2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นประเด็นที่มีความสำคัญและส่งผลกระทบถึงสังคมในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อร่่างกาย จิตใจของแม่และเด็ก การแก้ไขปัญหาเรื่องท้องในวัยรุ่นเป็นประเด็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม ตั้งแต่การรณรงค์โดยมุ่งไปที่ตัววัยรุ่นเองให้ตระหนักถึงปัญหาและให้ความสำคัญของการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์โดยปลอดภัยและรับผิดชอบ รวมถึงการเรียนการสอนในการเพิ่มทักษะชีวิตและเพศศึกษาแบบรอบด้าน เพื่อให้วัยรุ่นมีทักษะในการสื่อสาร การรู้จักปฏิเสธการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ก็เป็นปัญหาที่พบบ่อยในปัจจุบัน เนื่องจากพฤติกรรมการเลียนแบบต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม มาเป็นค่านิยมในสังคมวัยรุ่น โดยการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา เช่น ปัญหาการตั้งครรภ์เมื่อไม่มีความพร้อม ทำให้ไม่มีการฝากครรภ์ ซึ่งการฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากร เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรง สตรีดั้งครรภ์จะได้รับการประเมินภาวะเสี่ยง จึงจะได้รับการดูแลตามระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์ การนัดตรวจจะกำหนดบริการพื้นฐานที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อสตรีตั้งครรภ์ มีการคัดกรองปัญหาสุขภาพที่ส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ให้การรักษาให้การแนะนำ ให้ตระหนักและเฝ้าระวังปัญหาฉุกเฉินระหว่างตั้งครรภ์ นอกจากวัยรุ่นต้องมีทักษะชีวิตและเพศศึกษาแบบรอบด้านแล้ว ต้องมีความรู้เรื่องภาวะคลอดก่อนกำหนดด้วย เพราะหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่ไม่เคยมีความรู้เรื่องภาวะคลอดก่อนกำหนดมาก่อน และเมื่อมีอาการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด หรืออาการผิดปกติอื่นๆ มักเดินทางเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลล่าช้า จนมีอาการเจ็บครรภ์รุนแรงมากขึ้นจึงตัดสินใจ เข้ามารับการรักษาทำให้ไม่สามารถให้การยับยั้งได้ หากมาเร็วและไม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะนั้นแพทย์สามารถรักษาต่อจนสามารถตั้งครรภ์ครบกำหนดคลอดได้ ซึ่งในพื้นที่ตำบลบ้านควน ในปี 2566 พบว่ามีหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี จำนวน 7 คนและมีหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดก่อนกำหนด จำนวน 3 คน (ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพดำบลบ้านควน 1 และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2)
เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจึงได้จัดโครงการวัยรุ่น วัยใส ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด และการตั้งครรภ์ก่อนวันอันควรโดยการส่งเสริมสุขภาพแก่วัยรุ่นและเยาวชนให้เกิดสุขภาวะที่ปลอดภัยในการดำเนินชีวิตในสังคม ป้องกันและลดปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่น ส่งเสริมให้วัยรุ่นมีความรู้ในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด นำไปสู่ประโยชน์สูงสุดแก่วัยรุ่นและเยาวชนของชาติที่จะเติบโตเป็นอนาคตของประเทศชาติต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 30/12/2024
กำหนดเสร็จ 30/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วจ่ายกันได้
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. เด็กและเยาวชนได้รับความรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างเหมาะสมกับวัยและนำไปปรับใช้ได้จริงกับสถานการณ์ของตนเอง
2. เพื่อส่งเสริมความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม