กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

สภาเด็กและเยาวชนตำบลกาวะ

1. นายอามีโรดรอแมประธานสภาเด็กและเยาวชนตำบลกาวะ
2. นายอับดุลซาลามบินวามี รองประธานคนที่ 1
3. นางสาวมาลีซา มะเย็ง รองประธานคนที่ 2
4. นายโซเฟียฮารง คณะบริหาร
5. นางสาวโนรซาฟีกายูนุคณะบริหาร

ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

 

20.00
2 จำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

 

6.00
3 จำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

 

2.00
4 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่มีการใช้สารเสพติด

 

5.00

เยาวชน คือ อนาคตของชาติ ปัจจุบันสังคมไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤต จากสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่ได้เริ่มแพร่ระบาดและกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างน่าวิตก การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบัน เป็นผลให้เยาวชนหลงทางผิดเข้าสู่วงจรของการซื้อขายและเสพติดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นการทำลายทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นอนาคตและเป็นพลังในการพัฒนาประทศให้ด้อยคุณภาพ อันจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และเป็นภาระงบประมาณของประเทศในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่เกิดจากการเสพยาเสพติด อีกทั้งยังเป็นปัญหาที่สร้างความรู้สึกสะเทือนใจและเจ็บปวดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองและปัญหายาเสพติดได้นำมาซึ่งความรุนแรงในครอบครัวและอัชญากรรมต่างๆ ในสังคม เช่น การลักขโมย ฉกวิงวิ่งราว และการก่อปัญหาอัชญากรรมอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม
สภาเด็กและเยาวชนตำบลกาวะ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และเห็นว่าทุกภาคส่วนของสังคมควรมีบทบาทในการแก้ปัญหาร่วมกัน การปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานภาครัฐรับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียวไม่เพียงพอและจะทำให้ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จึงได้จัดโครงการเยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลยาเสพติดประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการนำสังคมไทยไปสู่สังคมที่พึ่งปรารถนา คือ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับรู้และรับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

ผู้เข้าร่วมดครงการได้รับรู้และรับทราบถึงปัญหายาเสพติดและพิษภัยของยาเสพติด ร้อยละ 90

1.00
2 เพื่อสร้างเครือข่ายเด็กและเยาวชนในการต่อต้านและป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด

สามารถควบคุมการขยายตัวของปัญหายาเสพติด และลดการแพร่ระบาดยาเสพติดในสถานศึกษาได้ ร้อยละ 70

1.00
3 เพื่อปลุกจิตสำนึกของเด็กและเยาวชน ให้มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และส่งผลกระทบต่อปัญหาสังคมและตลอดจนความมั่นคงของชาติ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีจิตสำนึก มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และส่งผลผลกระทบต่อปัญหาสังคมตลอดจนความมั่นคงของชาติ ร้อยละ 80

1.00
4 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถานศึกษา และตำบลกาวะ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

ผู้เข้าร่วมดครงการรู้จักการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในตำบลกาวะ และสถานศึกษาให้เข้มแข็งได้ ร้อยละ 70

1.00
5 เพื่อลดจำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

จำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

6.00 3.00
6 เพื่อเพิ่มจำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

จำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

2.00 6.00
7 เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

20.00 10.00
8 เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่มีการใช้สารเสพติด

ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่มีการใช้สารเสพติด

5.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 29/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ขั้นวางแผนงาน เสนอโครงการ แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานดำเนินโครงการ ประชุมมอบหมายงาน
  2. ขั้นดำเนินงาน ติดต่อประสานวิทยากร จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม จัดทำป้ายไวนิล จัดเตรียมสถานที่ในการฝึกอบรม
  3. ขั้นสรุปและประเมินผลการจัดกิจกรรมโครงการ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2568 รายละเอียด - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าเอกสารและวัสดุเครื่องเขียนประกอบการอบรม จำนวน 60 คน ๆ ละ 90 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท - ค่าป้ายไวนิล เป็นเงิน 720 บาท รวมเป็นเงิน 16,920 บาท (หนึ่งหมื่นหกพันเก้าร้อยยี่สิบบาทถ้วน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16920.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,920.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เยาวชนได้รับรู้รับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด
2. มีเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขต่อต้านยาเสพติด
3.ลดการขยายตัวของปัญหายาเสพติด และลดการแพร่ระบาดยาเสพติดในตำบลกาวะ และสถานศึกษา
4. เด็กและเยาวชนในตำบลกาวะมีจิตสำนึก มีความรู้ความเข้าใมจ และตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกายสุขภาพอนามัย และส่งผลกระทบต่อปัญหาสังคมตลอดจนความมั่นคง
5. ในตำบลกาวะและสถานศึกษามีความเข้มแข็งและสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้


>