แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน รหัส กปท. L5307
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. นางอรุนา ตาเดอิน เบอร์โทรศัพท์ 089-9784233
2. นายวาศิล ใบสะเม๊าะ เบอร์โทรศัพท์ 089-8694469
3. นายฐปกร ไพมณี เบอร์โทรศัพท์ 090-9570992
4. นางสาวบิสมิลลา พันสกุล เบอร์โทรศัพท์ 095-0233147
5. นางยัสมี พันหวัง เบอร์โทรศัพท์ 081-7987409
การจมน้ำยังคงเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก จากข้อมูลองค์การอนามัยโลกพบว่าแต่ละปีทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำประมาณ 236,000 คน โดย 1 ใน 4 เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งในกลุ่มเด็กอายุ 5 - 15 ปี พบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ส่วนประเทศไทย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 2556 - 2565 มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ 36,403 คน เฉลี่ยปีละ 3,640 คน หรือวันละกว่า 10 คน ในจำนวนนี้ เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 6,992 คน สาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยคือ ขาดทักษะการเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือคนตกน้ำและจมน้ำที่ถูกต้อง และสืบเนื่องมาจากปัญหาเด็กว่ายน้ำไม่เป็นและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่นได้ ส่วนใหญ่เด็กจมน้ำเสียชีวิตมักจะเกิดเหตุในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนของทุกปี เพราะในพื้นที่ชนบทมักจะมีแหล่งน้ำมากมาย ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำจากธรรมชาติและแหล่งน้ำที่ขุดขึ้นใหม่ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาภัยแล้ง จึงต้องมีแหล่งน้ำเพื่อกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในหน้าแล้ง แต่อากาศร้อนจัดทำให้เด็กๆ ในชนบทมักจะอาศัยแหล่งน้ำต่าง ๆ เป็นที่คลายร้อน และเป็นที่เล่นสนุกสนานกัน จึงเป็นจุดเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์เด็กจมน้ำเสียชีวิตได้ และในพื้นที่ของตำบลบ้านควนส่วนใหญ่จะเป็นลำคลองที่เป็นแหล่งน้ำจากธรรมชาติและเป็นแหล่งน้ำลำคลองที่ขุดลอกขึ้นใหม่เพื่อใช้เป็นประโยชน์แก่ชุมชน และในพื้นที่ของจังหวัดสตูลรวมทั้งพื้นที่ในตำบลบ้านควนก็เคยมีเหตุการณ์ที่เด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ ทางโรงเรียนบ้านกาเนะได้เล็งเห็นและให้ความสำคัญกับปัญหาและเหตุการณ์ดังกล่าว และพื้นที่ในชุมชนของโรงเรียนบ้านกาเนะเมื่อสำรวจไปรอบ ๆ โดยรวมจะเห็นว่า พื้นที่และเส้นทางในชุมชนส่วนใหญ่จะเป็นเส้นทางที่ติดกับลำคลองชลประทาน ทางโรงเรียนบ้านกาเนะจึงได้จัดโครงการ “ว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำได้ปลอดภัย” ขึ้นเพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านกาเนะมีทักษะการว่ายน้ำที่สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้เมื่อเกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยกิจกรรมที่ 1. จะจัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 49 คน (โดยจะแบ่งเป็นนักเรียนผู้ชายจำนวน 23 คน และนักเรียนผู้หญิงจำนวน 26 คน) ในเรื่องของทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำ และกิจกรรมที่ 2. นำนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 49 คน (โดยจะแบ่งเป็นนักเรียนผู้ชายจำนวน 23 คน และนักเรียนผู้หญิงจำนวน 26 คน ไปฝึกกิจกรรมทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำ 2 วัน วันละ 1 ชุด) (คัดคนที่มีภาวะเสี่ยงที่ชอบลงเล่นน้ำ ตกปลา และบ้านอยู่ริมลำคลอง) ไปฝึกปฏิบัติทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำ เพื่อสร้างความปลอดภัยทางน้ำแก่นักเรียน รู้จักและสามารถเอาชีวิตรอดอีกทั้งยังสามารถช่วยชีวิตผู้ประสบเหตุทางน้ำได้ถูกต้องตามวิธีมาตรฐานสากล
-
1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในเรื่องของทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำ สามารถว่ายน้ำเป็นและสามารถช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำได้ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในเรื่องทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำ สามารถว่ายน้ำเป็นและสามารถช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำได้ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 90.00
-
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถเอาตัวรอดจากสถานการณ์ฉุกเฉินจากการจมน้ำได้ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ สามารถเอาตัวรอดจากสถานการณ์ฉุกเฉินจากการจมน้ำได้ขนาดปัญหา 40.00 เป้าหมาย 90.00
-
3. เพื่อลดภาวะที่ว่ายน้ำไม่ได้และมีโอกาสเสียชีวิตจากการจมน้ำเด็กวัยเรียน (อายุ 6 ปีขึ้นไป) ลงตัวชี้วัด : ร้อยละของเด็กวัยเรียน (อายุ 6 ปีขึ้นไป) ที่ว่ายน้ำไม่ได้และมีโอกาสเสียชีวิตจากการจมน้ำขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 10.00
- 1. อบรมให้ความรู้เรื่อง ทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำรายละเอียด
จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนในเรื่องของทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 49 คน เวลา 09.00 - 15.00 น.
