แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
รหัส กปท.
อำเภอ จังหวัด
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ภาวะโลหิตจางเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่ส่งผลให้การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง เกิดจากหลายสาเหตุทั้งความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ภาวะขาดสารอาหารและโรคติดเชื้อ โดยพบบ่อยที่สุดในหญิงตั้งครรภ์ สาเหตุสำคัญของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ คือ การขาดสารอาหารจากธาตุเหล็กและกรดโฟลิก (ชลธิชา ดานา, 2560) ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารก เช่น มารดาเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด ทารกเสี่ยงต่อคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม หญิงตั้งครรภ์ที่่มีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการตกเลือดในระหว่างคลอด และมีโอกาสติดเชื้อในระยะหลังคลอดสูง พัฒนาการไม่สมบูรณ์ และภาวะตายในครรภ์ ฯลฯ จากรายงานของงานอนามัยแม่และเด็ก พบว่าสาเหตุการตายของมารดา อันดับหนึ่ง คือ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ซึ่งปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศ แถบเอเชียใต้ พบได้มากสุดถึงร้อยละ 65 (WHO, 2019: Online) ในประเทศไทย ผลสำรวจภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ.2564 – 2566 พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น ในปี พ.ศ. 2565-2566 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 17.19 และ 11.54 ตามลำดับ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้มีการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย ให้ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็กและให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร การดูแลและการส่งเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ ทำให้ผลสำรวจภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ.2567 ลดลง เป็นร้อยละ 10.34 อย่างไรก็ตาม แผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2565-2569 กำหนดเป้าหมายให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กไม่เกินร้อยละ 10 ทั้งนี้จากผลการดำเนินงานแม่และเด็กปี 2567 ของ รพ.สต.สะกอม อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอดเท่ากับร้อยละ 25.64 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดแต่เนื่องจากภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารก การตกเลือดหลังคลอดและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาได้มีนโยบาย ลดแม่ตายโดยเน้นระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและหลังคลอดดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอม ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดจึงได้จัดทำโครงการ “ป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย” ขึ้น เพื่อให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยเด็กสุขภาพดีและมีพัฒนาการสมวัยโดยดึงพลังแกนนำของประชาชนโดย แกนนำสุขภาพบุคคลใกล้ชิด ให้มีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์
-
1. 1.เพื่อให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ลูกมีสุขภาวะที่สมบูรณ์แข็งแรง และมีพัฒนาการที่สมวัยตัวชี้วัด : 1.อัตราเด็กเกิดไร้ชีพเป็๋น 0 2.น้ำหนักทารกแรกคลอดไม่ตำ่กว่า 2,500 กรัมขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. 2.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเฝ้าระวังเมื่อมีภาวะเสี่ยงและได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงทีตัวชี้วัด : 1.หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางลดลง 2.หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 8 ครั้ง ตามเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 70 3.หญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการเฝ้าระวังส่งต่อสูติแพทย์ ร้อยละ 100ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
3. 3.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัว มีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพในระยะตั้งครรภ์ ระยะก่อนคลอด และระยะ หลังคลอดตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์และครอบครัว มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพ ในระยะตั้งครรภ์ ระยะก่อนคลอด และระยะ หลังคลอด ร้อยละ 90ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการรายละเอียด
1.1 จัดทําโครงการเพื่อขอนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตําบลสะกอม
1.2 ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำท้องถิ่น และแกนนำสุขภาพร่วมถึงผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องในเรื่่ององค์ความรู้ วัตถุประสงค์และหารือแนวทางการดำเนินงาน
1.3ร่วมกันประชุมวางแผน กําหนดเป้าหมายจํานวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดําเนินงานโครงการ
สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลหญิงตั้งครรภ์
กําหนดแนวทางการดําเนินงานแต่ละกิจกรรม
แบ่งบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบ
จัดทำสื่อต่างๆ และเตรียมอุปกรณ์
งบประมาณ 0.00 บาท - 2. จัดอบรมให้ความรู้ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อ-แม่รายละเอียด
กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อ-แม่ เฝ้าระวังภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ การรับประทานยาบำรุงการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์แก่หญิงตั้งครรภ์และสามี และแกนนำสุขภาพ
1.ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่ม ( สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน60คนและเจ้าหน่้าที่เกี่ยวข้องจำนวน10คน) จำนวน 70 ชุด ๆ ละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท
2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม( สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน60คนและเจ้าหน่้าที่เกี่ยวข้องจำนวนร10คน) และผู้ดำเนินการ จำนวน 70 ชุด ๆ ละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 4,200 บาท
3.ค่าเอกสารคู่มือประกอบการอบรมจำนวน 60 ชุด ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรมได้แก่ กระเป๋า สมุดบันทึก ปากกา จำนวน60 ชุด ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
5.ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2 X 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 432 บาท
กิจกรรมที่ 2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “รักนี้ ไม่มีวันจาง”ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ซีด (ความเข้มข้นของเลือด น้อยกว่า 33% และเสี่ยงซีด (ความเข้มข้นของเลือด 33 – 35.9 % )
โดยเชิญหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวที่สามารถแก้ไขภาวะโลหิตจางได้สำเร็จ มาเล่าเคล็ดลับดีๆในการดูแลตนเองให้พ้นจากภาวะเลือดจางและสรุปบทเรียนที่ได้มาเป็นแนวทางปฏิบัติในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และแสดงความยินดีกับหญิงตั้งครรภ์
1.โดยเชิญหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว ที่สามารถแก้ไขภาวะโลหิตจางได้สำเร็จมาเล่าเคล็ดลับดี ๆ ในการดูแลตนเองให้พ้นจางภาวะโลหิตจางและสรุปบทเรียนที่ได้มาเป็นแนวทางปฎิบัติในการดูแลหญิงตั้งครรภ์กิจกรรมที่ 3 สาธิตเมนูอาหารเสริมธาตุเหล็ก
1.เอกสาร คู่มือเมนูอาหาร เสริมธาตุเหล็ก สำหรับหญิงตั้งครรภ์จำนวน 60 ชุด ๆ ละ 20 บาท เป็น เงิน 1,200 บาทงบประมาณ 14,832.00 บาท - 3. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานรายละเอียด
ติดตามและสรุปผลสุขภาวะของหญิงตั้งครรภ์และรวบรวมข้อมูลหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมในแต่ละครั้ง
ประเมินผลความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม หลังสิ้นสุดโครงการ โดยใช้แบบสอบถามประเมินผลตามตัวชี้วัดของงานอนามัยแม่และเด็ก
งบประมาณ 0.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 15 มิถุนายน 2568 ถึง 30 สิงหาคม 2568
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอมอำเภอจะนะจังหวัดสงขลา
รวมงบประมาณโครงการ 14,832.00 บาท
หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้
1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ ได้แก่ ฝากครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และได้คลอดในโรงพยาบาล
หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลตลอดระยะของการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ
หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ได้รับการควบคุมและป้องกันแก้ไข ไม่ให้เกิดภาวะ ตกเลือดหลังคลอด และภาวะคลอดก่อนกำหนด
หญิงตั้งครรภ์มีความรูและตระหนักความสำคัญของการฝากครรภ์และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
รหัส กปท.
อำเภอ จังหวัด
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
รหัส กปท.
อำเภอ จังหวัด
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................