กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านหนองหว้า

นายวิชัยกังเจริญกุล
นางสาวสุภาวดีผดุงกีรติยศ

ตำบลทุ่งยาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อเจ็บป่วยจะแพร่เชื้อโรคสู่เด็กอื่นได้ง่าย เนื่องจากเด็กเล็กมีภูมิคุ้มกันต่ำจึงมีโอกาสป่วยได้บ่อย โดยเฉพาะโรคติดต่อที่สำคัญและพบบ่อย ได้แก่ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคหวัด โรคตาแดง โรคไข้เลือดออก ผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย โรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโรคติดเชื้อที่สำคัญอื่นๆ ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม คอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก เป็นต้น โดยจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการโดยรวมของเด็ก
การดำเนินงานการป้องกันควบคุมโรคในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการช่วยลดการเกิดและแพร่กระจายของโรคติดต่อดังกล่าวโดยครูผู้ดูแลเด็กเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะพัฒนาให้ศูนย์เด็กเล็กปลอดภัยจากโรคต่างๆ เนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุดในช่วงที่เด็กอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อีกทั้งเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก และสิ่งสำคัญอีกประการที่จะช่วยให้การดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กประสบความสำเร็จได้ เกิดจากความตระหนัก ความร่วมมือของบุคลากรทุกภาคส่วนทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก ในการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์เด็กเล็กอย่างเข้มแข็ง
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหว้า ได้เห็นความสำคัญของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงจัดโครงการเพื่อเฝ้าระวังการป้องกันควบคุมโรคไม่ให้แพร่ระบาดและเพื่อลดอัตราการป่วยของเด็กโดยจัดให้มีการอบรมเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ตลอดจนกำหนดแนวทางมาตรการในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อซึ่งอาจเพิ่มจากเดิมคือมีมาตรการการป้องกันควบคุมโรคเป็นการป่วยที่พบจากการตรวจคัดกรองของครูพี่เลี้ยงเด็กและแนะนำให้หยุดเรียนและให้ผู้ปกครองพาไปพบแพทย์ทำให้ลดการระบาดในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและยังป้องกันควบคุมไม่ให้โรคแพร่กระจายและลดอาการป่วยของเด็กต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครูพี่เลี้ยงและผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้เรื่องการเฝ้าระวังโรคติดต่อและตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

 

0.00
2 เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อไม่ให้แพร่กระจาย และลดอาการป่วยของเด็กภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเฝ้าระวังโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
อบรมเฝ้าระวังโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คนๆละ 1 มื้อ มื้อละ 35 บาท      เป็นเงิน 1,750  บาท
  • ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการ 2 ป้าย ขนาด 1 x 3 เมตร ป้ายละ 450 บาท    เป็นเงิน    900  บาท
  • ค่าจัดทำคู่มือโรคติดต่อที่พบบ่อยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 50 ชุด x 30 บาท
                                                                                               เป็นเงิน    1,500  บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท        เป็นเงิน 3,600  บาท
  • ค่าปรอทวัดไข้ดิจิตอล จำนวน 4 ชุด ชุดละ 500 บาท            เป็นเงิน 2,000  บาท
  • ค่าป้ายโปสเตอร์ความรู้โรคติดต่อในเด็กและการล้างมือที่ถูกต้อง ขนาด 50 x 70 ซม. จำนวน 20 ชุด ชุดละ 80 บาท                              เป็นเงิน 1,600  บาท
  • ค่าวัสดุในการอบรม แฟ้มเอกสาร จำนวน 50 แฟ้มๆละ 20 บาท          เป็นเงิน 1,000  บาท สมุดจด จำนวน 50 เล่มๆละ 10 บาท              เป็นเงิน    500  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ครูพี่เลี้ยงและผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้เรื่องการเฝ้าระวังโรคติดต่อและตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2 ลดอาการป่วยของเด็กภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก


>