วิทยากรโดย นายสมศักดิ์ เหร็บควนเคี่ยม ตำแหน่ง พนักงานครูสอน ปฏิบัติหน้าที่ประจำสระว่ายน้ำ กองการศึกษาสำนักงานเทศบาลเมืองสตูล
กำหนดการ สถานที่จัดกิจกรรม โรงเรียนบ้านกาเนะ ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
เวลา 08.00 น. - 08.30 น. - ลงทะเบียน
เวลา 08.30 น. - 09.00 น. - เปิดโครงการโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน
เวลา 09.00 น. - 12.00 น. - บรรยายความรู้ทฤษฎีเรื่องหลักการทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำและทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ
- ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการว่ายน้ำ
- การเรียนรู้จุดเสี่ยง
- หลักการขอความช่วยเหลือโดยการตะโกน โยน ยื่น
- หลักการฝึกหายใจในน้ำ
- หลักการฝึกการลอยตัวในน้ำโดยใช้อุปกรณ์
- หลักการฝึกการลอยตัวในน้ำโดยไม่ใช้อุปกรณ์ แบบคว่ำ, แบบหงาย, และแบบปลาดาว
เวลา 12.00 น. - 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 น. - 15.00 น. - บรรยายความรู้ทฤษฎีเรื่องหลักการทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำและทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ (ต่อ)
- หลักการฝึกการหมุนแขนท่าฟรีสไตร์
- หลักการฝึกการเตะขาท่าฟรีสไตร์
- หลักการฝึกการเตะขาท่ากรรเชียง
- หลักการฝึกการหมุนแขนท่ากรรเชียง
- หลักการฝึกการว่ายน้ำจากท่าลอยตัวเพื่อว่ายน้ำเข้าฝั่ง
*หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.15 น-10.30 น.และ เวลา 14.15 น.-14.30 น. รายละเอียดค่าใช้จ่าย
1. ค่าตอบแทนวิทยากร 5 ชั่วโมง/ชั่วโมงละ 600 บาท = 3,000 บาท
2. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2x3 เมตร = 6 ตารางเมตร ราคาตารางเมตรละ 150 บาท = 900 บาท
3. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมอบรมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งหมด 54 คน= 3,240 บาทงบประมาณ 7,140.00 บาท - 2. ฝึกทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำและการเอาตัวรอดจากการจมน้ำรายละเอียด
ฝึกทักษะพื้นฐานการว่ายน้ำ จำนวน 2 วัน เวลา 09.00 - 15.00 น. ณ สระว่ายน้ำเทศบาลตำบลฉลุง อ.เมือง จ.สตูล กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 49 คน
(โดยแบ่งเป็นชุดนักเรียนชาย จำนวน 23 คน และชุดนักเรียนหญิงจำนวน 26 คน โดยแยกการมาฝึกกิจกรรมทักษะการว่ายน้ำ วันละ 1 ชุด)กำหนดการ ฝึกทักษะพื้นฐานการว่ายน้ำ สถานที่จัดกิจกรรม ณ สระว่ายน้ำเทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
วันที่ 1 (ชุดนักเรียนชาย)
เวลา 08.30 น. - 09.00 น. - ลงทะเบียน
เวลา 09.00 น. - 12.00 น. - ฝึกปฏิบัติทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำและทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ
- ฝึกปฏิบัติการขอความช่วยเหลือโดยการตะโกน โยน ยื่น
- ฝึกปฏิบัติการหายใจในน้ำ
