กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

รู้เท่าทันใช้ยาปลอดภัยในชุมชน ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสมียน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสมียน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละการใช้ยาที่ถูกวิธี

 

38.00

การใช้ยาอย่างสมเหตุผล หมายถึง การใช้ยาโดยมีข้อบ่งชี้ มีประสิทธิผลจริง สนับสนุนด้วยหลักฐานที่เชื่อถือได้ มีราคาเหมาะสม ลดต้นทุนยาที่สั่งเกินความจำเป็น คำนึงถึงปัญหาเชื้อดื้อยา ใช้ยาในกรอบบัญชียาอย่างเป็นขั้นตอน (คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตามบัญชียาหลักแห่งชาติ) จากการสำรวจสถานการณ์การใช้ยาในชุมชน ปี 2567พบว่า ประชาชนยังมีพฤติกรรมผิดๆในการหาซื้อยาปฏิชีวนะใช้เองจากร้านค้า หรือมีการเรียกร้องขอใช้ยาปฏิชีวนะจากเจ้าหน้าที่ผู้สั่งจ่ายยาใน รพสต.บ่อยๆ ในโครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ซึ่งได้กำหนดให้เป็นการพัฒนาระบบบริการสาขาส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล(Rational Drug use : RDU) ใน หน่วยบริการปฐมภูมิและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลได้กำหนดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล หมายถึง การใช้ยาโดยมีข้อบ่งชี้ มีประสิทธิผลจริง สนับสนุนด้วยหลักฐานที่เชื่อถือได้ มีราคาเหมาะสม ลดต้นทุนยาที่สั่งเกินความจำเป็น คำนึงถึงปัญหาเชื้อดื้อยา ใช้ยาในกรอบบัญชียาอย่างเป็นขั้นตอน (คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตามบัญชียาหลักแห่งชาติ) จากการสำรวจสถานการณ์การใช้ยาในชุมชน ปี 2567พบว่า ประชาชนยังมีพฤติกรรมผิดๆในการหาซื้อยาปฏิชีวนะใช้เองจากร้านค้า หรือมีการเรียกร้องขอใช้ยาปฏิชีวนะจากเจ้าหน้าที่ผู้สั่งจ่ายยาใน รพสต.บ่อยๆ ในโครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ซึ่งได้กำหนดให้เป็นการพัฒนาระบบบริการสาขาส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล(Rational Drug use : RDU) ใน หน่วยบริการปฐมภูมิและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลได้กำหนดแนวทาง เครื่องมือและตัวชี้วัด นอกจากนี้ จุดเน้นการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในระดับ รพสต. คือ เน้นการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบโดยเฉพาะใน ๒ กลุ่มโรคคือ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (ARI) และโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea : AD) โดยมีเป้าหมาย คือ ใช้ยาปฏิชีวนะน้อยสุดเท่าที่จำเป็น, อัตราใช้ยาปฏิชีวนะไม่มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ≤ ร้อยละ 20 (จากข้อมูลการใช้ยาปฏิชีวนะของ รพสต.นาเสมียน ปีงบประมาณ 2567 พบว่า อัตราใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรค ARI รพ.สต.อยู่ที่ร้อยละ 7.27 ส่วนโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันอัตราใช้ยาปฏิชีวนะเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 19.77 ) ซึ่งก็ผ่านเกณฑ์ มาตรฐานการใช้ยาสมเหตุสมผล แต่ก็มีเป้าหมายที่ซื้อยามารับประทานเองจากร้านขายยาหรือคลินิก โดยกลุ่มประชาชนเอง จากการสำรวจร้านชำในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.นาเสมียน จำนวน 39 ร้าน พบว่ามีร้านชำที่ขายยาปฏิชีวนะ จำนวน 15 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 38.46 ทำให้ประชาชนที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลันโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ซื้อยาปฏิชีวนะมารับประทานเอง ด้วยความคิดเดิมๆ ที่ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะแล้วหายจากโรคซึ่งเป้าหมายเหล่านี้ เป็นผลให้ เกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้ยา ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสมียน จึงได้จัดทำโครงการรู้เท่าทัน การใช้ยาอย่างสมเหตุสม ปี 2568

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ร้อยละ 80

ประชาชนตระหนักถึงการใช้ยาสมเหตุสมผล

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 101
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ x 35 บ.x 10คน = 350 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่่อวางแผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
350.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่แกนนำ อสม.และผู้ประกอบการร้านชำ

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่แกนนำ อสม.และผู้ประกอบการร้านชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ x 35 บาท x 101คน = 7,070 บาท

ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ x 70 บาท x 101คน = 7,070 บาท

ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง ๆ x 600 บาท = 3,600 บาท

ค่าถ่ายเอกสาร101 ชุด x 20 บาท = 2,020 บาท

ค่าวัสดุสำนักงาน(ปากกา+สมุดบันทึก) 101 คน x 20 บาท = 2,020 บาท

ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ (ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร)500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนตระหนักถึงการใช้ยาสมเหตุสมผล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22280.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจประเมินร้านชำ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจประเมินร้านชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าตอบแทนคนละ 120 บาท x 5 คน x 3 วัน = 1800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านชำทุกร้านได้รับการตรวจประเมินการขายยาปฏิชีวนะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

กิจกรรมที่ 4 จัดทำสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมเหตุสมผล

ชื่อกิจกรรม
จัดทำสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมเหตุสมผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าทำป้าย Rollup ขนาด 80 x 150 ซม. ( จำนวน 3 ป้าย x 2,500 บาท) = 7,500บาท

  • โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (ARI)

  • โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea : AD)

  • ยาสามัญประจำบ้านที่สามารถขายได้ในร้านชำ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดทำป้ายให้ความรู้ Rollup จำนวน 3 ป้าย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,930.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนตระหนักถึงการใช้ยาสมเหตุสมผล ร้อยละ 80
2. ร้านชำไม่ขายยาปฏิชีวนะ ร้อยละ 100


>