2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่จะเกิดจากากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยในวัยสูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เสื่อมลง ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม นำมาซึ่งภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ เป็นโรคเรื้อรัง เป็นภาวะพึ่งพิง ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย เป็นภาระแก่ผู้เลี้ยงดู สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุไม่มีความสุข ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องส่งเสริมสุขภาพหลายๆด้าน เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลตนเองการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพแก้ไขปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุด้วยแนวคิดไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย หรือ 4 SAMRTได้แก่ 1. Smart Walk ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อร่างกายที่แข็งแรง ไม่หกล้ม โดยผู้สูงอายุออกกำลังอายอย่างน้อย สัปดาห์ละ 5 วัน ๆ ละ 30 นาที 2.) Smart Brain&Emotional ดูแลฝึกทักษะสมอง ส่งเสริมสุขภาพจิตและอารมณ์ โดยการเข้าร่วมกิจกรรมในชมชรมผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุ รณรงค์ส่งเสริมพฤติการไม่สูบบุหรี่ 3.) Smart Sleep คือ นอนหลับอย่างเพียงพออย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง และ 4.) Smart Eat กินอาหารตามหลักโภชนาการ ครบ 5 หมู่ ลดหวาน มัน เค็ม เน้นผัก ผลไม้ เลือกอาหารที่โปรตีนคุณภาพสูง เช่น ปลาทะเล ซึ่งมีโอเมก้า 3 สูง ช่วยบำรุงประสาท สายตา และสมอง ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดี เพื่อความสามารถในการบดเคี้ยวอาหาร มีฟันใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ 4 คู่สบ ตลอดจนการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ความรอบรู้สำหรับประชาชน
ผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลกะลุวออำเภอเมืองนราธิวาสจังหวัดนราธิวาสในปี 2568 ทั้งหมด 1,200 คนซึ่งคิดเป็นร้อยละ 10ของจำนวนประชากรในพื้นที่ตำบลกะลุวอองค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอจึงเล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพตามแนวคิดผู้สูงอายุไม่ล้ม ไม่ลืมไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย เพื่อป้องกันโรคในผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดีให้มีสุขภาพแข็งแรง ยืดเวลาที่จะเกิดการเจ็บป่วยเรื้อรังหรือการเข้าสู่ภาวะทุพลภาพออกไปจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพใจ ให้แก่ผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ2568 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพใจของตนเองที่ถูกต้อง ตลอดถึงสามารถถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมได้ด้วยซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีขึ้น สามารถดำเนินชีวิตในบั้นปลายชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ มีความสุขตลอดไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/02/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพใจ
2. ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นได้
3. ผู้สูงอายุสามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและจิตใจ