กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะกอม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กสะกอมฟันดี ยิ้มสดใส ในศพด. ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะกอม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอม

ศูนย์พัฒนาการเด็กเล็ก ในตำบลสะกอม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรกและอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี โดยประกอบด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุมาจากพฤติกรรมของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง ทั้งโครงสร้างของอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้มีผลต่อการดูแลรักษาฟัน และการดูแลทำความสะอาดช่องปากเด็กไม่ถูกวิธี จึงส่งผลให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาการของเด็ก การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออกจาก
ผลตรวจการฟันเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลสะกอม พบว่ามีฟันผุในน้ำนมผุจำนวนมาก ซึ่งสามารถอุดได้ แต่ยังไม่ได้รับการรักษาเนื่องจากต้องใช้วัสดุเฉพาะ และเด็กก่อนวันเรียนเข้าถึงการบริการทันตกรรมน้อย เนื่องจากผู้ปกครองยังไม่เห็นความสำคัญ และเพื่อสร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอมได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการเด็กสะกอมฟันดี ยิ้มสดใส ในศพด. ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อให้เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับบริการทางด้านทันตสุขภาพ และได้รับบริการที่เหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ตำบลสะกอม มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น และมีฟันผุจำนวนลดลง

เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ตำบลสะกอม มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น และมีฟันผุจำนวนลดลง

30.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 163
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมผู้ปกครอง วางแผน และตรวจสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
ประชุมผู้ปกครอง วางแผน และตรวจสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมผู้ปกครองทั้ง 4 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และตรวจสุขภาพช่องปาก

งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 179ชุด ๆ ละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,370 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2568 ถึง 30 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แผนดำเนินงาน และตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5370.00

กิจกรรมที่ 2 บริการอุดฟันโดยวิธีไร้ความเจ็บปวด (Smart technique)

ชื่อกิจกรรม
บริการอุดฟันโดยวิธีไร้ความเจ็บปวด (Smart technique)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอุดฟันโดยวิธีไร้ความเจ็บปวด

งบประมาณ

  1. ค่าวัสดุอุดฟันแบบสมาร์ทเทคนิค จำนวน 3 กล่องๆละ3,000บาท เป็นเงิน 9,000 บาท

  2. ค่าป้ายไวนิล ประชาสัมพันธ์โครงการจำนวน1 ป้ายๆละ432บาทเป็นเงิน432บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนที่มีฟันผุอุดได้ ได้รับบริการทันตกรรมอย่างทันท่วงที

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9432.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตาม และสรุปผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม และสรุปผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามตรวจสุขภาพช่องปากหลังจัดกิจกรรมการอุดฟัน 1 เดือน เพื่อตรวจสอบประสิทธิ์ภาพการอุดฟัน และสรุปผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 สิงหาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีฟันผุลดน้อยลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,802.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ตำบลสะกอม มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น และมีฟันผุจำนวนลดลง


>