กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันเเละเเก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตำบลกะลุวอ ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

กลุ่มจิตอาสายาลันนันบารูตำบลกะลุวอ

1.นายเเวอาเเซ สือแม
2.นายเเวสะเเลเเมมือลี
3.นายอับดุลตอเละ ยูนุ
4.นายรอฮานาหะยีมะเซ็ง
5.นายวีรยุทธเจะปอ

พื้นที่ตำบลกะลุวออำเภอเมืองนราธิวาสจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า (คน)

 

80.00

เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบัน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องประสบกับปัญหาต่างๆ มากมาย อาทิเช่น ปัญหาการก่อการร้ายในบริเวณ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาอุทกภัย ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดฯลฯ โดยเฉพาะปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดนั้น นับได้ว่ามีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และเป็นปัญหาระดับชาติ เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลให้ภาครัฐและประชาชนร่วมกันแก้ไข ซึ่งในขณะนี้แม้กระทั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานทุกภาคส่วน จะได้พยายามเร่งระดมสรรพกำลังและทรัพยากรด้านต่างๆ ในการดำเนินการป้องกันปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง แต่ก็ปรากฎได้ว่าความพยายาม ดังกล่าวได้ผลเพียงในระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากการปฏิบัติมีข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมืองและชุมชนหนาแน่น รวมทั้งพื้นที่ที่มีสถานบริการและมั่วสุมต่างๆ เช่น ร้านเกมส์ อินเตอร์เน็ตและสถานที่ลับตาผู้คน ฯลฯ ประชากรกลุ่มเสี่ยงยังคงเป็นเด็กและเยาวชนทั้งในและนอกสถานศึกษา ตลอดจนผู้ใช้แรงงานและผู้ว่างงาน อีกทั้งผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดรายใหม่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ทั้งผู้ค้าและผู้เสพ และเพื่อเป็นการมุ่งเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ที่ยังมีการแพร่ระบาดของยาเสพติดให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอได้ตระหนักถึงความรุนแรง และผลกระทบของปัญหายาเสพติดระยะยาวซึ่งอาจจะหวนกลับมาแพร่ระบาดเข้าไปสู่กลุ่มอื่นๆ อีก ซึ่งการแก้ไขปัญหานี้เป็นเรื่องยากในการที่จะดำเนินการแต่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น กลุ่มจิตอาสายาลันนันบารู จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี 2568

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น

จำนวนประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น

80.00 65.00
2 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดประชาชนในพื้นที่

ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันยาเสพติดและแก้ไขปัญหายาเสพติด

80.00 65.00
3 เพื่อสร้างความเข้มเเข็งภายในชุมชน

เครือข่ายแกนนำให้ความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไปัญหายาเสพติดในพื้นที่

80.00 65.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เรื่อง โทษและอันตรายต่อสุขภาพสำหรับผู้ที่ติดยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เรื่อง โทษและอันตรายต่อสุขภาพสำหรับผู้ที่ติดยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องโทษและอันตรายของยาเสพติด จำนวน80 คน งบประมาณ :
1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท 2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท 3.ค่ากระเป๋าเอกสารพร้อมวัสดุอุปกรณ์ -กระเป๋าผ้าจำนวน 80 ใบๆละ 65 บาท เป็นเงิน 5,200 บาท
-สมุด จำนวน 80 เล่มๆละ 5 บาท เป็นเงิน 400 บาท
-ปากกาจำนวน 80 ด้ามๆละ 7 บาท เป็นเงิน 560 บาท
4.ค่าตอบเเทนวิทยากรจำนวน 1 คนๆละ 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) : มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 80 คน ผลลัพธ์ (Outcome) : ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เรื่องโทษและอันตรายต่อสุขภาพสำหรับผู้ที่ติดยาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18560.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การเเก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การเเก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม :
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน โดยเเบ่งกลุ่มเป็น10กลุ่มๆละ8คน งบประมาณ :
1. กระดาษบรู๊ฟจำนวน 20 เเผ่นๆละ5 บาท เป็นเงิน 100 บาท 2. ปากกาเคมี (สีแดง,สีน้ำเงิน) จำนวน 20 ด้ามๆละ 15 บาท เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) :มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 80 คน ผลลัพธ์ (Outcome) : ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเเลกเปลี่ยนรู้การแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนภายในกลุ่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
400.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ: 1. ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ  ขนาด 1*3 เมตรๆละ 250  บาท   เป็นเงิน   750  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,710.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้ได้รับความรู้เกี่ยวกับโทษเเละอันตรายต่อสุขภาพผู้ติดยาเสพติด
2. ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันยาเสพติดและแก้ไขปัญหายาเสพติด
3. สามารถลดการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่


>