กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้รถใช้ถนน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

หมู่ที่ 1 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนมีพฤติกรรมสวมหมวกนิรภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์

 

65.00
2 ร้อยละของประชาชนมีพฤติกรรมสวมคาดเข็มขัดนิรภัยในการขับขี่รถยนต์

 

70.00
3 จำนวนของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนของประชาชน (ครั้ง)

 

40.00
4 ร้อยละของประชาชนมีความรู้และทักษะในการขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนและทางเท้า

 

65.00

ปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดจากการจราจรทางถนนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างและปัญหาเชิงระบบที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ซ้ำๆ อ้างอิงจากศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน (Thai RSC) (ข้อมูล ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2667 เวลา 09.00 น. ) พบว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสะสม ปี 2567 จำนวน 11,336 ราย บาดเจ็บ 693,370 ราย รวมทั้งสิ้น 696,818 ราย โดยในปี พ.ศ.2567 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 - วันที่ 29 ตุลาคม 2567 พื้นที่ตำบลนาหว้าเกิดอุบัติเหตุทางถนน จำนวน 10 เหตุการณ์ โดยเกิดจากความประมาทการไม่สวมหมวกนิรภัย และมีพฤติกรรมขับรถเร็ว เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า เห็นความสำคัญในการเน้นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบาย แผนงาน และยุทธศาสตร์ระดับชาติด้านการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนโดยดำเนินการในเรื่องของปัจจัยเสี่ยง 3 ประเด็น ได้แก่ การสวมหมวกนิรภัย การเมาแล้วขับ การขับรถเร็วและการใช้เข็มขัดนิรภัยโดยการให้ความรู้และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ ได้แก่ เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมสวมหมวกนิรภัย มีความรู้ทักษะในการขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนที่ถูกต้อง และลดอุบัติเหตุทางถนน ลดการเกิดโรคที่เกิดจากการประสบอุบัติเหตุทางถนน และลดความสูญเสียทางร่างกายและทรัพย์สินต่อไปองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ใกล้ชิดประชาชน มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 มาตรา 66 การพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม มาตรา 68(5) การจัดให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการการสหกรณ์ และมาตรา 67(3) การป้องกันและระงับโรคติดต่อ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้รถใช้ถนน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมสวมหมวกนิรภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น

ร้อยละของประชาชนมีพฤติกรรมสวมหมวกนิรภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น

65.00 85.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนเพิ่มขึ้น

ร้อยละของประชาชนมีความรู้และทักษะในการขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนเพิ่มขึ้น

70.00 80.00
3 เพื่อให้จำนวนของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนของประชาชนลดลง (ครั้ง)

จำนวนของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนของประชาชนลดลง (ครั้ง)

40.00 15.00
4 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนและทางเท้าเพิ่มขึ้น

ร้อยละของประชาชนมีความรู้และทักษะในการขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนและทางเท้าเพิ่มขึ้น

65.00 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน 150
กลุ่มผู้สูงอายุ 70
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/12/2024

กำหนดเสร็จ 30/04/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การจัดทำข้อตกลง มาตรการชุมชนและหน่วยงานเพื่อการลดอุบัติเหตุ

ชื่อกิจกรรม
การจัดทำข้อตกลง มาตรการชุมชนและหน่วยงานเพื่อการลดอุบัติเหตุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 การจัดทำข้อตกลง มาตรการชุมชนและหน่วยงานเพื่อการลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่

  1. การจัดทำข้อตกลง มาตรการชุมชนและหน่วยงานเพื่อการลดอุบัติเหตุ

  2. จัดทำกติการชุมชนว่าด้วยการขับขี่ปลอดภัยหรือลดอุบัติเหตุทางถนนของหมู่บ้านหรือหน่วยงาน

  • ไม่มีค่าใช้จ่าย

1.2 การจัดทำข้อตกลง มาตรการชุมชนและหน่วยงานเพื่อการลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์

  1. การจัดทำข้อตกลง มาตรการชุมชนและหน่วยงานเพื่อการลดอุบัติเหตุ

  2. จัดทำกติการชุมชนว่าด้วยการขับขี่ปลอดภัยหรือลดอุบัติเหตุทางถนนของหมู่บ้านหรือหน่วยงาน

  • ไม่มีค่าใช้จ่าย
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ธันวาคม 2567 ถึง 9 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ข้อตกลงและมาตรการชุมชนร่วมกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลดอุบัติเหตุทางถนน

ชื่อกิจกรรม
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลดอุบัติเหตุทางถนน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่

  1. เกิดคณะทำงานชุมชนเพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน

  2. ร่วมการลงแรงเพื่อปรับปรุงจุดเสี่ยง เช่น ตัดต้นไม้หรือถากถางจุดอันก่อให้เกิดอุบัติเหตุ

