กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรอง ค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี ของคนบ้านควน ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 1

1.นางปทุมมาศ โลหะจินดา ตำแหน่ง ผอ.รพ.สต.บ้านควน 1 เบอร์โทรศัพท์ 089-4677379
2.นางสุพิชชา หมาดสกุล ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 086-4884177
3.นางวัชรี บินสอาด ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 089-9743341
4.นส.โสภิตรา นารีเปน ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 086-9553967
5.นส.นุสรัตน์ นุ่งอาหลี ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ เบอร์โทรศัพท์ 088-7955154

หมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชน อายุ 32 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรอง ค้นหา การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี

 

22.84

สถานการณ์ของโรคตับอักเสบทั่วโลก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังประมาณ 257 ล้านคน และผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังประมาณ 71 ล้านคน สถานการณ์ในประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณ 2.2-3 ล้านคน และผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ประมาณ 8 แสนคน พบมากในผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป และพบอัตราการเสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โรคไวรัสตับอักเสบ บี และซี สามารถติดต่อผ่านทางเลือดและสารคัดหลั่ง การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย สำหรับโรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ ทั้งนี้ โรคไวรัสตับอักเสบบี มีวัคซีนในการป้องกัน หากมีพฤติกรรมเสี่ยงให้รีบไปตรวจคัดกรองโดยเร็ว สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ควรรีบมาฝากครรภ์ และรับการตรวจหาโรคไวรัสตับอักเสบบี เพื่อลดการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันได้มีการใช้วัคซีนเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในเด็กแรกเกิดทุกคน เพื่อป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี แต่สำหรับประชาชนที่เกิดก่อนปี 2535 ควรตรวจหาภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบบี หากไม่มีภูมิคุ้มกัน แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี ให้ครบชุด จำนวน ๓ เข็ม ซึ่งจะป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้ ส่วนโรคไวรัสตับอักเสบซี ไม่มีวัคซีนในการป้องกัน แต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการทานยาต้านไวรัสให้ครบ ๑๒ สัปดาห์ ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ควรเข้ารับบริการตรวจคัดกรองและรักษาโดยเร็วจากการดำเนินงานคัดกรองค้นหากลุ่มติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และซี ในปีงบประมาณ 2567 นั้น มีประชาชนกลุ่มเป้าหมายยังให้ความสนใจ และให้ความสำคัญน้อยมากมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 662 คน คิดเป็นร้อยละ 22.84 พบผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จำนวน 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.12 และติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.45 กลุ่มติดเชื้อดังกล่าวได้รับการส่งต่อพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษา จำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 100
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน1 ให้ความสำคัญในการคัดกรองค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัสตับอักเสบซีรายใหม่ เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายรู้เท่าทันภาวะสุขภาพของตนเอง ได้รับการส่งเสริมความรู้ในกลุ่มปกติ มีพฤติกรรมที่เหมาะสม สามารถป้องกันตนเอง ให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้ในกลุ่มป่วย สามารถดูแลตนเองป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้และได้รับการรักษาที่รวดเร็วส่งผลให้ลดความรุนแรงของโรคที่อาจพัฒนาไปเป็นโรคร้ายที่รุนแรงกว่าเดิมได้ เช่น ภาวะตับแข็ง และโรคมะเร็งตับ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน1 จึงจัดทำโครงการคัดกรอง ค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี ของคนบ้านควน ปี 2568 ขึ้น เป้าหมายสูงสุด เพื่อให้ประชาชน คนบ้านควน มีสุขภาพที่ดี ปลอดภัย ห่างไกลจากโรคตับอักเสบบี และโรคตับอักเสบซี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชน อายุ 32 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรอง ค้นหา การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี

ประชาชน อายุ 32 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรอง ค้นหา การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี
เพิ่มขึ้นจากเดิม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

22.84 44.00
2 เพื่อให้ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี รายใหม่ ได้รับการส่งต่อพบแพทย์รวดเร็วที่สุด

ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี รายใหม่ ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ ร้อยละ 100

0.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินกิจกรรมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินกิจกรรมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมแกนนำ อสม.เพื่อชี้แจงโครงการ ความสำคัญของโครงการ และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากโครงการคัดกรอง ค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี ของคนบ้านควน ปี 2568เพื่อให้แกนนำ อสม.ประชาสัมพันธ์ แนะนำกลุ่มเป้าหมาย ชักจูงให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการให้มากที่สุด
2.เตรียมเอกสารที่ใช้ในโครงการพร้อมทั้งมอบหมายหน้าที่ให้กับแกนนำ อสม.เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน โดยมอบหมายหน้าที่ดังนี้แกนนำ อสม.จำนวน 2 คน อยู่จุดรับบัตรประชาชนเพื่อออเท็นและจัดคิวส่งตรวจ , แกนนำ อสม.4 คน แบ่งเป็นชุดละ 2 คน ทำหน้าที่ เจาะเลือดปลายนิ้วบันทึกข้อมูลทั่วไปและผลการตรวจ
3.พัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม.จำนวน 30 คน (หมู่ละ 6 คน) เพื่อส่งเสริมความรู้ และฝึกปฏิบัติเจาะเลือดปลายนิ้วมือหยดลงบนชุดทดสอบ HCV Rapid Test Cassette ,HBsAg Rapid Test Cassette

งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างแกนนำ อสม.จำนวน 30 คนๆละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำ อสม.จำนวน 30 คน มีความรู้ และมีทักษะ ในการคัดกรองค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์คัดกรอง ค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซีรายใหม่

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์คัดกรอง ค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซีรายใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.แกนนำ อสม.ลงพื้นที่คัดกรอง ค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี พร้อมทั้งส่งเสริมความรู้เบื้องต้น และแจ้งผลการตรวจให้กับผู้เข้าร่วมโครงการรับทราบผลตรวจโดยมีการนัดกลุ่มเป้าหมาย หมู่บ้านละ 1 วัน เข้ารับการตรวจที่ รพ.สต.บ้านควน 1 โดยมีแกนนำ อสม.ที่ผ่านการอบรม ดำเนินกิจกรรมโครงการตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ทุกกิจกรรมอยู่ภายใต้การควบคุม ดูแล ของเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านควน1
- แกนนำ อสม. ส่งต่อกลุ่มผิดปกติพบเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านควน1 เพื่อพูดคุยคลายความกังวลใจให้ความรู้เบื้องต้นและเน้นย้ำถึงการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมและนัดรับใบส่งตัวเพื่อพบแพทย์ต่อไป

งบประมาณ
1.ค่าชุดทดสอบ HCV Rapid Test assette ,HBsAg Rapid Test Cassette จำนวน 500 ชุดๆละ 35 บาท เป็นเงิน 17,500 บาท
2.ค่าสำลีชุบแอลกอฮอล์ ( 8 ก้อน/แผง)1 กล่อง มี 12 แผง ราคากล่องละ 130 บาท จำนวน 5 กล่อง เป็นเงิน 650 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนอายุ 32 ปีขึ้นไป จำนวน 500 คน ได้รับการตรวจคัดกรอง ค้นหา ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอับเสบบี และไวรัสตับอับเสบซีทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,050.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวจ่ายกันได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชน อายุ 32 ปีขึ้นไป ให้ความสนใจ เข้าร่วมกิจกรรมคัดกรอง ค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี มากขึ้น และประชาชนกลุ่มเป้าหมายรู้เท่าทันสุขภาพของตนเองสามารถดูแล เฝ้าระวังสุขภาพของตนเองได้เหมาะสม
2.ประชาชนอายุ 32 ปีขึ้นไป ตื่นตัวมากขึ้น รับรู้ถึงอันตรายของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซีที่อาจพัฒนาไปเป็นโรคร้ายที่รุนแรงกว่าเดิมได้ เช่น ภาวะตับแข็ง และโรคมะเร็งตับ เกิดการตื่นตัว และติดตามภาวะสุขภาพตนเองมากขึ้น
3.ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี รายใหม่ ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ทุกราย ส่งผลให้ได้รับการรักษาที่รวดเร็ว และสามารถลดความรุนแรงของโรคได้
4.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพที่ดี ปลอดภัย ห่างไกลจากโรคตับอักเสบบี และโรคตับอักเสบซี


>