กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการบูรณาการแพทย์แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ(ชราธิวาส) ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

นายอัสฮาอดุลย์รอหมาน แพทย์แผนไทยชำนาญการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัญหาสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มักเกี่ยวกับโรคกระดูกและข้อเข่า

 

8.04
2 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสุขภาพในชุมชน

 

8.04

ปัญหาสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มักเกี่ยวกับโรคกระดูกและข้อเนื่องจากอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และข้อที่เสื่อมมากที่สุดคือข้อเข่า เนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อที่ต้องรองรับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง ทั้งยังทำหน้าที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา ทำให้ข้อเสื่อมได้ง่าย โรคข้อเข่าเสื่อม หมายถึง การที่กระดูกอ่อนของข้อมีการเสื่อมสภาพ ทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนักและมีการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำหล่อเลี้ยงเข่าทำให้มีอาการปวด บวม แดงร้อนที่เข่า ซึ่งเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงการเสื่อมในกลุ่มอายุที่มีอายุ ๕๐ ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ตำแหน่งของข้อที่มีการเสื่อม ได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อมือ กระดูกสันหลัง และข้อเท้า แต่ข้อที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการเจ็บป่วย และต้องเข้ารับบริการมากที่สุด คือ ข้อเข่า ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว โดยทั่วไปจะรับการรักษาด้วยยา เช่น ยาแก้ปวดลดการอักสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งยาดังกล่าวหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ไตวาย และความดันโลหิตสูง
จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยมีแนวโน้มสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุนี้เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อนทั้งในด้านสุขภาพและสังคมการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านภาวะสุขภาพ แบบแผนการเกิดโรคได้เปลี่ยนมาเป็นการเสื่อมสภาพของร่างกายตามวัย และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นความเจ็บป่วยเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ปัญหาปวดข้อทำให้ผู้สูงอายุเกิดความยากลำบากในการเคลื่อนไหว อันเป็นภาระต่อตนเองและผู้ดูแลก่อให้เกิดปัญหาทางด้านคุณภาพชีวิตและจิตใจ อีกทั้งสูญเสียเวลาและค่ารักษาเป็นจำนวนมากจากการคัดกรองตามแบบคัดกรองผู้สูงอายุ (Basic Geriatric Screening : BGS) ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีประชากรผู้สูงอายุในจังหวัดนราธิวาส ที่ได้รับการคัดกรองอาการปวดเข่า มีผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า ซึ่งเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม คิดเป็นร้อยละ 9.74 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุในตำบลตะปอเยาะที่ได้รับการคัดกรองดังกล่าว มีอาการปวดเข่าซึ่งเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม คิดเป็นร้อยละ 8.04

คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ ได้ตระหนักถึงการลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน ที่เป็นสาเหตุผลข้างเคียงของยาดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต จึงนำศาสตร์การแพทย์แผนไทยมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม โดยจัดเป็นโปรแกรมบรรเทาอาการปวดเข่า ซึ่งมีกิจกรรม คือการนวดกดจุดสัญญาณ, การใช้สมุนไพรพอกเข่า ท่าบริหารกล้ามเนื้อด้วยท่าฤาษีดัดตน และการให้คำแนะนำ เพื่อลดอาการปวดเข่า อีกทั้งช่วยลดปัญหาผลข้างเคียงจากการใช้ยาแผนปัจจุบัน ในปัจจุบันการรักษาโรคเข่าเสื่อมยังไม่ได้รับการดูแลอย่างจริงจังแม้แต่ตัวผู้ป่วยก็ยังขาดความรู้ในการดูแลตนเอง และมักจะหันไปพึ่งยาซึ่งการรับประทานยาเป็นเวลานานทำให้เกิดอาการข้างเคียงและมีผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้นการบำบัดแบบไม่ใช้ยาหรือการบำบัดด้วยการแพทย์ทางเลือกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการรักษาโรคเข่าเสื่อม ด้วยวิธีการการพอกยาสมุนไพรด้วยสูตรยาพอกสมุนไพร ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะจึงได้จัดทำโครงการดูแลผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อบำบัดผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อมให้มีอาการปวดลดลง ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมและสามารถใช้สมุนไพรในท้องถิ่นนำมาทำยาพอกเข่าตลอดจนเป็นการอนุรักษ์และตระหนักถึงคุณค่าในภูมิปัญญาไทยอีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และการดูแลตนเอง