- ฝึกปฏิบัติการลอยตัวในน้ำโดยใช้อุปกรณ์ 1) แบบคว่ำ 2) แบบหงาย 3) แบบปลาดาว
- ฝึกปฏิบัติการลอยตัวในน้ำโดยไม่ใช้อุปกรณ์
เวลา 12.00 น. - 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 น. - 15.00 น. - ฝึกปฏิบัติการหมุนแขนท่าฟรีสไตร์ - ฝึกปฏิบัติการเตะขาท่าฟรีสไตร์
- ฝึกปฏิบัติการเตะขาท่ากรรเชียง
- ฝึกปฏิบัติการหมุนแขนท่ากรรเชียง
- ฝึกปฏิบัติการว่ายน้ำจากท่าลอยตัวเพื่อว่ายน้ำเข้าฝั่ง
- ฝึกปฏิบัติการว่ายน้ำไกลระยะทาง 25 เมตรวันที่ 2 (ชุดนักเรียนหญิง)
เวลา 08.30 น. - 09.00 น. - ลงทะเบียน
เวลา 09.00 น. - 12.00 น. - ฝึกปฏิบัติทักษะพื้นฐานของการว่ายน้ำและทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ
- ฝึกปฏิบัติการขอความช่วยเหลือโดยการตะโกน โยน ยื่น
- ฝึกปฏิบัติการหายใจในน้ำ
- ฝึกปฏิบัติการลอยตัวในน้ำโดยใช้อุปกรณ์ 1) แบบคว่ำ 2) แบบหงาย 3) แบบปลาดาว
- ฝึกปฏิบัติการลอยตัวในน้ำโดยไม่ใช้อุปกรณ์
เวลา 12.00 น. - 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 น. - 15.00 น. - ฝึกปฏิบัติการหมุนแขนท่าฟรีสไตร์
- ฝึกปฏิบัติการเตะขาท่าฟรีสไตร์
- ฝึกปฏิบัติการเตะขาท่ากรรเชียง
- ฝึกปฏิบัติการหมุนแขนท่ากรรเชียง
- ฝึกปฏิบัติการว่ายน้ำจากท่าลอยตัวเพื่อว่ายน้ำเข้าฝั่ง
- ฝึกปฏิบัติการว่ายน้ำไกลระยะทาง 25 เมตรรายละเอียดค่าใช้จ่าย
1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 วัน ๆ ละ 5 ชั่วโมง = 10 ชั่วโมง/ชั่วโมงะ 600 บาท = 6,000 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 60 บาท = 600 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ที่เกี่ยวข้อง 54 คน จำนวน 2 วัน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท = 6,480 บาท
4. ค่ารถสองแถว รับ-ส่ง นักเรียนไปสระว่ายน้ำเทศบาลตำบลฉลุง 2 วัน จำนวน 2 เที่ยว (ไป-กลับ) /ราคาเที่ยวละ 1,200 บาท = 2,400 บาท (เหมาทั้งวัน)
5. ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสระว่ายน้ำเทศบาลตำบลฉลุง ครั้งละ 1,000 = 1,000 บาท
6. ค่าใช้บริการสระว่ายน้ำ จำนวน 2 วันๆ ละ 1,000 บาท = 2,000 บาทงบประมาณ 18,480.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 6 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
โรงเรียนบ้านกาเนะ และสระว่ายน้ำเทศบาลตำบลฉลุง
รวมงบประมาณโครงการ 25,620.00 บาท
หมายเหตุ : สามารถถัวจ่ายกันได้ทุกรายการ
- นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกคนสามารถว่ายน้ำเป็นและสามารถช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำได้
- นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกคนสามารถเอาตัวรอดจากสถานการณ์ฉุกเฉินจากการจมน้ำได้
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน รหัส กปท. L5307
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน รหัส กปท. L5307
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................