กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะกาฮะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุน การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและพัฒนาระบบบริหารจัดการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะกาฮะรัง

งานเลขานุการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปะกาฮะรัง

ตำบลปะกาฮะรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปะกาฮะรัง เป็นองค์กรที่บริหารจัดการเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกในพื้นที่อย่างทั่วถึงและที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้ 1.กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 2.กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 3.กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 4.กลุ่มวัยทำงาน 5.กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง 6.กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 7.กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสียง ซึ่งการดำเนินงานกองทุนต้องมีหลักการบริหารงบประมาณอย่างโปร่งใส ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ กองทุนมีกลุ่มบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจให้มาบริหารจัดการ ซึ่งคณะกรรมการกองทุนประกอบด้วยบุคคล 2 ส่วน คือมาจากตำแหน่ง และมาจากการคัดเลือกของหมู่บ้าน ซึ่งคณะกรรมการจะได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดยมีอำนาจหน้าที่ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่พ.ศ.2561ข้อ 16 ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุน ซึ่งการพิจารณางบประมาณการใช้จ่ายของกองทุนจะใช้จ่ายตามแผนงานหรือโครงเรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ 10ว่าด้วยการใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติงบประมาณของกองทุน นั้น โดยตามหลักเกณฑ์ เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่พ.ศ.2561ข้อ 10 (4) เพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปะกาฮะรัง จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุน ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กองทุนมีความพร้อมในการดำเนินงาน

มีการเสนอรายงานทางการเงินต่อประธานคณะกรรมการทุกเดือน  ภายในวันที่  15 ของเดือน

0.00 100.00
2 เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุน

มีการบันทึกข้อมูลลงในระบบโปรแกรม ครบถ้วนทุกโครงการ

0.00 100.00
3 เพื่อกำหนดกรอบค่าใช้จ่ายงบประมาณตามแผนงาน/โครงการด้านการบริหารจัดการหรือพัฒนากองทุน

ค่าใช้จ่ายไม่เกินร้อยละ  15 ของรายรับปีงบประมาณ 2568

0.00 100.00
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน

มีการประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี  ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาติดตามโครงการหรือกิจกรรมอย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี

0.00 100.00
5 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุมัติและจัดทำแผน/โครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ได้เข้ารับการประชุม/อบรม

0.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปะกาฮะรัง จำนวน 5 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปะกาฮะรัง จำนวน 5 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(1) ค่าตอบแทนการในการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ จำนวน 18 คน  จำนวน 5 ครั้ง ๆ ละ 400 บาท  เป็นเงิน   36,000    บาท (2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 5 ครั้ง จำนวน 18 คน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน   3,150   บาท
(3) ค่าตอบแทนคณะทำงาน ช่วยเหลือการปฏิบัติงานการประชุม จำนวน 3 คน  จำนวน 5 ครั้ง ๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน   6,000   บาท
(4) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 5 ครั้ง จำนวน 3 คน ๆ ละ 35 บาท  เป็นเงิน   525   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45675.00

กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปะกาฮะรัง จำนวน 5 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปะกาฮะรัง จำนวน 5 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(1) ค่าตอบแทนในการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯจำนวน  10 คน  จำนวน  5 ครั้ง ๆ ละ 300 บาท  เป็นเงิน   15,000  บาท
(2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน  5 ครั้ง  จำนวน 10 คน ๆ ละ 35 บาท  เป็นเงิน   1,750  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16750.00

กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปะกาฮะรัง (LTC) จำนวน 3 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปะกาฮะรัง (LTC) จำนวน 3 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(1) ค่าตอบแทนการในการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ จำนวน 10 คน  จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 300 บาท  เป็นเงิน   6,000    บาท
(2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2ครั้ง จำนวน 10 คน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน   700   บาท (3) ค่าตอบแทนการในการประชุมคณะทำงานการกองทุนฯ ช่วยเหลือการปฏิบัติงานการประชุมจำนวน 3 คน  จำนวน 3 ครั้ง ๆ ละ 300 บาท  เป็นเงิน  2,700  บาท
(4) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 3ครั้ง จำนวน 3 คน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน  315   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9715.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการบันทึกข้อมูลงานธุรกรรมของกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการบันทึกข้อมูลงานธุรกรรมของกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุสำนักงาน วัสดุคอมพิวเตอร์ ค่าถ่ายเอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน  เป็นเงิน  2,960 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2960.00

กิจกรรมที่ 5 การประชุมจัดทำแผน กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปะกาฮะรัง

ชื่อกิจกรรม
การประชุมจัดทำแผน กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปะกาฮะรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 35 คน ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน   2,450   บาท
-  ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน  35 คน จำนวน 2  มื้อ ๆ ละ 35 บาท   เป็นเงิน   2,450   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 80,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีการบันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรมออนไลน์และมีฐานข้อมูล เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานกองทุนฯ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบริหารจัดการระบบหลักประกัน
สุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในงานส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคเรื้อรังในชุมชน
2. คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระบบหลักประกันสุขภาพ มีระบบการบริหารจัดการ การติดตาม วิเคราะห์ ประมวลผล ผ่านระบบออนไลน์ สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
3. ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือในการดำเนินงานสุขภาพชุมชนทั้งในด้านการรักษาพยาบาลในระดับปฐมภูมิ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพในระดับชุมชน
4. เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงานของกองทุนฯแก่คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เกิดนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคในชุมชนของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่


>