แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน รหัส กปท. L5307
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. นางโนร์ลัยลา โต๊ะประดู่ เบอร์โทรศัพท์ 0892977345
2. นายรติสรณ์ ติ่งสง่า เบอร์โทรศัพท์ 0923811514
3. นายสุรเชษฐ์ เต๊ะปูยู เบอร์โทรศัพท์ 0856481231
4. นางสาววรรณา ปิยะตู เบอร์โทรศัพท์ 0895957564
5. นางฮานา วิเศษศาสน์ เบอร์โทรศัพท์ 0986920328
การจมน้ำยังคงเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก จากข้อมูลองค์การอนามัยโลกพบว่าแต่ละปีทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำประมาณ 236,000 คน โดย 1 ใน 4 เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งในกลุ่มเด็กอายุ 5 - 15 ปี พบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ส่วนประเทศไทย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 2556 - 2565 มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ 36,403 คน เฉลี่ยปีละ 3,640 คน หรือวันละกว่า 10 คน ในจำนวนนี้ เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 6,992 คน สาเหตุหนึ่งที่พบบ่อยคือ ขาดทักษะการเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือคนตกน้ำและจมน้ำที่ถูกต้อง และสืบเนื่องมาจากปัญหาเด็กว่ายน้ำไม่เป็นและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่นได้ ส่วนใหญ่เด็กจมน้ำเสียชีวิตมักจะเกิดเหตุในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนของทุกปี เพราะในพื้นที่ชนบทมักจะมีแหล่งน้ำมากมาย ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำจากธรรมชาติและแหล่งน้ำที่ขุดขึ้นใหม่ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาภัยแล้ง จึงต้องมีแหล่งน้ำเพื่อกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในหน้าแล้ง แต่อากาศร้อนจัดทำให้เด็กๆ ในชนบทมักจะอาศัยแหล่งน้ำต่างๆ เป็นที่คลายร้อน และเป็นที่เล่นสนุกสนานกัน จึงเป็นจุดเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์เด็กจมน้ำเสียชีวิตได้ และในพื้นที่ของตำบลบ้านควนส่วนใหญ่จะเป็นลำคลองที่เป็นแหล่งน้ำจากธรรมชาติและเป็นแหล่งน้ำลำคลองที่ขุดลอกขึ้นใหม่เพื่อใช้เป็นประโยชน์แก่ชุมชน และในพื้นที่ของจังหวัดสตูลรวมทั้งพื้นที่ในตำบลบ้านควนก็เคยมีเหตุการณ์ที่เด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ ทางโรงเรียนบ้านกาลูบีได้เล็งเห็นและให้ความสำคัญกับปัญหาและเหตุการณ์ดังกล่าว และพื้นที่ในชุมชนของโรงเรียนบ้านกาลูบีเมื่อสำรวจไปรอบๆ โดยรวมก็จะเห็นว่า พื้นที่และเส้นทางในชุมชนส่วนใหญ่จะเป็นเส้นทางที่ติดกับลำคลองชลประทาน ทางโรงเรียนบ้านกาลูบีจึงได้จัดโครงการ “ว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำปลอดภัย” ขึ้นเพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านกาลูบีมีทักษะการว่ายน้ำที่สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้เมื่อเกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยกิจกรรมที่ 1. จะจัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนผู้หญิง (กลุ่มเป้าหมาย) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 40 คน ในเรื่องของทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำ และกิจกรรมที่ 2. นำนักเรียนผู้หญิง (กลุ่มเป้าหมาย) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 40 คน ไปฝึกกิจกรรมทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำ เป็นระยะเวลา 2 วัน เพื่อสร้างความปลอดภัยทางน้ำแก่นักเรียน รู้จักและสามารถเอาชีวิตรอดอีกทั้งยังสามารถช่วยชีวิตผู้ประสบเหตุทางน้ำได้ถูกต้องตามวิธีมาตรฐานสากล
-
1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในเรื่องของทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำ สามารถว่ายน้ำเป็นและสามารถช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำได้ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในเรื่องทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำ สามารถว่ายน้ำเป็นและสามารถช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำได้ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 90.00
-
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถเอาตัวรอดจากสถานการณ์ฉุกเฉินจากการจมน้ำได้ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ สามารถเอาตัวรอดจากสถานการณ์ฉุกเฉินจากการจมน้ำได้ขนาดปัญหา 30.00 เป้าหมาย 90.00
-
3. เพื่อลดภาวะที่ว่ายน้ำไม่ได้และมีโอกาสเสียชีวิตจากการจมน้ำเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป)ลงตัวชี้วัด : ร้อยละของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป)ที่ว่ายน้ำไม่ได้และมีโอกาสเสียชีวิตจากการจมน้ำขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 20.00
- 1. อบรมให้ความรู้เรื่องทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำรายละเอียด
จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนในเรื่องของทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำ กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนผู้หญิง ป.4 - 6 จำนวน 40 คน เวลา 09.00 - 15.00 น.
