กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมอบแว่นตาให้น้อง ปี2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

งานส่งเสริมสุขภาพ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพัทลุง

โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพัทลุงรับผิดชอบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กนักเรียน อายุ 6-15 ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรองสายตา มีภาวะสายตาสั้น

 

30.00

ร้อยละ30 ของเด็กนักเรียนอายุ 6-15 ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรองสายตา มีภาวะสายตาสั้น (จากการคัดกรองสายตานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ,3 และ 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ปีการศึกษา 2567 (เทอม 1)ในสังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง พบว่านักเรียนสายตาผิดปกติ ซึ่งเป็นปัญหาส่งผลในเรื่องการเรียน นับเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งต่อการดำเนินชีวิต ขนาด 30)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการมองเห็นของเด็กนักเรียนที่มีภาวะสายตาสั้น

ร้อยละ 100 ของนักเรียนที่มีปัญหาด้านสายตาสั้นได้รับการแก้ไขที่ถูกต้องเหมาะสม

30.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 276
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2025

กำหนดเสร็จ 31/03/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองความผิดปกติซ้ำโดยจักษุแพทย์หรือทัศนมาศหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสายตา

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองความผิดปกติซ้ำโดยจักษุแพทย์หรือทัศนมาศหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสายตา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.นำนักเรียนที่ผ่านการคัดกรองสายตาเบื้องต้นพบว่าผิดปกติ ไปตรวจยืนยันกับจักษุแพทย์/ทัศนมาศ/ผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาพร้อมตัดแว่นจำนวน 276 คนๆละ 600 บาท เป็นเงิน 165,600 บาท

2.จัดทำทะเบียนเพื่อนัดหมายเด็กที่มีสายตาผิดปกติตรวจยืนยัน ทดสอบแว่นตา และตรวจติดตามประเมินผล

3.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 3.0 x 2.0 เมตร เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2568 ถึง 15 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนที่มีความผิดปกติด้านสายตาได้รับการลงทะเบียนและตรวจยืนยันกับจักษุแพทย์/ทัศนมาศ/ผู้เชี่ยวชาญด้านสายตา จำนวน 200 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
166800.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้แก่นักเรียนกลุ่มที่มีความผิดปกติทางสายตา

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้แก่นักเรียนกลุ่มที่มีความผิดปกติทางสายตา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประสานวิทยากรในการให้ความรู้

2.ประสานโรงเรียนเพื่อจัดนักเรียนรับแว่นและรับความรู้

3.ค่าวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 2 รุ่น เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มกราคม 2568 ถึง 25 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้รับแว่นสายตา และได้รับความรู้ในการดูแลแว่นสายตา และการถนอมสายตา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 169,200.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กได้รับการตรวจคัดกรองสายตา
2.เด็กที่มีผลการตรวจผิดปกติได้รับการตรวจยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญด้านสายตา
3.เด็กที่มีความผิดปกติด้านสายตาได้รับแว่นสายตาและตรวจติดตามประเมิน
4.เด็กที่มีสายตาผิดปกติเข้าถึงบริการสาธารณสุข


>