ร้อยละ 90 ของผู้ผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และการดูแลตนเอง

8.04 1.00
2 เพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าแก่ผู้สูงอายุที่มีอาการปวดข้อเข่าและเข่าเสื่อม

ร้อยละ90ของผู้สูงอายุที่มีอาการปวดข้อเข่าเสื่อม มีอาการปวดเข่าลดลง และได้รับการดูแลผู้ดูแลและเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง

8.04 1.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเข่าและวิธีการใช้สมุนไพรใกล้ตัว เพื่อเป็นการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุ ที่มีอาการปวดเข่า มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และการดูแลตนเอง และได้รับการดูแลสุขภาพเข่าด้วยศาตร์การแพทย์ทางเลือก

8.04 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 150
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 24/04/2025

กำหนดเสร็จ : 24/04/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเพื่อให้ความรู้ผู้สูงอายุเกี่ยวกับการดูแลเข่า อาการปวดเข่า และสมุนไพรพอก

ชื่อกิจกรรม
อบรมเพื่อให้ความรู้ผู้สูงอายุเกี่ยวกับการดูแลเข่า อาการปวดเข่า และสมุนไพรพอก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่1
อบรมเพื่อให้ความรู้ผู้สูงอายุเกี่ยวกับสมุนไพรพอกเข่าและวิธีการใช้สมุนไพรใกล้ตัวในการพอกเข่า การนวดเข่า และการใช้เครื่องช่วยนวดในการนวดบรรเทาอาการปวดเข่า และเข่าเสื่อม 1.1 ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาด 1.20*2.35 ม.จำนวน 1 ผืนๆละ 720 บาท 1.2 ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง ของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คนx 140 บาท
เป็นเงิน7,000.-บาท 1.3 ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน3,000บาท เป็นเงิน 10,720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 เมษายน 2568 ถึง 24 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ของผู้ผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และการดูแลตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10720.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการปฏิบัติการการใช้ยาสมุนไพรในการพอกเข่าแก่ผู้สูงอายุด้วยการพอกเข่า

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการปฏิบัติการการใช้ยาสมุนไพรในการพอกเข่าแก่ผู้สูงอายุด้วยการพอกเข่า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่2
กิจกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
ปฏิบัติการการใช้ยาสมุนไพรในการพอกเข่าแก่ผู้สูงอายุด้วยการพอกเข่า 1.ค่าผงยาสมุนไพรพอกเข่า จำนวน 60 ชุด ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท 2.แป้งข้าวจ้าวบดละเอียด 6 กก.ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 240 บาท 3.ผงดินสอพองสะตุ 3 กกๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท 4.สำลีแผ่นขนาด 450 กรัม จำนวน 60 อันๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท 5.ผ้าพันเข่าแบบยืด จำนวน 60 อันๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 6.มหาหิงค์ ขนาด 450 ML จำนวน 5 ขวดๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท เป็นเงิน 10,340 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 เมษายน 2568 ถึง 24 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ90ของผู้สูงอายุที่มีอาการปวดข้อเข่าเสื่อม มีอาการปวดเข่าลดลง ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุ ที่มีอาการปวดเข่า มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และการดูแลตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10340.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,060.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมีอาการปวดเข่าทุเลาลง การรักษาด้วยหัตถการด้านการแพทย์แผนไทยด้วยวิธีการพอกเข่าเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นซึ่งเป็นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น นำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้เกิดประโยชน์ โดยการนำมาเป็นส่วนประกอบของการพอกเข่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคปวดเข่าหรือข้อเข่าเสื่อม เพราะมีความสะดวก ปลอดภัยและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีทางเลือกในการรักษาอาการข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้น


>