วิทยากรโดย นายสมศักดิ์ เหร็บควนเคี่ยม ตำแหน่ง พนักงานครูสอน ปฏิบัติหน้าที่ประจำสระว่ายน้ำ กองการศึกษาสำนักงานเทศบาลเมืองสตูล
กำหนดการ สถานที่จัดกิจกรรม โรงเรียนบ้านกาลูบี ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
เวลา 08.00 น. - 08.30 น. - ลงทะเบียน
เวลา 08.30 น. - 09.00 น. - เปิดโครงการโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน
เวลา 09.00 น. - 12.00 น. - บรรยายความรู้ทฤษฎีเรื่องหลักการทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำและทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ
- ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการว่ายน้ำ - การเรียนรู้จุดเสี่ยง
- หลักการขอความช่วยเหลือโดยการตะโกน โยน ยื่น
- หลักการฝึกหายใจในน้ำ
- หลักการฝึกการลอยตัวในน้ำโดยใช้อุปกรณ์
- หลักการฝึกการลอยตัวในน้ำโดยไม่ใช้อุปกรณ์ แบบคว่ำ, แบบหงาย, และแบบปลาดาว
เวลา 12.00 น. - 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 น. - 15.00 น. - บรรยายความรู้ทฤษฎีเรื่องหลักการทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำและทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ (ต่อ)
- หลักการฝึกการหมุนแขนท่าฟรีสไตร์
- หลักการฝึกการเตะขาท่าฟรีสไตร์
- หลักการฝึกการเตะขาท่ากรรเชียง
- หลักการฝึกการหมุนแขนท่ากรรเชียง
- หลักการฝึกการว่ายน้ำจากท่าลอยตัวเพื่อว่ายน้ำเข้าฝั่ง
*หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.15 น-10.30 น.และ เวลา 14.15 น.-14.30 น.งบประมาณรายละเอียดค่าใช้จ่าย
1. ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
2. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์อบรมโครงการ ขนาด 2x3 เมตร = 6 ตารางเมตร ราคาตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 900 บาท
3. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆ ละ 40 บาท จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมอบรมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งหมด 45 คน เป็นเงิน 3,600 บาทงบประมาณ 7,500.00 บาท - 2. ฝึกทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำและการเอาตัวรอดจากการจมน้ำรายละเอียด
ฝึกทักษะพื้นฐานการว่ายน้ำ จำนวน 2 วัน เวลา 09.00 - 15.00 น. ณ สระว่ายน้ำเทศบาลตำบลฉลุง อ.เมือง จ.สตูล กลุ่มเป้่าหมาย นักเรียนผู้หญิงชั้น ป.4 - 6 จำนวน 40 คน
กำหนดการ ฝึกทักษะพื้นฐานการว่ายน้ำ สถานที่จัดกิจกรรม ณ สระว่ายน้ำเทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
วันที่ 1
เวลา 08.30 น. - 09.00 น. - ลงทะเบียน
เวลา 09.00 น. - 12.00 น. - ฝึกปฏิบัติทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำและทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ
- ฝึกปฏิบัติการขอความช่วยเหลือโดยการตะโกน โยน ยื่น
- ฝึกปฏิบัติการหายใจในน้ำ
- ฝึกปฏิบัติการลอยตัวในน้ำโดยใช้อุปกรณ์
เวลา 12.00 น. - 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 น. - 15.00 น. - ฝึกปฏิบัติทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำและทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ (ต่อ)
- ฝึกปฏิบัติการลอยตัวในน้ำโดยไม่ใช้อุปกรณ์
1) แบบคว่ำ
2) แบบหงาย
3) แบบปลาดาววันที่ 2
เวลา 08.30 น. - 09.00 น. - ลงทะเบียน
เวลา 09.00 น. - 12.00 น. - ฝึกปฏิบัติทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำและทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ
- ฝึกปฏิบัติการหมุนแขนท่าฟรีสไตร์
- ฝึกปฏิบัติการเตะขาท่าฟรีสไตร์
- ฝึกปฏิบัติการเตะขาท่ากรรเชียง
เวลา 12.00 น. - 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 น. - 15.00 น. - ฝึกปฏิบัติทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำและทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ (ต่อ)
- ฝึกปฏิบัติการหมุนแขนท่ากรรเชียง
- ฝึกปฏิบัติการว่ายน้ำจากท่าลอยตัวเพื่อว่ายน้ำเข้าฝั่ง
- ฝึกปฏิบัติการว่ายน้ำไกลระยะทาง 25 เมตร
*หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.15 น-10.30 น.และ เวลา 14.15 น.-14.30 น.รายละเอียดค่าใช้จ่าย
1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 วันๆละ 5 ชั่วโมง = 10 ชั่วโมง/ชั่วโมงละ 600 บาท = 6,000 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง 2 วัน จำนวน 5 คนๆละ 60 บาท = 600 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ที่เกี่ยวข้อง 45 คน จำนวน 2 วันๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 30 บาท = 5,400 บาท
4. ค่ารถสองแถว รับ-ส่ง นักเรียนไปสระว่ายน้ำเทศบาลตำบลฉลุง 2 วัน วันละ 1 เที่ยว (ไป-กลับ) /ราคาเที่ยวละ 1,200 บาท = 2,400 บาท (เหมาทั้งวัน)
5. ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสระว่ายน้ำเทศบาลตำบลฉลุง ครั้งละ 1,000 = 1,000 บาท
6. ค่าใช้บริการสระว่ายน้ำจำนวน 2 วัน วันละ 1,000 บาท = 2,000 บาทงบประมาณ 17,400.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 6 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
โรงเรียนบ้านกาลูบี และสระว่ายน้ำเทศบาลตำบลฉลุง
รวมงบประมาณโครงการ 24,900.00 บาท
หมายเหตุ : สามารถถัวจ่ายกันได้ทุกรายการ
- นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกคนสามารถว่ายน้ำเป็นและสามารถช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำได้
- นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกคนสามารถเอาตัวรอดจากสถานการณ์ฉุกเฉินจากการจมน้ำได้
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน รหัส กปท. L5307
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน รหัส กปท. L5307
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................