กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นางสาวสุชาดาเดชนำบัญชา โทร 081-5425135

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของสถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการตรวจสอบผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

15.00
2 ร้อยละของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการตรวจสอบได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

95.00
3 ร้อยละของร้านชำที่ได้รับการตรวจสอบผ่านเกณฑ์ร้านชำสีขาว

 

39.00

จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกปี 2567 พบปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุุขภาพ เช่น สถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพบางแห่งยังไม่ผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น สถานที่ผลิตอาหารบางแห่งไม่ผ่านเกณฑ์ GMP และจากการตรวจร้านชำ 72 ร้าน ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้านชำสีขาว 28 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 39 ซึ่งร้านชำที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานมักจะพบการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ห้ามจำหน่ายในร้านชำ เช่น จำหน่ายยาอันตราย ผลิตภัณฑ์ที่ลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ เป็นต้น นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผลิตและจำหน่ายบางรายการยังไม่ได้มาตรฐาน เช่น พบการจำหน่ายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในร้านจำหน่ายเครื่องสำอางและร้านชำ นอกจากนี้พบการจำหน่ายยาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผสมสเตียรอยด์ จากการตรวจวิเคราะห์สเตียรอยด์ในยาสมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จำนวน 5 ตัวอย่าง ผ่านมาตรฐาน 4 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 80 ผลจากการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารสดจากตลาดสด เพื่อตรวจสอบสารปนเปื้อนโดยส่งตรวจวิเคราะห์ ณ ศูนย์วิทย์ฯ และตรวจสอบโดยใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย จำนวน 169 ตัวอย่าง ผ่านมาตรฐาน 161 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 95 ผลการตรวจภาชนะใช้บริการอาหารในโรงครัว รพ.สุไหงโก-ลกเพื่อตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อน จากการสุ่มตรวจ 3 ครั้ง พบว่าไม่พบสารปนเปื้อน ซึ่งส่งผลให้ประชาชนเกิดความไม่ปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพและดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ คปสอ.สุไหงโก-ลกจึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำปี 2568 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำกับดูแลสถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

ร้อยละของสถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการตรวจสอบผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด

15.00 100.00
2 เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผลิตให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด และเกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

ร้อยละของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการตรวจสอบได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด

95.00 100.00
3 เพื่อกำกับดูแลร้านชำให้ผ่านเกณฑ์ร้านชำสีขาว

ร้อยละของร้านชำที่ได้รับการตรวจสอบผ่านเกณฑ์ร้านชำสีขาว

39.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มผู้ประกอบการด้านผลิตภัณณ์สุขภาพ 235

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2025

กำหนดเสร็จ 29/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
- ตรวจสถานที่ผลิตอาหาร ปีละ 2 ครั้ง
- ตรวจสถานที่ผลิตเครื่องสำอาง ปีละ 1 ครั้ง
- ตรวจร้านขายยาปีละ 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการตรวจสอบผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผลิตและจำหน่ายในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชื่อกิจกรรม
ตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผลิตและจำหน่ายในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
- เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพ (อาหาร ยา เครื่องสำอาง) ตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อน (ในงานสัปดาห์เภสัชฯ)
- เก็บตัวอย่างอาหารในโรงครัว รพ.สุไหงโก-ลก ตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อน เดือนละ 1 ครั้ง
- เก็บตัวอย่างอาหาร น้ำ ภาชนะสัมผัสอาหาร และมือผู้สัมผัสอาหาร ตรวจววิเคราะห์เชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ในร้านอาหาร 2 ร้าน ร้านขายน้ำ 2 ร้านในรพ.สุไหงโก-ลก
งบประมาณ
- ค่าชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร เครื่องสำอาง ยาสมุนไพร เป็นเงิน 20,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผลิตและจำหน่ายในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประชาชนในพื้นที่บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 3 ลงพื้นที่ตรวจร้านชำในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่ตรวจร้านชำในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
- ตรวจประเมินร้านชำปีละ 1 ครั้ง
งบประมาณ
- ค่าตอบแทนของแกนนำชุมชน ผู้ปฏิบัติงานตรวจร้านชำ 30 คน x 2 ชม x 50 บาท = 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านชำผ่านเกณฑ์ร้านชำสีขาว มีเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,000.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลิตภัณฑ์สุขภาพได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
3. ร้านชำผ่านเกณฑ์ร้านชำสีขาว


>