กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพกายใจ ใส่ใจผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

ชมรมผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ

1. นายอาแวมะเย็ง
2. นายมะลูเด็งเจ๊ะกา
3. นายมะยูโซ๊ะดือเร๊ะ
4. นายกอเซ็งบินรอนิง
5. นายดรอแมเจ๊ะเด็ง

ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

5.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม

 

50.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ

 

50.00
4 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม

 

80.00

ผู้สูงอายุ ถือว่าเป็นปูชนียบยุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก ได้เคยเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน มีความรู้ มีทักษะ อนุรักษ์ สืบทอดประเพณ๊วัฒนธรรมท้องวถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญ ในการยกย่องให้การดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพจิต สุขภาพกายเป็นการเชิดชูเกียรติให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผูู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ จึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพา ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย หรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแล เกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดดรคต่าง ๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิมซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมและมีความสุขในบั้นปลายของชีวิต
ชมรมผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ จึงได้ให้ความสำคัญในการดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เช่น การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต ส่งเสริมการออกกำลังกาย ถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่ลูกหลาน จัดกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ ถือว่าการจัดกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ผู้สูงอายุ ได้มีความสุขและได้มีกิจกรรมดี ๆ ที่จัดทำร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผ้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ

ผู้สูงอายุได้รับความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ ร้อยละ 70

60.00 70.00
2 เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า

ผู้สูงอายุจะมีขวัญกำลังใจในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ร้อยละ 60

50.00 60.00
3 เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุให้เข้มแข็งและมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

มีเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง ร้อยละ 60

50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 500
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/06/2025

กำหนดเสร็จ 08/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยจัดอบรม 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยจัดอบรม 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมคณะทำงาน แกนนำผู้สูงอายุ กรรมการชมรมผู้สูงอายุ
  2. เขียนโครงการ เสนอโครงการ ขออนุมัติโครงการ
  3. ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้เกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมาย
  4. ดำเนินงานตามโครงการ 4.1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้กับกลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมกลุ่มสันทนาการ และการออกกำลังกายขยับกายสบายชีวี 4.2 ประเมินผลสรุปผลการดำเนินงาน

กิจกรรมตรวจสุขภาพและฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพแก่ผู้สุงอายุในตำบลกาวะ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 500 คน ๆละ 60 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 500 คน ๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 30,000 บาท
- ค่าวิทยากร 1 คน จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าป้ายไวนิล 720 บาท
รวมเป็นเงิน 64,320 บาท (หกหมื่นสี่พันสามร้อยยี่สิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มิถุนายน 2568 ถึง 8 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
  2. สร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและรู้ตัวว่าตัวเองมีคุณค่า
  3. ชมรมผู้สูงอายุมีความเข้มแข็งและมีกิจกรรมทำร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
64320.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 64,320.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
2. สร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและรู้ตัวว่าตัวเองมีคุณค่า
3. ชมรมผู้สูงอายุมีความเข้มแข็งและมีกิจกรรมทำร่วมกันอย่างต่อเนื่อง


>