กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

รำวงย้อนยุค สร้างจิต สร้างกาย บ้านโคกดีปลี ปี 68

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมรำวงย้อนยุค บ้านโคกดีปลี

1.นางอุษา เทียมแก้ว ประธาน Tel:0894649192
2.นางจินดา อยู่ทองดี
3.นางสาวอรอนงค์ สืบประดิษฐ์
4.นางอุไรวรรณ จันทรศิริ
5.นางสาวประกาย วิบููลย์กูล

หมู่ 3 บ้านโคกดีปลี ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

351.00

ข้อมูลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ของอสม.ในพื้นที่ หมูที่ 3 บ้านโคกดีปลี ปี 2567 ได้มีการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายจำนวน 93 คน พบเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 41 คน คิดเเป็นร้อยละ 44.09 โรคเบาหวาน จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 13.98 จากข้อมูลดังกล่าวมีแนวโน้มที่โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานในพื้นที่อาจจะเพิ่มขึ้น ทางชมรมรำวงย้อนยุค ได้ตระหนัก อยากมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา พร้อมกันนี้ทางชมรมได้มีกิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพ ประยุกต์การเต้นรำกับแดนซ์ ได้ร่วมในงานประเพณีต่างๆทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ เป็นที่นิยมของประชาชนในการนำศิลปดังกล่าวมาผสมผสานเพื่่อได้เกิดการเพลิดเพลินในการเคลื่อนไหว การขยับกาย นอกจากความสนุกที่ได้เต้นตามจังหวะเสียงเพลง"รำวงย้อนยุค"กิจกรรมดังกล่าวได้ลดความเหงาและความเครียด กิจกรรมรำวงย้อนยุคมารื้อฟื้นอีกครั้ง ที่สำคัญไม่ควรเต้นนานเกิน 30 นาที โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคเข่าเสื่อม รำวงย้อนยุคเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย และบุคคลทั่วไปได้ออกกำลังกาย มีสุขภาพแข็งแรงและมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ในการนี้ชมรมรำวงย้อนยุค บ้านโคกดีปลี ได้ทำโครงการรำวงย้อนยุค สร้างจิต สร้างกาย บ้านโคกดีปลี ปี 68 เพื่อเป็นการจัดกิจกรรมผ่อนคลาย และเคลื่อนไหวกาย เพื่อการเผาผลาญน้ำตาล ไขมันส่วนเกินที่มีอยู่ในร่างกาย อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานหรือโรคเรื้อรังต่างๆ ของสมาชิกในชมรมและประชาชนในพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานในพื้นที่ลดลงเทียบจากปีที่ผ่านมา

100.00 0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกชมรมได้มีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง

สมาชิกชมรมมีการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละไม่น้อยกว่า 30 นาที

0.00 0.00
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพชมรมในการส่งเสริมสุขภาพ

ชมรมมีกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่องทุกปี

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/03/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขับเคลื่อนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ขับเคลื่อนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมการมีส่วนร่วม โดยการจัดประชุมสมาชิกชมรม ประชาชนในพื้นที่ อย่างต่อเนื่องเมื่อจะมีการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วม งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท x 100 คน เป็นเงิน3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สมาชิกชมรมและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมประชุมตามแผนที่กำหนด
  2. เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิกชมรมและประชาชนในพื้นที่
  3. สร้างบูรณาการระหว่างเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่กับชรม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

กิจกรรมที่ 2 เฝ้าระวังโรค

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองโรคความดัน โรคเบาหวาน เบื้องต้นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท x 50 คน x 5 ครั้ง (เดือนละ 1 ครั้ง) เป็นเงิน 8,750 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรอง (เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดัน เครื่องเจาะเบาหวาน และอื่นๆ) เป็นเงิน 2800 บาท รวมเป็นเงิน 11,550 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สมาชิกชมรมได้มีการตรวจวัดความดัน เบาหวาน อย่างต่อเนื่อง
  2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11550.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมองค์ความรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคความดัน / เบาหวาน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคของสมาชิกชมรม
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท x 40 คน 2 มื้อ x 2 มื้อเป็นเงิน 2800 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 40 คน เป็นเงิน 2400 บาท - ค่าสัมนาคุณวิทยากร 600 บาท x 4 ชั่วโมง เป็นเงิน 2400 บาท
- ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการเป็นเงิน 720 บาท
รวมเป็นเงิน 8320 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ทัศนคติที่ดีขึ้น
  2. ต่อยอดเป็นบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปลอดจากความดัน/เบาหวาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8320.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย ด้วยการขยับกายในยามเย็น เช่น กิจกรรมเต้นเข้าจังหวะ การเดิน-วิ่ง รำไม้พลอง และรำวงย้อนยุคซึ่งเป็นกิจกรรมที่ชมรมได้มีจัดเป็นประจำอย่างต่อเนื่องเพราะนอกจากได้มีการออกกำลังกายทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วยังเป็นการอนุรักษ์ประเพณ๊ท้องถิ่นที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนในพื้นที่ด้วย ช่วยให้สมาชิกมีสุขภาพจิตและกายแข็งแรง งบประมาณ - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ป้ายประชาสัมพันธ์และอื่นๆ เป็นเงิน3,000 บาท บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สมาชิกชมรมในพื้นที่ มีสุขภาพจิต กายที่ดี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 5 คนต้นแบบ

