กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข รพ.สต.น้ำขาว ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

ชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.น้ำขาว

1. นางสมฉลวยศรีมณี
2. นางดำรัสนิ่มละออง
3. น.ส.จินดาคงทอง
4. นางอาภรณ์ปิยะรัตน์
5. นางวนิดาอุปมล

หมู่ที่ 1 , 3 , 5 , 6, 9 และ 10ตำบลน้ำขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

21.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

 

54.57
3 ร้อยละของผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกกลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุ

 

72.84
4 จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)

 

8.00
5 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)

 

21.00
6 ร้อยละผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ

 

78.60

ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่จะเกิดจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญคือความเจ็บป่วยและความบกพร่องในการทำงานของร่างกายในทุก ๆ ด้าน รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับสภาพจิตใจ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายจ่ายมหาศาลของประเทศ ดังนั้นเพื่อป้องกันและรับมือแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนในการป้องกันการเจ็บป่วย การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและการเตรียมความพร้อมของผู้สูงวัยเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีศักยภาพและมีสุขภาวะที่ดี การดูแลและการรองรับสังคมผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสถานการณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หากไม่มีการเตรียมการรองรับหรือการวางแผนที่ดี จะนำมาสู่การเกิดปัญหาหรือวิกฤติในการดูแลผู้สูงอายุ
สำหรับในพื้นที่บริการของ รพ.สต.น้ำขาวมีผู้สูงอายุ จำนวน 416 คน คิดเป็นร้อยละ 26.91 ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากการประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ พบผู้สูงอายุติดบ้านจำนวน 16 คน และติดเตียง จำนวน 5 คน , มีผู้สูงอายุอยู่เพียงลำพัง จำนวน 29 คน , ผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จำนวน 227 คนคิดเป็นร้อยละ 54.57 ของผู้สูงอายุทั้งหมดชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.น้ำขาวจึงได้จัดทำ “โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุขปี 2568เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพดี และมีสุขภาวะ ได้รับการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม สามารถดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นโรคเรื้อรังหรือ ลดการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิง มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งในชุมชน และสังคมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพ

ผู้่สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ ร้อยละ 85

78.60 85.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุ
  1. ผู้สูงอายุเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุ ร้อยละ 75
72.84 75.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 416
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 31/12/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การให้ความรู้เรื่องป้องกันการพลัดตก หกล้ม และการฟื้นฟูสภาพ

ชื่อกิจกรรม
การให้ความรู้เรื่องป้องกันการพลัดตก หกล้ม และการฟื้นฟูสภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การให้ความรู้เรื่องการป้องกันการพลัดตก หกล้ม และการฟื้นฟูสภาพ แก่ผู้สูงอายุหรือผู้ดูแล
    1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 40 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
    2. ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาทจำนวน 3 ชั่วโมงเป็นเงิน 1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจปัญหาและการป้องกันการพลัดตก หกล้ม
  2. ไม่พบปัญหาการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

กิจกรรมที่ 2 การรณรงค์ตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
การรณรงค์ตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่และทีมตรวจคัดกรองสุขภาพ จำนวน 6 มื้อ x 15 คน x 25 บาท เป็นเงิน 2,250.00 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน สำหรับทีมตรวจคักรองสุขภาพ จำนวน 3 มื้อ x 15 คน x 50 บาท เป็นเงิย 2,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 85 ของผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 3 การส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า

ชื่อกิจกรรม
การส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าผ้าขาวม้า จำนวน 40 ผืน ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2000.00 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1000
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้สามารถนำการออกกำลังด้วยผ้าขาวม้าไปใช้ได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข และ การร่วมทำบุญทางศาสนา
    1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 200 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 5000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
18 ธันวาคม 2568 ถึง 23 ธันวาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีบุคคลต้นแบบผู้สูงอายุสุขภาพดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 5 สูงวัย กินหรอย สุขภาพดี ชีวีมีสุข

ชื่อกิจกรรม
สูงวัย กินหรอย สุขภาพดี ชีวีมีสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ให้ความรู้ปัญหาสุขภาพช่องปากและการดูแลสุขภาพช่องปาก , ทักษาะการแปรงฟันที่ถูกวิธี , การเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้อง แก่แกนนำผู้สูงอายุ
    1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
    2. ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมงเป็นเงิน 1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 31 ตุลาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และสามารถนำความรู้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. คณะทำงานรวบรวม สรุปและวิเคาระห์ผลการดำเนินงานตามโครงการ
  2. จัดทำรายงานผลโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 ธันวาคม 2568 ถึง 31 ธันวาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,100.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนามัยที่พึงประสงค์ สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม
2. ผู้สูงอายุเข้าร่วมกลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง


>