กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ พลังชุมชน รู้ตนลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรม ต้านภัยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

ชมรมอาสาสมัครโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก

1. น.ส.นูรฮายาตี สะมะแอ
2. นางอุบลวรรณ เส่งสีแดง
3. นางรอตีป๊ะตะเย๊าะ
4. น.ส.นารีย๊ะเจ๊ะเต๊ะ
5. น.ส.กลือซง แวบือซา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันนี้สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องดูแลไม่ว่าสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต ยิ่งโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญเกิดขึ้นในประชากรทั่วไปอย่างรวดเร็วและกำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่พบได้บ่อยโดยปัจจุบันสำรวจพบว่าคนไทยประมาณร้อยละ 20 เป็นโรคความดันโลหิตสูง คนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูงมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค เมื่อรู้ตัวว่าเป็นส่วนมากจะไม่ได้รับการดูแลรักษา ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องจากไม่มี อาการทำให้คนส่วนใหญ่ ไม่ได้ให้ความสนใจ เมื่อเริ่มมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนแล้วจึงจะเริ่มสนใจและรักษา ซึ่งบางครั้งก็อาจจะทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควรการควบคุมความดันโลหิตให้ปกติอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้อย่างชัดเจน เป็นข้อเท็จจริงทางการแพทย์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วและเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก โรคเบาหวานเกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมากขึ้นถึงระดับหนึ่ง จนทำให้ไตดูดกลับน้ำตาลได้ไม่หมด ซึ่งปกติไตจะมีหน้าที่ดูดกลับน้ำตาลจากสารที่ถูกกรองจากหน่วยไตไปใช้ ส่งผลให้มีน้ำตาลรั่วออกมากับปัสสาวะ โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่ ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสเหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและ โรคอ้วนลงพุง และทำให้ อายุไขของคนป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า 60 ปี ได้กำหนดให้ดำเนินการพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัยให้มีความครอบคลุมในมิติทางด้านสุขภาพทั้ง 4 มิติ คือ มิติด้านการป้องกันโรคการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ เน้นให้เกิดการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักด้านสุขภาพ จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชินให้เป็นพฤติกรรมที่ลดเสี่ยงต่อการเกิดโรค และลดโรคที่เป็นแล้วให้เป็นน้อยลง หรือหายเป็นปกติ โดยเฉพาะ 3อ คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และ 2ส คือ ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุรา เป็นการ “ปรับก่อนป่วย” เพราะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีปัจจัยเสี่ยงร่วมกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตการส่งเสริมสุขภาพจึงเน้นให้ “ประชาชนสุขภาพดี เริ่มต้นที่สร้างนำซ่อม” โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้เป็นพลังชุมชนที่สำคัญในการเป็นผู้นำ เป็นต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (Change Agent) โดยมีบทบาทที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะด้านสุขภาพให้แก่คนในชุมชน โดยมีเป้าหมายในการเป็น “คู่หูสุขภาพ (Buddy Healthy)” ร่วมรู้สถานะสุขภาพ ร่วมปรับพฤติกรรม ต้านภัยโรคเบาหวานแลความดันโลหิตสูง ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีประชาชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเกิดความตระหนักด้านสุขภาวะ โดยการตรวจคัดกรองสุขภาพ เฝ้าระวัง และป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานของตนเอง ชุมชน

ร้อยละ 80 ของ ผู้เข้าร่วมโครงการลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้มากขึ้น

80.00 80.00
2 ๒.เพื่อให้เกิดการดำเนินการในการลดปัจจัยเสี่ยง ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยง

ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้ตามสัดส่วน

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 55
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชนเสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูงและ โรคเบาหวาน
๒.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

กิจกรรมย่อย

08.30 น. - 09.00 น.- ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม 09.00 น. - 10.00 น. - แลกเปลี่ยนความรู้ก่อนเข้าอบรม 10.00 น. - 10.30 น. - พักรับประทานอาหารว่าง 10.30 น. - 12.00 น. - ให้ความรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชนเสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูง (โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข) 12.00 น. -13.00 น.- พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. -14.00 น.- ให้ความรู้ ให้ความรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชนเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน (โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข)
14.00 น.-14.30 น - พักรับประทานอาหารว่าง

งบประมาณ

  1. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 55 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,750 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 55 คน x 60 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 3,300 บาท
  3. ค่าไวนิล 1 ชุด x 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  4. ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  5. ค่าสมุดปกแข็ง จำนวน 55 เล่ม x 15 บาทเป็นเงิน 825 บาท
  6. ค่าปากกา จำนวน 55 ด้าม x 5 บาท เป็นเงิน 275 บาท
  7. ค่ากระเป๋า 55 ใบ x 80 บาท เป็นเงิน4,400บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 80 ของ ผู้เข้าร่วมโครงการลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้มากขึ้น
  • ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้ตามสัดส่วน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15050.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที 2

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สาธิตวิธีการรับประทานอาหารแต่ละมื้อให้ตรงกับปริมาณและ สัดส่วน

กิจกรรมย่อย

14.30 น. -15.30 น. - สาธิตวิธีการรับประทานอาหารแต่ละมื้อให้ตรงกับปริมาณและสัดส่วน (โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข) 15.30 น. - 16.00 น. - ประเมินและสรุปความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน และการรับประทานอาหารที่เหมาะสม 16.00 น - 16.30 น. พิธีปิดโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 เมษายน 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ร้อยละ 80 ของ ผู้เข้าร่วมโครงการลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้มากขึ้น
- ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้ตามสัดส่วน


>