา ส่วนใหญ่การบูลลี่จะเกิดขึ้นกับนักเรียนทุกชั้นเรียน พบมากที่สุดในชั้นมัธยม ซึ่งก็จะพบได้ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นและช่วงของวัยรุ่น โดยอาจเป็นการกระทำที่ทำไปทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการบูลลี่จากเพื่อน
ทางกลุ่มงานการพยาบาลจิตเวช โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของการบูลลี่จึงได้จัดทำโครงงาน“บูลลี่เป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่ใช่เรื่องของเด็ก” ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อรณรงค์ไม่ให้เกิดการบูลลี่ เพราะการบูลลี่จะไม่เกิดขึ้นเลยหากเราสามารถปลูกฝังจิตสำนึก และทัศนคติที่ดีให้ได้ตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว ซึ่งต้องแสริมสร้างความแข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจแก่ตนเอง เพื่อให้ก้าวผ่านความยากลำบากนี้ไปให้ได้ และเป็นการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถเข้าใจ มีความรู้ ในเรื่องการบูลลี่

ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถเข้าใจ มีความรู้ ในเรื่องการบูลลี่

60.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความตระหนักและอันตรายที่เกิดจากการบูลลี่

ผู้เข้าร่วมมีความตระหนักและอันตรายที่เกิดจากการบูลลี่

50.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถจัดการแก้ไขปัญหา ส่งต่อ ช่วยเหลือได้

ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถจัดการแก้ไขปัญหา ส่งต่อ ช่วยเหลือได้

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูและผู้ดูแลเด็ก 74

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ในเรื่องบูลลี่

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ในเรื่องบูลลี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
- ครูผู้ดูแลเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 7 โรงเรียน ได้แก่
โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก , โรงเรียนเทศบาล 3 โรงละ 18 คน = 36 คน
โรงเรียนเทศบาล 1 , 2 , 4 โรงละ 12 คน = 36 คน
โรงเรียนเกษมทรัพย์, โรงเรียนบุญยลาภ โรงละ 1 คน = 2 คน
รวม 74 คน
- คณะทำงาน 6 คน
รวมทั้งสิ้น 80 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ขั้นเตรียมการ
1.1 ประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้อง
1.2 จัดทำโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
2. ขั้นดำเนินการ
2.1 ประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้อง
2.2 จัดทำโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
3. ขั้นดำเนินการ
3.1 ทดสอบก่อนและหลังให้ความรู้ในเรื่องบูลลี่
3.2 ให้ความรู้ในเรื่องบูลลี่
3.3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการช่วยเหลือ ส่งต่อ
3.4 สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผล
กำหนดการ
เวลา 08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
เวลา 08.30 - 09.00 น. พิธีเปิด โดย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
เวลา 09.00 - 12.00 น. อบรมหัวข้อการกลั่นแกล้งหรือการบูลลี่(Bullying) คืออะไร โดย พญ.อรุณศิริโสตติมานนท์
เวลา 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 - 15.00 น. การกระทำแบบไหนที่เข้าค่ายการบูลลี่/ผลกระทบที่ได้รับจากการถูกบูลลี่ โดย พญ.อรุณศิริโสตติมานนท์
เวลา 15.00 - 16.00 น. วิธีรับมือและการแก้ปัญหาการบูลลี่ โดย พญ.อรุณศิริโสตติมานนท์
เวลา 16.00 - 16.15 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมทั้งซักถามข้อสงสัย
หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 80 คน x 2 มื้อ = 4,800 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 80 คน= 4,800 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 6 ช.ม.= 3,600 บาท
3. ค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการจัดโครงการ ได้แก่ กระเป๋าใส่เอกสาร ปากกา กระดาษ เป็นต้น = 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ80 ผู้เข้าร่วมอบรมได้ตระหนัก มีความรู้ เข้าใจ และความอันตรายสาเหตุการเกิดการ Bully ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมอบรมได้ทราบวิธีการป้องกัน การรับมือและการแก้ปัญหาที่ก่อให้เกิดการ Bully ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถให้การช่วยเหลือรวมทั้งส่งต่อได้อย่างทันท่วงที

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,400.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถเข้าใจ มีความรู้ ในเรื่องการบูลลี่
2. ผู้เข้าร่วมมีความตระหนักและอันตรายที่เกิดจากการบูลลี่
3. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถจัดการแก้ไขปัญหา ส่งต่อ ช่วยเหลือได้


>