ชื่อกิจกรรม
คนต้นแบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดเลือกบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงโดยมี 2 ประเภทดังนี้ ประเภทที่ 1 คนสุขภาพดีปลอดโรค ประเภทที่ 2 คนต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคความดันเบาหวาน งบประมาณ - ค่ารางวัลบุคคลตัวอย่าง 2 รางวัล x 500 บาท เป็นเงิน1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ได้คนต้นแบบที่มีสุขภาพที่ดี
  2. ได้คนต้นแบบด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 6 ประเมินผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานในรายละเอียดของกิจกรรมต่างๆ ตามแผนการจัดกิจกรรมพร้อมทั้งรายงาน ทำรูปเล่ม ส่งคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่คณะกรรมการชมรม 10 คน x 35 บาท x 3 ครั้ง เป็นเงิน1,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางความคิด และตกผลึกซึ่งข้อมูลที่ดีที่สุด
  2. มีรายงานผลส่งคณะกรรมการกองทุนฯ
  3. ทุกครั้งที่เกิดปัญหาระหว่างจัดกิจกรรมจะได้มีการถกเถียงกันและมีการแก้ปัญหาไปด้วยกัน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,420.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ
1. ขับเคลื่อนการดำเนินงาน ส่งเสริมการมีส่วนร่วม โดยการจัดประชุมสมาชิกชมรม ประชาชนในพื้นที่ อย่างต่อเนื่องเมื่อจะมีการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วม
2. เฝ้าระวังโรค ตรวจคัดกรองโรคความดัน โรคเบาหวาน เบื้องต้นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่
3. อบรมปรับเปลี่ยน ส่งเสริมองค์ความรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคความดัน / เบาหวาน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคของสมาชิกชมรม
4. ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย ด้วยการขยับกายในยามเย็น เช่น กิจกรรมเต้นเข้าจังหวะ การเดิน-วิ่ง รำไม้พลอง และรำวงย้อนยุคซึ่งเป็นกิจกรรมที่ชมรมได้มีจัดเป็นประจำอย่างต่อเนื่องเพราะนอกจากได้มีการออกกำลังกายทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วยังเป็นการอนุรักษ์ประเพณ๊ท้องถิ่นที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนในพื้นที่ด้วย ช่วยให้สมาชิกมีสุขภาพจิตและกายแข็งแรง
5. ค้นหาคนต้นแบบ คัดเลือกบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงโดยมี 2 ประเภทดังนี้
ประเภทที่ 1 คนสุขภาพดีปลอดโรค
ประเภทที่ 2 คนต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคความดันเบาหวาน
6. สรุปผลการดำเนินงานในรายละเอียดของกิจกรรมต่างๆ ตามแผนการจัดกิจกรรมพร้อมทั้งรายงาน ทำรูปเล่ม ส่งคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เพื่อเป็นการอนุรักษ์กิจกรรมรำวงย้อนยุคบูรณาการร่วมกับกิจกรรมทางกายอื่นๆ
2.เพื่อให้คนในพื้นที่ได้มีกิจกรรมสร้างความสามัคคี
3.เพื่อให้คนในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียงมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง
4.เพื่อให้lสมาชิกชมรมได้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องหลังว่างจาก ได้อย่างถูกวิธี ป่องกันโรคความดัน / เบาหวาน
5.เพื่อให้คนในพื้นที่ และบริเวณใกล้เคียงดำรงชีวิตในสังคมอย่างสงบสุข
6. มีคนต้นแบบด้านสุขภาพปลอดจากโรคเรื้อรัง ความดัน/เบาหวาน


>