กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน รหัส กปท. L5307

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน PLUS สู่ 2500 วัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2 ปีงบประมาณ พ.ศ.2568
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2
กลุ่มคน
1.นางเบญจมาภรณ์ หลีเส็น ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 086-4813643
2.นางอารีนี หมัดสะแหละ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 081-0925942
3.นางสุกัญญา ลัสมาน ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 086-0810676
4.นางสาวมุณา กฤติยาสกุล ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 081-0995792
5.นางรอฮานา พลาอาด ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 081-4610968
3.
หลักการและเหตุผล

1,000 วันแรกของชีวิต” ถือเป็นต้นกำเนิดของการสร้างรากฐานการมีภาวะสุขภาพที่ดีตลอดช่วงชีวิต โดยเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสทองของการสร้างทุนมนุษย์ที่สำคัญ และคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงเซลล์สมองกับโครงข่ายเส้นใยประสาททำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้จดจำและมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายอย่างรวดเร็ว ส่วนสูงของเด็กที่อายุ 2 – 3 ปี ถือเป็น Proxy indicator ของสุขภาพผู้ใหญ่และเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญของ ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน แนวทางการดำเนินงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้ขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพของสตรีและเด็กปฐมวัยไทย โดยมีชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ ร่วมลงทุนและเป็นเจ้าของการขับเคลื่อนงานผ่านกลไกและมาตรการที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมสำคัญ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน การพัฒนาคุณภาพงานบริการสาธารณสุข ทั้งคลินิกฝากครรภ์ (ANC) และคลินิกเด็กสุขภาพดี (WCC) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กอายุ 0 – 2 ปี ทุกคน ได้รับบริการครบถ้วนและดูแลอย่างทั่วถึง โดยไม่ทอดทิ้ง กลุ่มด้อยโอกาส และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่าย ภายใต้การบูรณาการความร่วมมือกลุ่มเด็กปฐมวัย 6 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงาน
จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พบว่าหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 85.19 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 74.07 หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 100 ภาวะภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ร้อยละ 40.74 เด็กแรกเกิด-ต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว ร้อยละ 67.86 เด็กอายุครบ 12 เดือน มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 40 เด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 61.45 เด็ก 0 – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 94.59 (ข้อมูลจาก HDC ณ วันที่ 30 กันยายน 2567) ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2 จึงได้จัดทำโครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน PLUS สู่ 2500 วัน เพื่อส่งเสริมให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย พัฒนาการสมวัย สร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสุขภาพมารดาตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงเด็กอายุ 5 ปี รวมถึงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 75 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 75.00
  • 2. เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามมาตรฐาน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 75 ของหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามมาตรฐาน
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 75.00
  • 3. เพื่อลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 12 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดใกล้คลอด
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 12.00
  • 4. เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 50 ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 50.00
  • 5. เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี มีโภชนาการสูงดีสมส่วน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 56 ของเด็ก 0-5 ปี มีโภชนาการสูงดีสมส่วน
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 56.00
  • 6. เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 85 ของเด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 85.00
  • 7. เพื่อลดภาวะซีดในเด็กอายุ 6-12 เดือน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 20 ของเด็กอายุ 6-12 เดือนที่มีภาวะซีด
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 20.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมฟื้นฟูความรู้การดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กให้กับอาสาสมัครสาธารณสุข
    รายละเอียด

    จัดกิจกรรมอบรมฟื้นฟูความรู้การดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กให้กับอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 1 และ 4 ตำบลบ้านควน จำนวน 49 คน
    1.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 49 คน ๆ ละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,940 บาท
    2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 49 คน คน ๆ ละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,940 บาท

    งบประมาณ 5,880.00 บาท
  • 2. อบรมให้ความรู้เรื่องความสำคัญของโฟลิคต่อหญิงวัยเจริญพันธุ์และการวางแผนครอบครัว
    รายละเอียด

    จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องความสำคัญของโฟลิคต่อหญิงวัยเจริญพันธุ์และการวางแผนครอบครัว ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 และ 4 ตำบลบ้านควน จำนวน 30 คน
    1.เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีในการสร้างครอบครัว
    2.ตั้งครรภ์เมื่อพร้อม
    3.วางแผนก่อนมีบุตรสำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์
    งบประมาณ
    1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆ ละ 60 บาทจำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,800 บาท
    2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,800 บาท

