กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เมาะมาวี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเมาะมาวีประจำปี2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เมาะมาวี

สำนักเลขากองทุน

พื้นที่ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

 

9.00
2 ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในปีงบประมาณ

 

9.00
3 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)

 

27.00

คณะกรรมการกองทุนฯที่มีประสิทธิภาพ เป็นกลไกสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงาน กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพราะคณะกรรมการเป็นบุคคลสำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนที่จะทำให้เกิดการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนและเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ คณะกรรมการกองทุนควรมีความรู้ ความเข้าใจที่มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน คือทำให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจอย่างยั่งยืน ดังนั้นจึงจำเป็นที่คณะกรรมการกองทุนได้รับการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการกองทุน มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ มีทัศนคติเชิงบวกต่อการดำเนินงานกองทุนฯเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้โอกาสในการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างเสมอภาค เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นร่วมตัดสิ่นใจ มีการตรวจสอบและเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างเท่าเทียม โดยคณะกรรมการกองทุนควรได้รับการอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจ การประชุมสัมมนา และการศึกษาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างพื้นที่ที่มีกองทุนต้นแบบ ดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเมาะมาวีจึงได้จัดโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเมาะมาวี ประจำปี 2566 ขึ้นเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพคณะกรรมการกองทุนฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มพูนความรู้ในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตรงตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

27.00 29.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่ดีและมีรายงานผลการดำเนินงานดี

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

9.00 12.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการ ที่มีการส่งผลงานและส่งรายงาน ตรงตามเวลา

ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในกำหนด เพิ่มขึ้น

9.00 12.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 27

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการ/อนุกรรมการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะกรรมการ/อนุกรรมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนการประชุมกรรมการจำนวน 20 คนx 400 บาท x 5 ครั้ง เป็นเงิน 40,000 บาท
2. ค่าตอบแทนการประชุมสำหรับเจ้าหน้าที่ดำเนินงานกองทุนฯ จำนวน 1 คนx 200 บาท x 5 ครั้ง เป็นเงิน 1,000 บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคณะกรรมการกองทุนฯ จำนวน 21 คนx 35 บาท x 5 ครั้ง เป็นเงิน 3,675 บาท
4. ค่าตอบแทนการประชุมอนุกรรมการฝ่ายกลั่นกรองฯ จำนวน 7 คนx 300 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 4,200 บาท
5.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มอนุกรรมการฝ่ายกลั่นกรองฯ จำนวน 7 คนx 35 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 490 บาท
6. ค่าตอบแทนการประชุมอนุกรรมการฝ่ายการเงิน จำนวน 3 คนx 300 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 1,800 บาท
7. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มอนุกรรมการฝ่ายการเงิน จำนวน 3 คนx 35 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 210 บาท
8. ค่าตอบแทนการประชุมอนุกรรมการฝ่ายติดตาม จำนวน 3 คนx 300 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 1,800 บาท
9. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มอนุกรรมการฝ่ายติดตาม จำนวน 3 คนx 35 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 210 บาท
10.ค่าตอบแทนการประชุมอนุกรรมการLTC จำนวน 10 คนx 300 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาท
11.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มอนุกรรมการอนุกรรมการ LTCจำนวน10 คนx 35 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 700 บาท
12. ค่าเดินทางไปราชการ 5,000 บาท 13. ค่าวัสดุสำนักงาน 4,215  บาท
14. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์  6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
74950.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานและเจ้าหน้าที่กองทุน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานและเจ้าหน้าที่กองทุน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าวิทยากรบรรยาย 600 บาทx 6ชั่วโมงเป็นเงิน 3,600 บาท
2.ค่าอาหารมื้อกลางวันและมื้อเย็นจำนวน 27 คน x 3 มื้อ x 250 บาท เป็นเงิน 20,250 บาท
3.ค่าอาหารมื้อเช้า จำนวน 27 คน x 100 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท
4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 27 คน x 3 มื้อ x 50 บาท เป็นเงิน 4,050 บาท
5.ค่าจ้างเหมารถตู้ปรับอากาศ 2คัน x 2 วัน x 3,000 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท 6.ค่าที่พัก 27 คน x 1 คืน x 650 บาท เป็นเงิน17,550 บาท
7.ค่าเช่าห้องประชุม เป็นเงิน 7,500 บาท
8. ของสมนาคุณในการดูงาน 1,400 บาท 9. ค่ากระเป๋าและอุปกรณ์สำหรับการอบรม 27 ชุดๆละ 300 บาทเป็นเงิน 8,100 บาท
10.ค่าป้ายไวนิลกิจกรรมขนาด 1.2x2.5เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
78050.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมควบคุมกำกับติดตามการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมควบคุมกำกับติดตามการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช่งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมนำเสนอผลงานกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมนำเสนอผลงานกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 153,000.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานได้รับการพัฒนาศักยภาพกองทุนฯให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
2.กำกับดูแลหน่วยงานที่ได้รับอนุมัติงบประมาณให้เป็นไปตามแผนงานและตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด


>