กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง รหัส กปท. L7572

อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการรักอย่างปลอดภัยเชิงรุกโรงพยาบาลพัทลุง ปีงบประมาณ 2568
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลพัทลุง
กลุ่มคน
กลุ่มงานเวชกรรมสังคม 074-609500 ต่อ7653
3.
หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในเด็กวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับอดีต สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากพัฒนาการทางร่างกายและทางเพศที่เร็วขึ้นร่วมกับความอยากรู้อยากเห็น และอยากทดลอง ส่งผลให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย นอกจากนี้การขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคุมกำเนิด และการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นำมาซึ่งปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น การแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นส่วนใหญ่ลงเอยด้วยการทำแท้งเถื่อน ซึ่งมักไม่ปลอดภัย และหากทำแท้งเมื่ออายุครรภ์ค่อนข้างมากแล้ว มักพบภาวะแทรกซ้อนได้สูง วัยรุ่นหญิงไม่มีความพร้อมสำหรับการปรับตัวต่อการเป็นแม่ และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทำให้ไม่มีการแต่งงาน หรือมีการหย่าร้างสูง อาจต้องออกจากการเรียน กลายเป็นคนด้อยการศึกษา สุดท้ายบุตรที่เกิดมาจากวัยรุ่นนี้ต้องเผชิญปัญหาเช่นเดียวกัน ปัญหาลูกโซ่นี้ทำให้เกิดอัตราการว่างงาน รวมทั้งการเกิดปัญหาอาชญากรรมเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมตามมามากมาย
จากสถานการณ์ข้อมูลการให้บริการของโรงพยาบาลพัทลุง ตั้งแต่ปี 2566-2567 พบอัตราการคลอดมีชีพของแม่วัยรุ่นอายุ 15-19 ปี เท่ากับ 28.35 และ24.29 ต่อพันประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี(เป้าหมายไม่เกิน21ต่อหญิงอายุ 15-19ปี 1,000คน) โดยที่ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ทีมคณะทำงานวัยรุ่น ซึ่งประกอบด้วย บุคลากรจากกลุ่มงานเวชกรรมสังคม คลินิกฝากครรภ์ ห้องคลอด กลุ่มงานจิตเวช กลุ่มงานสุขศึกษา ได้จัดหลักสูตร “รักอย่างปลอดภัยในโรงเรียน” เพื่อรณรงค์ป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรโดยต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ 2558 ปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นได้รับการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา เป็นลำดับที่ 3 ของอำเภอเมืองพัทลุง เนื่องจากเป็นวัยรุ่นเสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม นอกจากนี้ยังพบปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการทำแท้ง จึงต้องพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โดยจัดตั้งศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น “Love Young Club คลับวัยรุ่น” เพื่อให้บริการสุขภาพ อาทิเช่น ให้คำปรึกษา ให้ความรู้ และให้บริการป้องกันการตั้งครรภ์ ด้านโครงสร้างผู้รับผิดชอบ ได้จัดตั้งคณะกรรมการศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น“Love Young Club คลับวัยรุ่น”ประกอบด้วยบุคลากรจากกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาลและเครือข่ายบริการสุขภาพ มีภาคีเครือข่าย และสถานศึกษาในพื้นที่อำเภอเมืองพัทลุงร่วมด้วย มีการจัดตั้งเวปเพจ Facebook ชื่อ “Loveyoungclub” และมีเบอร์โทรศัพท์ให้วัยรุ่นได้ปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่สรุปปัญหาการดำเนินงานในช่วง 1 เดือนหลังการเปิดศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นพบว่า วัยรุ่นเข้าไปใช้บริการน้อย ไม่เข้าใจถึงบริการสุขภาพที่จัดให้ นอกจากนี้ยังพบปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นโครงการรักอย่างปลอดภัย จึงเป็นกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตในวัยรุ่นและป้องกันปัญหา วัยรุ่นการตั้งครรภ์ไม่พร้อม รวมทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์อีกด้วย

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ และทัศนคติในการป้องกันและควบคุมปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
    ตัวชี้วัด : นักเรียนชั้น ม.1มีความรู้ และทัศนคติในการป้องกันและควบคุมปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร มากกว่าร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 80.00 เป้าหมาย 85.00
  • 2. 2. ร้อยละของการตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุ 15- 19 ปี ไม่เกิน 21 ต่อ1,000 ของประชากรหญิง ในพื้นที่อำเภอ เมืองพัทลุง
    ตัวชี้วัด : อัตราการตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุ 15-19 ปีน้อยกว่า21ต่อ1000ประชากร
    ขนาดปัญหา 21.00 เป้าหมาย 21.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. 1. ขั้นเตรียมการ
    รายละเอียด

    1.1 ประชุมจัดเตรียมโครงการ 1.2 ประสานกับครูในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง เพื่อจัดเตรียมเนื้อหาในการให้ความรู้ และวางแผนการดำเนินการ 1.3 จัดเตรียมแผนการสอนเนื้อหา ดังต่อไปนี้ - เพศศึกษาการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นสุขอนามัยวัยเจริญพันธุ์ งานส่งเสริม - สถานการณ์การตั้งครรภ์ และผลกระทบ ห้องคลอด - ภาวะแทรกซ้อนการตั้งครรภ์ การคลอด ห้องคลอด - เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (เทศบาลเมืองพัทลุง) - การป้องกันการตั้งครรภ์และวางแผนครอบครัว ANC - ทักษะชีวิต การรักนวลสงวนตัวจิตเวชวันรุ่น วิทยากรนอก 1.4 จัดทำแบบประเมินความรู้และทัศนคติ และประสานทีมวิทยากร - ค่าถ่ายเอกสาร 2,200หน้า หน้าละ0.5บาทเป็นเงิน 1,100บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์2,360 บาท