ค่าใช้จ่าย

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 750 บาท

2.2 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์

  1. เกิดคณะทำงานชุมชนเพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน

  2. ร่วมการลงแรงเพื่อปรับปรุงจุดเสี่ยง เช่น ตัดต้นไม้หรือถากถางจุดอันก่อให้เกิดอุบัติเหตุ

ค่าใช้จ่าย

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 ธันวาคม 2567 ถึง 11 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีทัศนียภาพที่สวยงาม ผู้ใช้รถใช้ถนนมีความปลอดภัยมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 3 การรณรงค์ให้ความรู้การขับขี่รถปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
การรณรงค์ให้ความรู้การขับขี่รถปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 การรณรงค์ให้ความรู้การขับขี่รถปลอดภัยช่วงเทศกาลปีใหม่

  • รณรงค์ให้เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เพื่อลดอุบัติเหตุ ป้องกันโรคในพื้นที่

ค่าใช้จ่าย

  • ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิลรณรงค์อุบัติเหตุ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท จำนวน 3 ป้าย รวมเป็นเงิน 1,296 บาท

  • ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิลกิจกรรมตามโครงการ ขนาด 1 x 2เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท จำนวน 1 ป้าย รวมเป็นเงิน 300 บาท

3.2 การรณรงค์ให้ความรู้การขับขี่รถปลอดภัยช่วงเทศกาลสงกรานต์

  • รณรงค์ให้เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เพื่อลดอุบัติเหตุ ป้องกันโรคในพื้นที่

ค่าใช้จ่าย

  • ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิลรณรงค์อุบัติเหตุ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท จำนวน 3 ป้าย รวมเป็นเงิน 1,296 บาท

  • ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิลกิจกรรมตามโครงการ ขนาด 1 x 2 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท จำนวน 1 ป้าย รวมเป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 ธันวาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการลดอุบัติเหตุและป้องกันโรคในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3192.00

กิจกรรมที่ 4 ตั้งด่านชุมชนสกัดลดความเสี่ยงจาการเกิดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่

ชื่อกิจกรรม
ตั้งด่านชุมชนสกัดลดความเสี่ยงจาการเกิดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 ตั้งด่านชุมชนสกัดลดความเสี่ยงจาการเกิดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่

ตั้งด่านชุมชน ณ พื้นที่ตำบลนาหว้า โดยการสุ่มตรวจการสวมหมวกกันน็อค และคาดเข็มขัดนิรภัย เพื่อป้องกันและลดการสูญเสียจากปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อันนำไปสู่การเกิดโรคตามมาได้ โดยบูรณาการร่วมกับกำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน, ส.อบต., อสม., ผู้บริหารท้องถิ่น และ เจ้าหน้าที่ อบต. เป็นต้น

ค่าใช้จ่าย

  • ค่าใช้จ่ายในการตกแต่งและจัดสถานที่ เช่น ค่าติดตั้งเต็นท์ โต๊ะเก้าอี้ เครื่องเสียง ฯลฯ รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 7 วันๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 13 คนๆ ละ 70 บาท รวมเป็นเงิน 6,370 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 7 วันๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 13 คนๆ ละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 5,460 บาท

4.2 ตั้งด่านชุมชนสกัดลดความเสี่ยงจาการเกิดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์

ตั้งด่านชุมชน ณ พื้นที่ตำบลนาหว้า โดยการสุ่มตรวจการสวมหมวกกันน็อค และคาดเข็มขัดนิรภัย เพื่อป้องกันและลดการสูญเสียจากปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อันนำไปสู่การเกิดโรคตามมาได้ โดยบูรณาการร่วมกับกำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน, ส.อบต., อสม., ผู้บริหารท้องถิ่น และ เจ้าหน้าที่ อบต. เป็นต้น

ค่าใช้จ่าย

  • ค่าใช้จ่ายในการตกแต่งและจัดสถานที่ เช่น ค่าติดตั้งเต็นท์ โต๊ะเก้าอี้ เครื่องเสียง ฯลฯ รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 7 วันๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 13 คนๆ ละ 70 บาท รวมเป็นเงิน 6,370 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 7 วันๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 13 คนๆ ละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 5,460 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 ธันวาคม 2567 ถึง 17 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีด่านชุมชน ประจำตำบลนาหว้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25660.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผลการดำเนินโครงการ

  • ไม่มีค่าใช้จ่าย
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,352.00 บาท

หมายเหตุ :
ทั้งนี้ขอถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัย
2. ประชาชนมีความรู้ ทักษะในการขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนที่ถูกต้อง
3. ลดความสูญเสียทางร่างกายและทรัพย์สิน
4. ลดจำนวนผู้ป่วยจากโรคที่เกิดจากอุบัติเหตุทางถนน


>