กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ร่วมมือ ร่วมใจ ป้องกันภัยจากยาเสพติดในสถานศึกษา ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ

โรงเรียนในเขตรับผิดชอบขำนวน 3 แห่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากสถานการณ์การรายงานผลของการใช้สารเสพติดในพื้นที่ตำบลนาทับที่ได้ข้อมูลจากการเข้ารับการบำบัดรักษาจากโรงพยาบาลจะนะ การทำประชาคมในหมู่บ้านพบว่าจจำนวนผู้ใช้สารเสพติดชนิดต่าง ๆ เช่น ยาบ้า น้ำกระท่อม48*100 กัญชา เฮโรอีน ที่มีอย่างแพร่หลายในชุมชนส่งผลให้เกิดปัญ

 

80.00

ด้วยปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด ยังคงระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง การป้องกันและแก้ไขยาเสพติด และป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ให้ร่วมดำเนินการในลักษณะบูรณาการ ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในตำบลนาทับ พบว่ามีเด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เด็กและเยาวชน มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น เด็กและเยาวชน เป็นที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ การสร้างการยอมรับ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทาย การชักจูง และการหลอกลวง เป็นต้น ดังนั้น เด็กและเยาวชนจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน โดยผนึกกำลังร่วมกับครอบครัว ให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแรงร่วมใจ ที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม นอกจากเป็นสถานที่ในการเรียนรู้ให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชนในพื้นที่แล้ว การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นภารกิจต้องดำเนินการร่วมกัน และในสภาพปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด มาในรูปแบบและวิธีต่างๆ มากมาย เข้าไปสู่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาต่างๆ มากยิ่งขึ้น ทางรพ.สต.นาทับจึงมีความจำเป็นที่จะหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ให้เกิดขึ้นในโรงเรียนและหมู่บ้านเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนตำบลนาทับ ส่งเสริมกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดจำนวนผู้ใช้สารเสพติดรายใหม่ในโรงเรียน

ร้อยละนักเรียนกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะเสียงใช้สารเสพติดไม่เกินร้อยละ 20

80.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/06/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1 จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงแนวทางการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
1 จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงแนวทางการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงแนวทางการดำเนินงาน ให้แก่แกนนำและผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมาย
  • ครูโรงเรียนจำนวน 3 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คนค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 6X35 บาท =210 บาท
  • ผู้ปกครองกลุ่มเสี่ยง 8 หมุ่บ้าน หมู่บ้านละ 2 คน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 16X35 บาท =560 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 14 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงานโครงการค้นหากลุ่มเสี่ยงในการใช้สารเสพติดประเภทต่างๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
770.00

กิจกรรมที่ 2 2.อบรมเชิงปฏิบัติการและฝึกทักษะการปฏิเสธการใช้สารเสพติดในกลุ่มเสี่ยงและผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
2.อบรมเชิงปฏิบัติการและฝึกทักษะการปฏิเสธการใช้สารเสพติดในกลุ่มเสี่ยงและผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กลุ่มเป้าหมายเด็กนักเรียน จำนวน 75 คน ค่าอาหารกลางวัน 75 คน X 70 บาทX 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 5,250 บาท
  • กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองกลุ่มเสี่ยง จำนวน 75 คน ค่าอาหารกลางวัน 75 คน X 70 บาทX 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 5,250 บาท
  • ค่าวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการและฝึกทักษะการปฏิเสธการใช้สารเสพติดและการจัดการกับภาวะเครีบยดอย่างสมเหตุสมผล 1 คน X 600 บาท X ุ6 ชั่วโมง X 2 วัน รวมเป็นเงิน 7,200 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรมปากกา ด้ามละ 5 บาท จำนวน 150 ด้าม X 5 บาท รวมเป็นเงิน 750 บาท
  • กระเป๋าผ้าใส่เอกสาร ใบละ 50 บาท จำนวน 150 ใบ X 50 บาท รวมเป็นเงิน 7,500 บาท
  • กระดาษฟลิบชาร์ต 10 แผ่น X 5 บาท เป็นเงิน 50 บาท
  • อุปกรณ์เบ็ดเตล็ดสำหรับกิจกรรมสันทนาการในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
    • ปากกาเมจิกสีน้ำเงิน,สีแดง จำนวน 10 ด้าม X 10 บาท เป็นเงิน 100 บาท
    • กระดาษขนาดเอ 4 จำนวน 1 แพ็ค X 25 บาท เป็นเงิน 25 บาท
    • กระดาษฟลิบชาร์ต จำนวน 10 แผ่น X 5 บาท เป็นเงิน 50 บาท
    • ลูกโป่ง จำนวน 2 จำนวน 1 แพ็ค X 50 บาท เป็นเงิน 100 บาท
    • ของราลวัลในการจัดกิจกรรม เช่นสมุดบันทึก กระปุกออมสิน กล่องพลาสติก เป็นเงิน 500 บาท
  • ปากกาเมจิก จำนวน 10 ด้าม X 10 บาท เป็นเงิน 100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถทราบถึงแนวโน้มการเกิดผู้ใช้สารเสพติดรายใหม่ สามารถทราบถึงการทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการปฏิเสธได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26875.00

กิจกรรมที่ 3 3.ติดตามเยี่ยมและประเมินความรู้ด้านโทษและพิษภัยจากยาเสพติดและการเผชิญปัญหาความเครียดหลังการอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขได้หลังเสร็จสิ้นโครงการ

ชื่อกิจกรรม
3.ติดตามเยี่ยมและประเมินความรู้ด้านโทษและพิษภัยจากยาเสพติดและการเผชิญปัญหาความเครียดหลังการอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขได้หลังเสร็จสิ้นโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประเมินความรู้ในเรื่องยาเสพติดในด้านโทษและทักษะการปฏิเสธหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 150 คน X 1 บาท รวมเป็นเงิน 150 บาท
  • การคัดกรองซึมเศร้าโดยใช้คำถาม ST-5 หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 150 คน X 1 บาท รวมเป็นเงิน 150 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถบอกถึงโทษของยาเสพติดและทักษะการปฏิเสธหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ
  • เกิดทักษะการแก้ปัญหาและเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและดำเนินชีวิตได้อย่างสอดคล้องและกลมกลืนกับตนเองผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นสุขมากขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,945.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- สามารถลดจำนวนผู้ใช้สารเสพติดรายใหม่ในโรงเรียนได้ร้อยละ 100
- มีการจัดการเมื่อเผชิญกับภาวะเครียดได้อย่าสมเหตุสมผล ได้ร้อยละ 80


>