    งบประมาณ 3,600.00 บาท
  • 3. กิจกรรมฝากครรภ์ดี มีคุณภาพ
    รายละเอียด

    กิจกรรมฝากครรภ์ดี มีคุณภาพ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรง
    การดูแลสตรีตั้งครรภ์คุณภาพและคัดกรองความเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 5 ครั้ง
    ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์
    ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ 18 สัปดาห์
    ครั้งที่ 3 อายุครรภ์ 26 สัปดาห์
    ครั้งที่ 4 อายุครรภ์ 32 สัปดาห์
    ครั้งที่ 5 อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ โดยจัดกิจกรรม ดังนี้
    1. จัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ จำนวน 2 หลักสูตร
    2. ตรวจสุขภาพช่องปากในหญิงตั้งครรภ์
    3. ส่งเสริมภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์และส่งเสริมการจ่ายยา/กินยาวิตามินเสริมธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด 6 เดือน
    งบประมาณ
    1.จัดทำสมุดบันทึกการกินยาวิตามินเสริมธาตุเหล็กให้กับหญิงตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด 6 เดือน จำนวน 30 เล่มๆละ 20 บาท เป็นเงิน 600 บาท

    งบประมาณ 600.00 บาท
  • 4. กิจกรรมเด็กดี มีคุณภาพ
    รายละเอียด

    กิจกรรมเด็กดี มีคุณภาพ สูงดี สมส่วน พัฒนาการดี วัคซีนครบ ฟันไม่ผุ
    1. ให้บริการสุขภาพได้แก่ชั่งน้ำหนัก /วัดความยาว/ส่วนสูง/ประเมินการเจริญเติบโต/ตรวจพัฒนาการ/ตรวจสุขภาพช่องปาก ให้กับเด็กอายุ 0-5 ปี
    2. ส่งเสริมโภชนาการ/นมแม่/อาหารตามวัย/สุขภาพช่องปาก/การนอน/การเล่นและกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
    3. ส่งเสริมการจ่ายยาวิตามินเสริมธาตุเหล็กในกลุ่มเด็ก 6 เดือน -5 ปี
    4. ตรวจคัดกรองภาวะซีด ช่วงอายุ 6 เดือน - 1 ปีและอายุ 4 ปี
    5. กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่
    6. การให้คำแนะนำล่วงหน้า (Anticipatory guidance) การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารตามวัย การส่งเสริมพัฒนาการ การอบรมเลี้ยงดูเด็ก การป้องกันอุบัติเหตุและการส่งเสริมพัฒนาการ
    งบประมาณ
    1.เครื่องชั่งน้ำหนักเด็กเล็กแบบดิจิทอล จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 3,000 บาท
    2.เครื่องวัดส่วนสูงเด็ก จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 3,000 บาท
    3.เครื่องวัดความดันโลหิตเด็ก จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 3,000 บาท

    งบประมาณ 9,000.00 บาท
  • 5. อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองและติดตามเด็กที่มีปัญหาโภชนาการและพัฒนาการสงสัยล่าช้า
    รายละเอียด

    กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองและติดตามเด็กที่มีปัญหาโภชนาการและพัฒนาการสงสัยล่าช้า
    งบประมาณ
    1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 15 คน ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 900 บาท
    2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 15 คน ๆ ละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 900 บาท

    งบประมาณ 1,800.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568

8.
สถานที่ดำเนินการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เบอร์โทรศัพท์ 074-750835

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 20,880.00 บาท

หมายเหตุ : งบประมาณต่าง ๆ สามารถถัวจ่ายกันได้ตามการจ่ายจริง กิจกรรมสถานที่และเวลา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1.เกิดความร่วมมือผ่านภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน
2.หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์เร็วและสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้
3.หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในระหว่างตั้งครรภ์และภาวะซีด พร้อมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการวางแผนครอบครัวและเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ
4.ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือ DSPM ตรวจพัฒนาการได้อย่างถูกต้อง
5.เด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน รหัส กปท. L5307

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน รหัส กปท. L5307

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 20,880.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................