กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลระโนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนคลองไสร้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลระโนด

ชมรม อสม. ตำบลระโนด

ชมรม อสม. ตำบลระโนด
1. นางอกนิษฐ์ประสานสงค์
2. นางสุภรณ์ชูทอง
3. นางนงเยาว์สงชู
4. นางสาลินีย์เสนประดิษฐ์
5. นางจุไรเสนประดิษฐ์

ชุมชนคลองไสร้า เทศบาลตำบลระโนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีการระบาดทุกปีในช่วงฤดูฝน สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ต้นปี2567พบผู้ป่วย 26,511 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 1 พ.ค. 67)ประกอบกับช่วงปลายปีของภาคใต้กำลังเข้าสู่ฤดูฝน และน้ำท่วมในพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำขังกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลระโนด ในช่วงระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมามีรายงานผู้ป่วยที่อยูในละแวกเดียวกันคือบริเวณถนนสุคนธาภิรมย์ ซอย 5 ถึง 5 ราย เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่ระบาดในวงที่กว้างขึ้น จนยากแก่การควบคุมเช่นต้นปีที่ผ่านมา จึงต้องเร่งดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรค ของกรมควบคุมโรคให้เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก โดยให้ประชาชนช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายให้ครอบคลุมในพื้นที่เสี่ยง จัดการแหล่งน้ำขัง เก็บของให้เป็นระเบียบและทายากันยุงป้องกันการถูกยุงกัด ในการนี้ เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกระบาดหนักในพื้นที่ ชมรม อสม.ตำบลระโนด จึงได้จัดทำโครงการควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนคลองไสร้าขึ้น โดยขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลระโนด เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำทุกสัปดาห์ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่ระบาด รวมถึงย้ำเตือนให้ประชาชนทายากันยุงเพื่อป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัด โดยเฉพาะผู้ป่วยไข้เลือดออก บุคคลในบ้านเดียวกันของผู้ป่วย และบ้านข้างเคียง เพื่อป้องกันการกระจายเชื้อไข้เลือดออกในตัวผู้ป่วยสู่ชุมชน

30.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนคลองไสร้า

อัตราการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยในพื้นที่ลดลง

30.00 0.00
2 เพื่อให้ อสม.และประชาชนในชุมชนร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน

เกิดกิจกรรมรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์

30.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 584
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/10/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย - จัดประชุมวางแผนการดำเนินงาน - เดินรณรงค์ แจกแผ่นพับความรู้ และใช้สื่อประชาสัมพันธ์ทุกช่องทางพร้อมสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง - จัดประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่อโดยยุง
  2. สามารถป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นที่มียุงเป็นพาหะได้รวดเร็ว โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  3. ลดอัตราการป่วยโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่อโดยยุงอื่นๆ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้าน ชุมชน โดยลดแหล่งน้ำขัง ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ    - กิจกรรม Big cleaning โดย อสม. อถล. แกนชุมชุมชน และหน่วยงาน   - พ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวเต็มวัย
        - แนะนำการป้องกันการแพร่ระบาดโดยให้ผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัว และบ้านใกล้เคียงทายากันยุง
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่อโดยยุง
  2. สามารถป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นที่มียุงเป็นพาหะได้รวดเร็ว โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  3. ลดอัตราการป่วยโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่อโดยยุงอื่นๆ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5970.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,870.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่อโดยยุง
2. สามารถป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นที่มียุงเป็นพาหะได้รวดเร็ว โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
3. ลดอัตราการป่วยโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่อโดยยุงอื่นๆ


>