2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
สถานการณ์โรคมะเร็งของไทย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ปี 2567 พบว่า หญิงไทยพบเป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุดรองลงมา คือมะเร็งปากมดลูก แสดงให้เห็นว่าโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเป็นภัยเงียบใกล้ตัวเนื่องจากในระยะแรกของการเป็นมะเร็งจะไม่แสดงอาการ ไม่เจ็บ ไม่ปวด จะปรากฏอาการผิดปกติให้เห็นเมื่ออยู่ในระยะที่มะเร็งมีการอักเสบและลุกลามไปทั่วแล้วซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมากโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกหรือระยะก่อนเป็นมะเร็งแต่ปัญหาสำคัญคือคนไทยร้อยละ 50 มักไปพบแพทย์ขณะที่โรคลุกลามแล้วซึ่งยากต่อการรักษาให้หายผู้ป่วยมักเสียชีวิตรวมทั้งเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำนวนมากดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอม จึงเห็นความสำคัญของการป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกโดยการตรวจคัดกรองค้นหามะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในสตรีเป้าหมายกลุ่มอายุ 30-70 ปีในพื้นที่ตำบลสะกอมมีสตรีกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในเกณฑ์ จำนวน 1,450 รายจากการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอมปี 2567 ได้ทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกรวม 254 ราย ผลการตรวจพบเชื้อ HPV ชนิด 16 หรือ 18จำนวน 6 รายพบเชื้อ HPV ในกลุ่ม High risk (HR) ชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่ชนิด 16 หรือ 18จำนวน 6 รายและไม่พบ Cell ที่ก่อมะเร็งปากมดลูกจำนวน 242 รายผู้ป่วยที่พบเชื้อขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการรักษาของโรงพยาบาลการตรวจคัดกรองมะเร้งเต้านม จำนวน 1,779 ราย พบมีอาการผิดปกติและได้รับการส่งต่อทำ Memograp แล้ว จำนวน 11 ราย ผลพบสิ่งผิดปกติที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม จำนวน 3 ราย ขณะนี้กำลังรักษา รพ.สงขลา มีนัดติดตามอาการเป็นระยะทุก 6 เดือนและพบสิ่งผิดปกติ แต่เสี่ยงน้อยที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ควรได้รับการตรวจติดตามทุกปีจำนวน 8 รายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอมได้เห็นถึงความสำคัญของการป้องกัน การค้นหาโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกจึงได้จัดทำโครงการสตรีไทยร่วมใจป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ประจำปี 2568 เพื่อส่งเสริมให้สตรีตำบลสะกอมมีความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และรู้จักทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองและสามารถพบเจอมะเร็งในระยะเริ่มต้นได้โดยเร็วที่สุด
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/05/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
ค้นหาผู้ป่วยและค้นพบผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้น