2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
1.ร้อยละความรู้ของบุคลากรและประชาชนเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2.จำนวนเครือข่ายบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกและรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เทศบาลเมืองพัทลุง
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นผลที่มีความเชื่อมโยงมาจากการปล่อยมลพิษสิ่งแวดล้อมและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนทั้งในแง่ของการเกิดพิบัติภัยจากสภาพอากาศที่รุนแรงโดยตรงและภัยพิบัติอื่นๆ ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ประชาคมโลกได้ทุ่มเทความพยายามอย่างมากในการแก้ไข แต่ก็ยังไม่สามารถลดทอนความรุนแรงและผลกระทบได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น การสรา้งความตระหนักในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่ระดับบุคคล ชุมชน ไปจนถึงระดับเมือง ให้มีความเข้าใจ มีการรับรู้ และมีพฤติกรรม การตอบสนองต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะนำไปสู่การออกแบบมาตรการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างยั่งยืน การดำเนินงานหลายภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดพัทลุง มีความพยายามที่จะขับเคลื่อนแนวทางการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิเช่น จังหวัดพัทลุง มีการจัดตั้งคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัดขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 เทศบาลเมืองพัทลุง มีการจัดทำบัญชีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาโดยตลอดระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 - 2567 เป็นต้น แต่ทว่า เทศบาลเมืองพัทลุง ยังมิได้ขยายผลและพัฒนาความรู้ไปสู่ระดับเมืองอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกของเมือง รวมถึงการพัฒนารู้เกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับประชาชนและชุมชนในพื้นที่ ถือเป็นก้าวสำคัญในการรับมือกับปัญหาดังกล่าวฯ เทศบาลเมืองพัทลุง จึงได้จัด "โครงการพัฒนาความรู้การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เทศบาลเมืองพัทลุง ปีงบประมาณ 2568" ขึ้นเพื่อพัฒนาความรู้และสร้างเครือข่ายบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกและรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เทศบาลเมืองพัทลุง ต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 03/02/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
**ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. สามารถพัฒนาความรู้ให้กับบุคลากรเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2. สามารถพัฒนาความรู้ให้กับประชาชนเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
3. สามารถสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกและรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เทศบาลเมืองพัทลุง