2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ผู้สูงอายุนับเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ โดยข้อมูลปีพ.ศ. 2565 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุ จำนวน 12.2 ล้านคนจากจำนวนประชากรรวม 66 ล้านคน โดยคิดเป็นร้อยละ 18.3 ของประชากรรวม และคาดว่า ในปีพ.ศ. 2566 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) คือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ สุขภาพช่องปากถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญกับสุขภาพทางด้านร่างกาย อาทิ การสูญเสียฟันจำนวนมากจะลดประสิทธิภาพการเคี้ยวอาหาร ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร การดำเนินชีวิตประจำวันและสุขภาพจิต เป็นต้น ดังกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ความว่า “เวลาไม่มีฟันกินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุขจิตใจก็ไม่สบายร่างกายก็ไม่แข็งแรง” จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ พ.ศ. 2567 พบว่า ผู้สูงอายุได้รับบริการทันตกรรม คิดเป็นร้อยละ 22.23 ผู้สูงอายุที่มีฟันถาวรใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 29.78 และมีฟันหลังสบกัน 4 คู่สบ คิดเป็นร้อยละ 48.31 ทำให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวลดลงอย่างชัดเจน ยังมีปัญหารอยโรคและความผิดปกติในช่องปากที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการลุกลามที่นำไปสู่ความเจ็บปวดและการสูญเสียฟัน ซึ่งปัญหาสำคัญ ได้แก่ การสูญเสียฟัน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านการบดเคี้ยวอย่างมากซึ่งนอกจากจะเสี่ยงต่อการอักเสบ ปวดบวม ติดเชื้อ และสูญเสียฟันแล้ว ยังสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคเรื้อรังด้วย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น ทางกลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ จึงเล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาโรคในช่องปากในกลุ่มดังกล่าว จึงจัดทำโครงการปันยิ้มสร้างสุขสูงวัยสุขภาพช่องปากดี รพ.สต.นาทับ ปี 2568 เพื่อแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพของผู้สูงอายุเพื่อกระตุ้นให้กลุ่มผู้สูงอายุตระหนักถึงการดูแลทันตสุขภาพพร้อมทั้งได้ปรับระบบบริการสุขภาพเชิงรุกเน้นการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเพื่อลดปัญหาโรคในช่องปาก และทำให้ผู้สูงอายุ มีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 06/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?