กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกัน แก้ไขปัญหาสาธารณสุขเบื้่องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคไข้เลือดออกดออกระบาด ตำบลนาโหนด ปี 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกัน แก้ไขปัญหาสาธารณสุขเบื้่องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคไข้เลือดออกดออกระบาด ตำบลนาโหนด ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

เทศบาลตำบลนาโหนด

ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ประชาชนในตำบลนาโหนด จำนวน 8491 คน
ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคไช้เลือดออกระบาด 402 คน
คิดเป็นร้อยละ 4.73

4.73

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย มักระบาดในช่วงหน้าฝนโดยมีพาหะของโรคคือยุงลาย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กวัยเรียนช่วงอายุ 10 - 14 ปี บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้
ในปี 2567 มีประชาชนในตำบลนาโหนด ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 27 ราย มีจำนวนผู้ได้รับผลกระทบจากภาวะการระบาดของโรค (รวมผู้ปวย)จำนวน 402 ราย (ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร/บ้านนาโหนด) จากจำนวนประชากรทั้งหมดในตำบล 8,491 คน คิดเป็นร้อยละ 4.73.ของประชาชนในตำบลนาโหนด
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคไข้เลือดออกดออกระบาดเทศบาลตำบลนาโหนด ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50 (3) การป้องกันและระงับโรคติดต่อ จึงได้จัดทำโครงการป้องกัน แก้ไขปัญหาสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคไข้เลือดออกดออกระบาด ตำบลนาโหนด ปี 2568ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด 402 คน
แก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออก ร้อยละ100

4.73 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 302
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/11/2024

กำหนดเสร็จ 30/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพ่นหมอกควันป้องกันกำจัดยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพ่นหมอกควันป้องกันกำจัดยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมพ่นหมอกควันป้องกันกำจัดยุงลาย ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
งบประมาณ
ค่าจ้างเหมาบุคคลภายนอกเพื่อทำการพ่นหมอกควัน ครั้งละ 200 บาท (ประมาณการพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคในรอบปี 27 แห่ง พ่นแห่งละ 2 ครั้ง) เป็นเงิน10,800 บาท
ค่ายาและน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องพ่นหมอกควัน เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤศจิกายน 2567 ถึง 30 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
พ่นหมอกควันในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค พื้นที่ละ 2 ครั้ง
ผลลัพธ์
ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อเกิดโรคซึ่งได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด ได้รับการแก้ไขปัญหาร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

จำนวนผู้ป่วยและผู้ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลนาโหนดลดลง


>