กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝากครรภ์คุณภาพ เขต อบต.นาประดู่ ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การฝากครรภ์เป็นมาตรการหนึ่งในการเฝ้าระวังความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์และถือเป็นจุดเริ่มต้นการดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และต้องเป็นการฝากครรภ์คุณภาพ นั้นคือต้องมีการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และต้องฝากครรภ์อย่างน้อย8 ครั้ง ตลอดระยะการตั้งครรภ์ เพื่อให้มารดาและทารกได้รับการบริการทางสุขภาพที่ครบถ้วนและดีที่สุด ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งก็จะส่งผลต่อเนื่องไปจนถึง ระยะคลอด ระยะหลังคลอดจากรายงานข้อมูลอนามัยแม่และเด็กของตำบลนาประดู่ ปีงบประมาณ 2567 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์คิดเป็นร้อยละ55.55 หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ไครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพคิดเป็นร้อยละ 13.88 น้ำหนักทารกแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน คิดเป็นร้อยละ 7.69 ปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญ ที่มีผลต่อสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจของมารดาที่ตั้งครรภ์ ส่งผลให้มารดาที่ตั้งครรภ์เจ็บป่วยและคลอดก่อนกำหนด และทารกที่คลอดมีสุขภาพไม่แข็งแรงและมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม และนำไปสู่สุขภาพที่ไม่ดี
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอดและทารกแรกเกิด เพื่อให้ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ และให้ทารกที่คลอดมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการฝากครรภ์คุณภาพ เขต อบต.นาประดู่ ประจำปี2568

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่า 75%

30.00 30.00
2 หญิงตั้งครรภได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพ 8ครั้งตามเกณฑ์

หญิงตั้งครรภได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพ 8 ครั้งตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่า 50%

30.00 15.00
3 ทารกแรกเกิด มีน้ำหนักเท่ากับหรือมากกว่า 2500 กรัม

ทารกแรกเกิด มีน้ำหนักเท่ากับหรือมากกว่า 2500 กรัม ไม่เกิน 7 %

30.00 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 15
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/11/2024

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ในการปฏิบัติตัว ของหญิงตั้งครรภ์ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ ตลอดจนการดูแลตนเองและลูกในระหว่างการตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ในการปฏิบัติตัว ของหญิงตั้งครรภ์ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ ตลอดจนการดูแลตนเองและลูกในระหว่างการตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ ตลอดจนการดูแลตนเองและลูกในระหว่างการตั้งครรภ์

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน x 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน3,500 บาท

  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน x 60 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน3,000 บาท

  • ค่าถ่ายเอกสารความรู้ จำนวน45 ชุด x10 บาทเป็นเงิน 450 บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์จำนวน 45 ชุด x50 บาท เป็นเงิน2,250บาท

  • ค่าไวนิล ขนาด 1 เมตร X 4 เมตร เมตรละ 250 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท

    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น เป็นเงิน10,200บาท (เงินหนึ่งหมื่นสองร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ ตลอดจนการดูแลตนเองและลูกในระหว่างการตั้งครรภ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ตามนัด ทุกเดือน โดย อสม.

ชื่อกิจกรรม
ติดตามหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ตามนัด ทุกเดือน โดย อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ตามนัด ทุกเดือน โดย อสม.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ได้รับการติดตาม ตามนัด ทุกเดือน โดย อสม.

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์

2.หญิงตั้งครรภได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพ 8 ครั้งตามเกณฑ์

3.ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักเท่ากับหรือมากกว่า 2500 กรัม


>