2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
สังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุสมบูรณ์ คาดว่าในปี พ.ศ.2574จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด ถึงร้อยละ 28 (วิมล,2564) จากรายงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุงปี 2567 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ ร้อยละ 22.84สำหรับเขตสุขภาพที่ 12 ได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แล้วเช่นกัน โดยปี 2567 มีสัดส่วนประชากรสูงอายุ ร้อยละ 17.36 จังหวัดที่มีสัดส่วนประชากรสูงที่สุด และเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ คือจังหวัดพัทลุง มีประชากร สูงอายุถึงร้อยละ 24.60 (ข้อมูลจากHDC 24สิงหาคม 2567)จากการคัดกรองผู้สูงอายุ ข้อมูลปี2567 พบเสี่ยงภาวะหกล้ม ร้อยละ 5.15กลุ่มเสี่ยงสมองเสื่อม ร้อยละ 2.69และ อ.ควนขนุน มีประชากรผู้สูงอายุ ถึงร้อยละ29.58 จากการคัดกรองผู้สูงอายุอ.ควนขนุนพบเสี่ยงภาวะหกล้มร้อยละ4.45กลุ่มเสี่ยงสมองเสื่อม ร้อยละ1.92(ข้อมูลจาก HDC ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 ) รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา มีผู้สูงอายุ จำนวน 659 คน จากการคัดกรองผู้สูงอายุอ.ควนขนุนพบเสี่ยงภาวะหกล้มร้อยละ 16.29กลุ่มเสี่ยงสมองเสื่อม ร้อยละ 5.91 จากสถานการณ์ความเสี่ยงดังกล่าวภาวะหกล้มและสมองเสื่อม ถือเป็นปัญหาสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุและครอบครัวเป็นอย่างมาก ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และเป็นภาระของครอบครัว ในระยะยาว จึงควรมีการดูแลระบบในกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้เกิดการดูแลที่มีคุณภาพและครบวงจร
ในปี 2566 กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนด ให้ประเด็นผู้สูงอายุเป็นประเด็นสำคัญ มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม อีกทั้งแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขได้กำหนดประเด็นผู้สูงอายุเป็นหนึ่ง ในกิจกรรมปฏิรูปที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ โดยมุ่งด้านการขับเคลื่อน การปฏิรูประบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุ ด้านการบริบาล การรักษาพยาบาลที่บ้าน /ชุมชน การดูแลสุขภาพตนเองในระบบสุขภาพปฐมภูมิเชิงนวัตกรรม ยกระดับคุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำ ในการเข้าถึงบริการโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น การดำเนินกิจกรรมในการดูแลผู้สูงอายุ โดยเน้นระบบการดูแลสุขภาพไร้รอยต่อโดยมีการดำเนินการตั้งแต่การคัดกรองส่งเสริมและป้องกันโรค ดูแลให้คำแนะนำ ส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย ในคลินิกผู้สูงอายุโรงพยาบาลควนขนุน และส่งต่อโรงพยาบาลพัทลุง ตามขั้นตอนเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสาธารณสุข อย่างมีคุณภาพและครอบคลุมและมีการดูแลผู้สูงอายุ โดยไร้รอยต่อในเขตพื้นที่ ชมรมอสม.รพ.สต.บ้านศาลาตำเสาจึงได้จัดทำโครงการผู้สูงอายุชะมวงสุขใจ สูงวัยอย่างมีค่า ชราอย่างคุณภาพขึ้นเพื่อปัญหาผู้สูงอายุได้รับการดูแลแก้ไข ตลอดจนส่งเสริม ความรอบรู้ด้านสุขภาพครอบคลุมครบทั้ง 5 มิติ (กาย จิต สังคม อารมญ์และจิตวิญญาณ ) ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 15/01/2025
กำหนดเสร็จ 29/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?