กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการห่วงใยผู้ป่วยโรคเรื้อรังเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ ปีงบประมาณ 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการห่วงใยผู้ป่วยโรคเรื้อรังเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ

พื้นที่หมู่ที่ 1-4 และ 8 ตำบลดุซงญอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเรื้อรัง หมายถึงโรคที่รักษาไม่หาย การรักษาเป็นเพียงการพยุงไม่ให้มีการสูญเสียการทำงานของร่างกายมากขึ้น โรคเรื้อรังมีหลายประเภท เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจวายโรคไตวาย โรคข้อเสื่อม เป็นต้น อาจแบ่งออกได้เป็น3ประเภทดังนี้
ประเภทที่ 1 คือโรคที่ดำเนินไปอย่างช้า ๆ มีทางบำบัดรักษาให้หายได้ แต่ต้องใช้เวลานานหลายเดือนหรือเป็นปี เช่น วัณโรค โรคเรื้อน โรคเท้าช้าง เป็นต้น
ประเภทที่ 2 คือโรคที่ดำเนินไปอย่างช้า ๆ ชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่การรักษาแบบประคับประคองก็สามารถทำให้อาการของโรคทุเลา เช่น โรคเบาหวาน โรคสะเก็ดเงิน เป็นต้น
ประเภทที่ 3 คือโรคที่กลายหรือสืบเนื่องมาจากโรคเฉียบพลันที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เช่น โรคอัมพฤกษ์ที่เกิดจากอุบัติเหตุ เมื่อไขสันหลังถูกกดทับแต่ไม่ถึงกับฉีกขาด หากรักษาทันท่วงทีก็หายได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะเป็นโรคอัมพฤกษ์ตลอดไป
โรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่ออันเป็นผลมาจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และพฤติกรรมการดําเนินชีวิตที่ผ่านมาส่งผลให้ประสบปัญหาโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ทําให้เกิดอาการเจ็บป่วย ต้องสูญเสียงบประมาณในการรักษาพยาบาลเป็นจํานวนมากจากสถานการณ์ของโรค พบว่าสาเหตุการตายส่วนใหญ่ ร้อยละ 60เกิดจากโรคเรื้อรัง เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ มะเร็ง ปีละ 97,000 คน ขณะที่คนไทยต้องกินยาสูงปีละ47,000ล้านเม็ด สาเหตุหลักของโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ ร้อยละ 90เกิดจากพฤติกรรม อาทิกินอาหารไม่เหมาะสม ขาดการออกกําลังกาย น้ำหนักตัวเกิน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้ากินอาหารไม่เหมาะสม เช่น หวาน มัน เค็ม (ผลการวิจัยจากกรมอนามัย ปี 2565) ศูนย์บริการสาธารณสุขเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิที่เน้นการสร้างเสริม ป้องกันการเกิดโรคลดพฤติกรรมเสี่ยง ในกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป โดยการให้ความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนักในการเว้นปัจจัยเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ความเครียด อาหารเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้เรื่องการดูแลตนเอง การใช้ยาถูกต้อง ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถูกต้อง
ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน (DM) และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ
โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวมในโรงพยาบาล
ในโรงพยาบาลส่งแสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ [ มีการให้บริการคลินิกผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกเดือน ซึ่งปีที่ผ่านมามีจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด 120 คน แบ่งเป็น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง70 คน โรคเบาหวาน30 คน โรคความดันโลหิตสูงร่วมกับเบาหวาน 20 คน ที่มารับบริการในคลินิกผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (PCU) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้เรื่องการดูแลตนเอง การใช้ยาที่ถูกต้อง ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วย และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถูกต้อง

จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งแสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ มีความรู้เรื่องการดูแลตนเอง การใช้ยาที่ถูกต้อง ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วย และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถูกต้องมากขึ้น โรงพยาบาลส่งแสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ จึงได้เล็งเห็นในการดำเนินโครงการให้ต่อเนื่อง จึงจัดทำโครงการห่วงใยผู้ป่วยโรคเรื้อรังเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลดุซงญอ งบประมาณพ.ศ.2568 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง อัตราการตายลดลง

ลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังและลดอัตราตาย

0.00 0.10
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้เรื่องโรค การดูแลตนเองและการใช้ยาอย่างถูกต้อง

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องการดูแลตนเอง

80.00
3 เพื่อตรวจสุขภาพและติดตามอาการของผู้ป่วยเรื้อรังในพื้นที่

ผู้ป่วยได้ตรวจสุขภาพและติดตามอาการ

40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 150
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่1 จัดอบรมและสาธิต

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่1 จัดอบรมและสาธิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดประชุมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเรื้อรัง การดูแลตนเอง การใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 2.สาธิตการดูแลตนเองและการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องการดูแลตนเองร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ตรวจสุขภาพและติดตามอาการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ตรวจสุขภาพและติดตามอาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ตรวจสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังเดือนละ 1ครั้ง
  • คลินิกDPAC สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้
  • ติดตามพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเดือนละ 1ครั้งหลังจากที่ได้มาตรวจสุขภาพ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ ๆละ 25 บาท X 150 คน X 12 ครั้ง เป็นเงิน 45,000 บ. 2.ค่าป้ายไวนิลขนาด 1*2 เมตร ๆละ 350 บาท เป็นเงิน 700 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังและลดอัตราตาย ร้อยละ 0.1
  • ผู้ป่วยได้ตรวจสุขภาพและติดตามอาการจำนวน 40 ครั้ง/คน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วย และส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้เรื่องโรคการดูแลตนเองและการใช้ยาอย่างถูกต้อง


>