    งบประมาณ 3,460.00 บาท
  • 2. ดำเนินการอบรมความรู้เรื่องตามหลักสูตร รักอย่างปลอดภัยในโรงเรียนเป้าหมาย
    รายละเอียด

    ขั้นดำเนินการ 2.1 ประสานทีมเพื่อนัดวันดำเนินการในแต่ละโรงเรียนตามแผน 2.2 ดำเนินการอบรมความรู้เรื่องตามหลักสูตร รักอย่างปลอดภัยในโรงเรียนเป้าหมาย นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่1ในโรงเรียนเขตเทศบาลเมืองพัทลุง จำนวน 7โรงเรียนจัดการอบรม 18รุ่น ดังนี้ 1. โรงเรียนพัทลุงจำนวน 601 คน จำนวน 4รุ่น 2. โรงเรียนบูรณะพัทศึกษามูลนิธิจำนวน26 คน จำนวน1รุ่น 3. โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาฯ จำนวน 470 คน จำนวน 4รุ่น 4. โรงเรียนสตรีพัทลุง จำนวน 493 คนจำนวน 4รุ่น 5. โรงเรียนวิหารเบิก จำนวน 16 คน จำนวน 1รุ่น 6. โรงเรียนวีรนาทศึกษา จำนวน450 คน จำนวน 3รุ่น 7. โรงเรียนจุ่งฮั้ว จำนวน190 คน จำนวน 1รุ่น รวม จำนวน 2,246 คน

    ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานในโรงเรียน ดังนี้ มีทั้งหมด 18รุ่น วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม 2568 สตรีพัทลุง ม.1 246 คน (2 รุ่น เช้า-บ่าย) 8.00-16.00น.
    วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม2568 บูรณะพัทศึกษา ม. 1 26 คน(1 รุ่น เช้า) 8.00-12.00น. วันพุธที่ 21พฤษภาคม1 2568 สตรีพัทลุง ม.1 246 คน(2 รุ่น เช้า-บ่าย) 8.00-16.00น. วันพฤหัสบดีที่22 พฤษภาคม2568 วิหารเบิก ม. 1 16 คน(1 รุ่น เช้า) 8.00-12.00น. วันจันทร์ที่ 26พฤษภาคม 2568 พัทลุง ม.1 300 คน(2 รุ่น เช้า-บ่าย) 8.00-16.00น. วันอังคารที่ 27พฤษภาคม 2568 พัทลุง ม.1 300 คน(2 รุ่น เช้า-บ่าย) 8.00-16.00น. วันพุธที่ 28พฤษภาคม 2568 อุบลรัตน์ฯ ม.1 235คน (2 รุ่น เช้า-บ่าย) 8.00-16.00น. วันพฤหัสบดีที่29พฤษภาคม 2568 อุบลรัตน์ฯ ม.1 235 คน(2 รุ่น เช้า-บ่าย) 8.00-16.00น. วันจันทร์ที่ 2มิถุนายน 2568 วีรนาท ม.1 300 คน(2 รุ่น เช้า-บ่าย) 8.00-16.00น. วันอังคารที่3มิถุนายน 2568 วีรนาท ม.1 150 คน (1 รุ่น เช้า) 8.00-12.00น. วันพุธที่4มิถุนายน 2568 จุ่งฮั่ว ม.1 190คน (1 รุ่น เช้า) 8.00-12.00น.

    • ค่าอาหารกลางวัน ผู้จัดและวิทยากร จำนวน 12 คนๆละ 65 บาท จำนวน 7 มื้อ (เต็มวัน 14 รุ่น = 7วัน) เป็นเงิน5,460 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 12 คนๆละ 30 บาท จำนวน 18 มื้อ (18รุ่น )เป็นเงิน 6,480บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอก จิเวชเด็กและวัยรุ่นจำนวน 18 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ตามความเหมาะสม
    งบประมาณ 22,740.00 บาท
  • 3. ขั้นประเมินผล
    รายละเอียด
    1. รวบรวมข้อมูลผลการประเมินความรู้และทัศนคติ และวิเคราะห์ตามตัวชี้วัด 2.สรุปผลการดำเนินงาน และรวบรวมเพื่อเผยแพร่ในโอกาสต่างๆ ต่อไป
    งบประมาณ 0.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 3 มกราคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568

8.
สถานที่ดำเนินการ

โรงเรียนมัธยมในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง อ.เมือง จ.พัทลุง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 26,200.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที1 ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองพัทลุงได้รับการเสริมสร้างความรู้ และทัศนคติในการป้องกันและควบคุมปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร มีทักษะชีวิต นำไปปฏิบัติเพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์วัยรุ่นได้

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง รหัส กปท. L7572

อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง รหัส กปท. L7572

อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 26,200.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................