แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง รหัส กปท. L8415
อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
-
เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่มีความรุนแรงและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัวและสังคมอย่างกว้างขวาง โรคซึมเศร้าเป็นปัจจัยสำคัญของการฆ่าตัวตาย ผลวิจัยส่วนใหญ่พบว่าเพศหญิงมีอัตราการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าเพศชาย แต่ทว่าอัตราการฆ่าตัวตายในเพศชายมีจำนวนมากกว่า ซึ่งเมื่อเพศชายเกิดอาการเครียดหรือซึมเศร้าขั้นรุนแรงช่วงปีที่ผ่านมาคนไทยพยายามฆ่าตัวตายชั่วโมงละ 6 คนหรือทั้งปีมากกว่า 53,000 คนและเสียชีวิตราว 4,000 คนจากข้อมูลการปฏิบัติงานในปี 2566 เขต รพ.สต.บ้านหัวถนน ปีงบประมาณ 2566 มีการฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 ราย โดยเป้าหมายที่กระทรวงตั้งไว้ไม่เกิน 8 ต่อแสนประชากร ปัญหาพบว่าการเข้าถึงการบริการโรคซึมเศร้ามีน้อย และการคัดกรองโรคซึมเศร้าของประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบมีน้อย อสม.ไม่สามารถช่วยเจ้าหน้าที่ในการคัดกรองเบื้องต้นได้ ผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการส่วนใหญ่คือผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดที่สูญเสียความสามารถในการควบคุมตัวเองก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเอง ชุมชน สังคม เป็นผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการเมื่อมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ไม่ได้พบจากการคัดกรอง ส่วนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่าผู้ป่วยหรือญาติจะมารับยาในช่วงที่มีอาการ เมื่อมีอาการดีขึ้นก็จะไม่มาตามนัดขาดการรักษาต่อเนื่องส่งผลให้ผู้ป่วยขาดยาและผู้ป่วยโรคจิตเวชมีอาการทางจิตกำเริบซ้ำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย เขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านหัวถนน มีความครอบคลุมการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายอยู่ในเกณฑ์น้อย คิดเป็นร้อยละ 40.49 ทำให้การเข้าถึงบริการน้อยไปด้วย ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องจึงร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาการเพื่อหาแนวทางแก้ไข ซึ่งจากการศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จนั้น พบว่ามีผลการศึกษาทางวิชาการรายงานไว้ว่า "การป้องกันโรคซึมเศร้าที่ได้ผลคือ Early detection และให้การช่วยเหลือทันทีตั้งแต่เริ่มมีอาการโดยมีเครื่องมือประเมินที่ง่ายและมีความไวในการประเมิน ใช้ง่ายเหมาะสมสำหรับใช้ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)แกนนำชุมชนหรือประชาชนทั่วไปก็สามารถนำมาใช้ในการประเมินตนเองได้ด้วยตนเอง" เครื่องมือที่กล่าวถึงเรียกว่า แบบประเมินคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีความคิดฆ่าตัวตายหรือ 2Q Plus ของกรมสุขภาพจิต ดังนั้น เพื่อการป้องกันการฆ่าตัวตายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยง ปีงบประมาณ 2567ขึ้น โดยใช้แบบคัดกรองกลุ่มเสี่่ยงที่มีความคิดฆ่าตัวตายหรือ 2Q Plus ของกรมสุขภาพจิต อสม.ได้นำไปใช้กับชุมชนเพื่อช่วยหยุดยั้งและฉุดคนจากการคิดฆ่าตัวตายและให้การช่วยเหลือเบื้องตันได้ทันท่วงที
-
1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายร้อยละ 80ขนาดปัญหา 80.00 เป้าหมาย 80.00
-
2. เพื่อติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงฆ่าตัวตายตัวชี้วัด : ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงฆ่าตัวตายร้อยละ 100ขนาดปัญหา 100.00 เป้าหมาย 100.00
-
3. เพื่อติดตามดูแลให้ผู้ป่วยจิตเวชและโรคซึมเศร้าที่อยู่ในระบบการรักษาได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องตัวชี้วัด : ผู้ป่วยจิตเวชและซึมเศร้าที่อยู่ในระบบการรักษาได้รับการรักษาต่อเนื่องร้อยละ 100ขนาดปัญหา 100.00 เป้าหมาย 100.00
- 1. คัดกรองประชาชนกลุ่มเป้าหมายด้วยแบบประเมิน 2Q Plusรายละเอียด
1.คัดกรองประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนด้วยแบบประเมิน 2Q Plus โดย อสม.ที่ผ่านการอบรมอสม.เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต
2.สรุปผลการประเมิน และส่งต่อในรายที่มีภาวะเสี่ยง เพื่อประเมิน 9Q 8Q โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
- ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มคัดกรองภาวะซึมเศร้า จำนวน 2,340 ชุด เป็นเงิน 2,340 บาทงบประมาณ 2,340.00 บาท - 2. กิจกรรมเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซึมเศร้า และเสี่ยงฆ่าตัวตาย เพื่อติดตามประเมิน 9Q 8Q และส่งต่อในรายที่มีความเสี่ยงรายละเอียด
เจ้าหน้าที่เยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซึมเศร้า และเสี่ยงฆ่าตัวตาย
1.ลงเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงเพื่อประเมิน 9Q 8Q โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
2.สรุปผลการประเมินและวางแผนส่งต่อเพื่อพบแพทย์/ปรึกษาแพทย์ในรายที่มีความเสี่ยง
3.ให้ความรู้กับญาติ คนใกล้ตัว เรื่อง 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตายและสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้
ไม่มีค่าใช้จ่ายงบประมาณ 0.00 บาท - 3. เยี่ยมบ้าน เพื่อติดตามดูแลกลุ่มเสี่ยงที่ส่งต่อพบแพทย์รายละเอียด
1.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขลงเยี่ยมบ้าน ติดตามกลุ่มเสี่ยงที่ส่งต่อพบแพทย์ทุกเดือน
2.ให้คำแนะนำผู้ดูแล ในการดูแลกลุ่มเสี่ยง
ไม่มีค่าใช้จ่ายงบประมาณ 0.00 บาท - 4. เยี่ยมบ้าน ติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารายละเอียด
1.เจ้าหน้าที่ลงเยี่ยมบ้านติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อยู่ในระบบการรักษาให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องโดยมีแผนลงเยี่ยมทุกเดือน
2.ให้ความรู้ คำแนะนำกับญาติ/ ผู้ดูแล เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
ไม่มีค่าใช้จ่ายงบประมาณ 0.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
พื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน หมู่ที่ 1 . 2 , 4 , 5 , 6 , 9 , 10 , 11 , 13
รวมงบประมาณโครงการ 2,340.00 บาท
กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบข้อมูลสุขภาพจิตของตนเอง อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จลดลงไม่เกิน 8 ต่อแสนประชากร
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง รหัส กปท. L8415
อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง รหัส กปท. L8415
อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................