กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3อ 2ส

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

ชมรมอสม. รพ.สต.ทุ่งยาว

นางสาวสุพัตรา หูเขียว
นางสาวมัสชุพรรณวจี ทวยเดช

ตำบลทุ่งยาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นกลุ่มโรคที่มีสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆอีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว มักเกิดจาก“กรรมพันธุ์และพฤติกรรม” เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ จึงได้จัดทำโครงการ“ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3อ.2ส.”เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ทักษะในการจัดการตนเองและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดการเกิดโรคเรื้อรัง รวมทั้งควบคุมและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ป่วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงที่มารับยาต่อเนื่องคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาว

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มารับยาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทุ่งยาวเข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยความสมัครใจ ร้อยละ 90

1.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง

กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงเข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยความสมัครใจ ร้อยละ 90

1.00
3 เพื่อจัดกิจกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงห่างไกลจากภาวะแทรกซ้อนของโรค

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก ๓ อ ๒ ส

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก ๓ อ ๒ ส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คนๆละ 35 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน  2,100 บาท
  2. ค่าแผ่นป้ายไวนิลโครงการขนาด 1 เมตร x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท
    1. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน  1,800 บาท
    2. ค่าจัดทำคู่มือการดูแลสุขภาพตนเอง ชุดละ 50 บาท x 60 ชุด เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน มีความรู้และทัศนคติที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรค


>