กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพดีวิถีใหม่ ลดเสี่ยง ลดโรค เขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านควนหมอทอง ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทอง

1.น.ส.สุวรรณี หมัดเส็น อสม. ม.4 รพ.สต.บ้านควนหมอทอง
2.นางโสมวารี แกล้วทนงค์ อสม.ม.4 รพ.สต.บ้านควนหมอทอง
3.นางกิ้มพงค์ สัตบุตร เลขานุการอสม.รพ.สต.บ้านควนหมอทอง
4.นางจันทร์จิรา เหมือนทองเกื้อ ปราธาน อสม.ม.7 รพ.สต.บ้านควนหมอทอง
5.นายจรูญ รามรักษ์ ประธาน อสม.รพ.สต.บ้านควนหมอทอง

เขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านควนหมอทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การส่งเสริมสุขภาพเป็นมิติหนึ่งทางสุขภาพที่มีความสำคัญมากที่จะช่วยให้การดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุข การส่งเสริมสุขภาพจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและวิธีการปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ในสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างอาหารที่รับประทานและการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม ประชาชนในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทองส่วนใหญ่มักบริโภคผักและผลไม้น้อย แต่บริโภคน้ำตาลและไขมันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่การออกกำลังกายลดลง โดยเฉพาะในกลุ่ม 15 ปีขึ้นไป (โดยเฉพาะแกนนำสุขภาพ , กลุ่มเสี่ยง อสม.) เมื่อมีการออกกำลังกายน้อยลง จะทำให้ร่างกายอ่อนแอและอาจเกิดโรคไม่ติดต่อตามมา ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง,โรคเบาหวาน,โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด,โรคหัวใจและโรคอ้วนลงพุง ซึ่งผู้ป่วยโรคดังกล่าวมักพบอยู่ในกลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุ จากการสอบถามพบว่า ผู้ป่วยขาดการออกกำลังกายและบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง จึงก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ดังนั้นถ้าประชาชนได้บริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ และมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็สามารถช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้ โดยเฉพาะแกนนำสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทอง หากมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค ได้อย่างถูกต้อง ก็จะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชนในชุมชนให้ปฏิบัติตามต่อไป ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทอง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพดีวิถีใหม่ ลดเสี่ยง ลดโรค ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทองและประชาชนในเขตรับผิดชอบตระหนักและเห็นความสำคญของการเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกาย โดยเน้น 3อ คือ อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดกลุ่มรักสุขภาพในชุมชน

เกิดกลุ่มรักสุขภาพในชุมชน อย่างน้อย 1 กลุ่ม

0.00 1.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพที่ดี

กลุ่มเป้าหมายอย่างน้อยร้อยละ 90 มีความรู้ความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพที่ดี

50.00 90.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดี

กลุ่มเป้าหมายอย่างน้อยร้อยละ 60 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดี

40.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านค
แกนนำสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทอ 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 23/04/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำโครงการเสนอกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพตำบลโคกม่วง
2.ประชุมคณะทำงาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการ
3.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิทยากร
4.ประชาสัมพันธ์โครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 15 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพที่ดี

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพที่ดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมการออกกำลังกาย ลดพุง ลดโรค เพื่อสุขภาพที่ดี (กลุ่มเป้าหมาย คือ แกนนำสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทอง จำนวน 80 คน) จำนวน 1 วัน ดังนี้
กำหนดการ
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 - 09.00 น. ประเมินสุขภาพเบื้องต้น โดยวัดรอบเอว วัดความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลในเลือด ครั้งที่ 1
09.00 - 09.30 น. ทดสอบความรู้ก่อนการอบรม
09.30 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้ เรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพที่ดี
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. อบรมให้ความรู้ เรื่อง การออกกำลังกาย และฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย
16.00 - 16.30 น. ทดสอบความรู้หลังอบรม/ตอบข้อซักถาม/ประกาศรายชื่อผู้ได้คะแนนทดสอบสูงสุด
*10.30 - 10.40 น. และ 15.00 - 15.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง
ค่าใช้จ่าย ดังนี้
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 84 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 84 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
-ค่าเอกสารให้ความรู้และแบบทดสอบความรู้ สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 80 ชุดๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ เช่น ดินสอ กระดาษ A4 เป็นต้น สำหรับกลุ่มเป้าหมาย เป็นเงิน 300 บาท
-ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน (5 ชั่วโมงๆละ 300 บาท) เป็นเงิน 1,500 บาท
-ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 ตรม. จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 600 บาท
*ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12400.00

กิจกรรมที่ 3 การติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
การติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ตรวจติดตามสุขภาพ โดยประเมินสุขภาพเบื้องต้น โดยวัดรอบเอว วัดความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลในเลือด ครั้งที่ 2 (ห่างจากครั้งครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน)
-ติดตามการออกกำลังกายของกลุ่มรักสุขภาพในชุมชนทุก 3 เดือน (มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 30 นาที)
-สรุปผลการติดตาม / สรุปผลโครงการ ค่าใช้จ่าย ดังนี้
-ค่าจัดทำรายงานผลโครงการ จำนวน 1 เล่ม เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,600.00 บาท

หมายเหตุ :
*ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้*

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มรักสุขภาพในชุมชนมีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี
2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพที่ดี และสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม


>