กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก เขต อบต.นาประดู่ ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

คุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายหลักของพื้นที่ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี คือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกายและจิตใจ ทุกเพศ ทุกวัย จากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรมีแนวโน้มเป็นโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปี 2565โรคความดันโลหิตสูง 1,121 คนโรคเบาหวาน 524 คนปี 2566โรคความดันโลหิตสูง 1,125 คน โรคเบาหวาน 534 คน ปี 2567 โรคความดันโลหิตสูง 1,138คน โรคเบาหวาน 542 คน เพิ่มขึ้นทุกปี ดั้งนั้น การส่งเสริมสุขภาพเป็นกระบวนการสร้างสมรรถนะให้คนเรามีความสามารถเพิ่มขึ้นในการควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ และเป็นผลให้บุคคลมีสภาวะร่างกาย จิตใจ และความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์ บุคคลหรือชุมชนสามารถระบุสิ่งทีจำเป็นในการบรรลุการมีสุขภาพดี เพราะฉะนั้นการส่งเสริมสุขภาพจึงไม่ใช่ความรับผผิดชอบของหน่วยงานด้านสุขภาพเท่านั้น แต่รวมไปถึงการที่ประชาชนมีการปฏิบัติให้เกิดวิถีชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี การทำงานต้องแข่งกับเวลา ขาดการออกกำลังกายหรือการรับประทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้ร่างกายอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพโดยเฉพาะโรคที่อยู่ในขอบเขตที่การแพทย์ปัจจุบันสามารถตรวจพบได้ ซี่งจะทำให้สามารถปฏิบัติตัวได้เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขี้น การให้บริการตรวจสุขภาพเชิงรุกจีงเป็นการอำนวยความสะดวกในการให้ประชาชนได้รับบริการตรวจสุขภาพในพื้นที่
ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้การให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญชองการดูแลสุขภาพตนเอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างน้อยร้อยละ 80

720.00 576.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้การเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง

ประชาชนมีความรู้การเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง

720.00 720.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ ให้ความสนใจและใส่ใจสุขภาพของตนและคนในครอบครัว

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ ให้ความสนใจและใส่ใจสุขภาพของตนและคนในครอบครัว

720.00 720.00
4 เพื่อให้ประชาชนที่มีปัญหาภาวะสุขภาพได้รับการดูแลและส่งต่อ

ประชาชนที่มีปัญหาภาวะสุขภาพได้รับการดูแลและส่งต่อ

720.00 720.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 720
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดคัดกรองสุขภาพกลุ่มเป้าหมายออกเชิกรุกแต่ละหมู่บ้าน อสม ร่วมกับเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดคัดกรองสุขภาพกลุ่มเป้าหมายออกเชิกรุกแต่ละหมู่บ้าน อสม ร่วมกับเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดคัดกรองสุขภาพกลุ่มเป้าหมายออกเชิกรุกแต่ละหมู่บ้านอสม ร่วมกับเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งให้ความรู้

รายละเอียดงบประมาณ ดังนี้

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน724 คน x 35 บาท x 1มื้อ เป็นเงิน25,340บาท

  • ค่าถ่ายเอกสารใบคัดกรองและบันทึกผล จำนวน 720 ชุด x 2 บาท เป็นเงิน 1,440 บาท

  • ค่าวัสดุสำนักงาน (สมุด, ปากกา ฯลฯ)เป็นเงิน 2,500 บาท

  • ค่าไวนิล ขนาด 1 เมตร x 4 เมตร x เมตรล 250 บาท เป็นเงิน1,000 บาท

    รวมจำนวนทั้งสิ้น 30,280บาท (สามหมื่นสองร้อยแปดสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาภาวะสุขภาพได้รับการรักษาและการส่งต่อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30280.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,280.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ เจตคติ ทักษะและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ถูกต้อง

2.กลุ่มเป้าหมายมีสุขร่างกายแข็งแรงป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้องลดลง

3.กลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาภาวะสุขภาพได้รับการรักษาและการส่งต่อ


>