กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายและพฤติกรรมสุขภาพ"วัยทำงานขยับกาย สบายชีวี สุขภาพดีมีความสุข"

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา

1. นายวิชาญเลาแก้วหนุ
2. นางอุบล กั้งยอด
3. นายทำนอง ชินวงศ์
4. นางโสภา ขวัญแก้ว
5. นายวิชิต อินทร์บัว

เขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านศาลาตำเสาได้แก่หมู่ที่ 3,12,14,15,16 ตำบลชะมวงอำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

20.00
2 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

50.00
3 ร้อยละของวัยทำงาน มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

50.00

กลุ่มวัยทำงานเป็นกลุ่มประชากรที่อยู่ในช่วงวัย อายุ 15 - 59 ปีเป็นวัยที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศชาติอย่างมากเพราะต้องรับผิดชอบครอบครัวต้องหารายได้การแบกภาระในการเลี้ยงดูเด็กและผู้สูงอายุขณะเดียวกันพบว่าวัยทำงานต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพมากมายซึ่งเกิดจากการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพไม่เหมาะสมเช่น ขาดการออกกำลังกายการสูบบุหรี่การดื่มสุรา
การดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการสำหรับวัยทำงาน จึงควรมีการออกกำลังกายให้มากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาตแต่ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมมีมากขึ้น มนุษย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต การใช้กล้ามเนื้อและพลังกายลดลง ทำให้สมรรถภาพร่างกายและคุณภาพการปฏิบัติงานในหน้าที่ลดลงตามไปด้วย นอกจากนี้ตามรายงานการค้นคว้าทางการแพทย์ยืนยันว่า บุหรี่ สุรา และสิ่งเสพติดต่างๆ มีส่วนบันทอนสุขภาพร่างกาย ในทางตรงกันข้ามการออกกำลังกายจะช่วยให้การทำงานหัวใจกล้ามเนื้อแข็งแรง ทั้งยังช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยกลุ่มวัยทำงานควรมีการเคลื่อนไหวออกกำลังระดับปานกลาง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที นอกจากนี้ ควรมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกายและไม่ควรหักโหมมากเกินไป เพราะทำให้เกิดโทษต่อสุขภาพได้
ปัจจุบันเขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านศาลาตำเสา มีประชากรกลุ่มวัยทำงานมากที่สุดจำนวน 1,846 คนมักมีข้ออ้างว่าไม่มีเวลาทั้งที่ความจริงแล้วการออกกำลังกายในวัยนี้นับว่ามีความจำเป็นมาก ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสาได้เล็งเห็นว่าการออกกำลังกายมีความสำคัญ และยังตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดี ภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติ “รวมพลังสร้างสุขภาพ เพื่อคนไทยแข็งแรง เมืองไทยแข็งแรง” จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายและพฤติกรรมสุขภาพ"วัยทำงานขยับกาย สบายชีวี สุขภาพดีมีความสุข" ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มวัยทำงานในชุมชนออกกำลังกาย มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งลดอัตราการเจ็บป่วย การเกิดโรคของผู้ป่วยรายใหม่และส่งผลต่อการมีความสุขในการดำเนินชีวิตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของวัยทำงานที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

80.00
2 เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

20.00 40.00
3 เพื่อเพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,846
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/01/2025

กำหนดเสร็จ 29/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเครือข่ายสุขภาพเพื่อวางแผนการจัดกิจกกรม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเครือข่ายสุขภาพเพื่อวางแผนการจัดกิจกกรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำทะเบียนวัยทำงานและผลการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น
2.ประชุมเครือข่ายสุขภาพเพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการและวางแผนการจัดกิจกกรม
3.วิเคราะห์กิจกรรมการออกกำลังของเพศชายและเพศหญิงวัยทำงาน
3.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกาย ผ่านหอกระจายข่าวและการประชุมหมู่บ้าน
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่าง สำหรับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้องและผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 20 คน x 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มกราคม 2568 ถึง 8 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.มีทะเบียนวัยทำงานและผลการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น 2.เครือข่ายสุขภาพรับทราบรายละเอียดของโครงการ ผลลัพธ์ 1.กลุ่มวัยทำงานมีการออกกำลังเพิ่มขึ้นและลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 สร้างความรอบรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพและการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยทำงาน

ชื่อกิจกรรม
สร้างความรอบรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพและการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมอบรมสร้างความรอบรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพและการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยทำงาน
งบประมาณ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการอบรม 55คน x 25 บาท เป็นเงิน 1,375 บาท
2. ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800บาท 3. ค่าชุดอุปกรณ์บันทึกข้อมูลชุดละ 100 บาท รวมเป็น 55คน x100บาท เป็นเงิน 5,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มกราคม 2568 ถึง 23 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.กลุ่มวัยทำงานเข้ารับการอบรมจำนวน 55 คน
ผลลัพธ์ 1.กลุ่มวัยทำงานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีการออกกำลังกายที่เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8675.00

กิจกรรมที่ 3 ออกกำลังกายสำหรับวัยทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ออกกำลังกายสำหรับวัยทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดกิจกรรมการออกกำลังกาย(แบดมินตัน) ที่ รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 17.00-18.30 น.
2.จัดกิจกรรมการออกกำลังกาย (แอโรบิค)ที่ ศาลาหมู่บ้าน ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 17.00-18.30 น.
งบประมาณ
1.วัสดุสำหรับออกกำลังกาย จำนวน 2 ชุด ได้แก่
ชุดที่ 1 ไม้แบดมินตันพร้อมลูกขนไก่ เป็นเงิน 1,500 บาท
ชุดที่ 2 อุปกรณ์ลำโพงบลูธูท จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1. กลุ่มวัยทำงานได้ออกกำลังกายด้วยกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)
2.มีแหล่งสาธารณะในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
ผลลัพธ์ 1.วัยทำงานสามารถออกกำลังได้ถูกต้องเหมาะสมและมีสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 4 จัดเวทีคืนข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายและพฤติกรรมสุขภาพ"วัยทำงานขยับกาย สบายชีวี สุขภาพดีมีความสุข"

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีคืนข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายและพฤติกรรมสุขภาพ"วัยทำงานขยับกาย สบายชีวี สุขภาพดีมีความสุข"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดเวทีคืนข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายและพฤติกรรมสุขภาพวัยทำงานขยับกาย สบายชีวี สุขภาพดีมีความสุขแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 2.คัดเลือกบุคคลต้นแบบ วัยทำงานสดใส ใส่ใจสุขภาพ จำนวน 3 คน
งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการอบรม 55 คน x 25 บาท เป็นเงิน 1,375 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 สิงหาคม 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.เกิดบุคคลต้นแบบ วัยทำงานสดใส ใส่ใจสุขภาพ
2.เกิดแกนนำวัยทำงานรักสุขภาพ ผลลัพธ์ 1.วัยทำงานสามารถออกกำลังได้ถูกต้องเหมาะสมและมีสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1375.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>