กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการบริโภคพืชผักที่ปลอดภัยจากสารเคมี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านตรับ

นางกัลญา อะหมัด โทร064-1795418
2 นางหรอปิหย๊ะ ศิริภานนท์ โทร097-2728510
3 นางสายพิน จันทองสุกโทร066-0035314
4 นางสุรินทร์ไชยรัตน์โทร089-8783399
5 นางพยอม จันทรักษ์ โทร080-0367501

หมู่ที่2, 3, 4, 9 และ 11 ต.จะโหนง อ.จะนะ จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

20.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

20.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนที่มีความเสี่ยงของสารเคมีตกค้างในเลือด 55

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/02/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานในการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือด ทบทวนการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา,วางแผนการดำเนินงานในปี 2568 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ อสม. และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คนๆละ 1 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 375 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 21 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจในกระบวนการทำงาน 2.ได้แผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
375.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมความรู้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและตรวจหาปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมความรู้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและตรวจหาปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายและตรวจหาปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด 08.30-09.00 ลงทะเบียน09.00-10.00 น. สถานการณ์และประชุมเสริมทักษะการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยสมุนไพรล้างสารพิษ 10.00-10.15พัก 10.15-12.00รูปแบบการตรวจสารเคมีตกค้าง 12.00-13.00 พักเที่ยง 13.00-14.00 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืชผักลดสารเคมี 14.00 - 15.00 น.ตรวจสารเคมีในเลือด และวิเคราะห์ผล15.00-15.15น.พัก15.15-15.45 น. อภิปรายและสรุปผล 1. ค่าป้ายไวนิวโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 300 บาท (1 เมตรX 2 เมตร) 2. ค่าวิทยากรจำนวน 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 2400 บาท 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรม วิทยากร และผู้เกี่ยวข้องจำนวน 60 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3000 บาท 4. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรม วิทยากร และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 60 คนๆละ 65 บาท เป็นเงิน 3900 บาท 5.ค่าวัสดุสาธิต ประกอบด้วยเศษผัก ผลไม้ 10 กิโลกรัม กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย 3 กิโกกรัมถังน้ำ 2 ใบ มีด 1 เล่ม กะละมัง 3 ใบ เป็นเงิน 600 บาท 6.ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการเจาะเลือดเกษตรกร จำนวน 2 คน คนละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท 7. ค่าวัสดุอุปกรณ์การตรวจ (ค่ากระดาษตรวจโคลีนเอสเตอร์เรสพร้อมชุดตรวจเลือด) จำนวน 1 ชุดๆละ 1780 บาท, 2. ค่าเข็มเจาะ 1 กล่องๆละ 750 บาทรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 2530 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 27 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดและได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง ลดภาวะการเกิดอันตรายจากสารพิษตกค้างในร่างกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13330.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจเลือดหาสารเคมีตกค้างในกลุ่มเสี่ยงภายหลังปรับพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
ตรวจเลือดหาสารเคมีตกค้างในกลุ่มเสี่ยงภายหลังปรับพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจาะเลือดตรวจสารเคมีตกค้าง กลุ่มเสี่ยงภายหลังครบ 1 เดือน 13.00-13.30 ลงทะเบียน 13.30-14.30 เจาะเลือดตรวจกลุ่มเสี่ยงแนะนำความรู้รายบุคคล14.30-14.45 พัก14.45-15.30วิเคราะห์และสรุปผล ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม กลุ่มเสี่ยงและทีมงานตรวจคัดกรองจำนวน 30 คนๆละ 25 บาทเป็นเงิน 750 บาท , ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการเจาะเลือดกลุ่มเสี่ยง จำนวน 2 คนๆละ 300 บาทรวมเป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 เมษายน 2568 ถึง 17 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม จนส่งผลให้ปริมาณสารเคมีที่ตกค้างในกระแสเลือดมีปริมาณที่เหมาะสม ไม่ก่อผลเสียต่อสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1350.00

กิจกรรมที่ 4 คืนข้อมูลสู่ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
คืนข้อมูลสู่ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แจ้งผลการดำเนินงานในที่ประชุม อสม./ ผู้นำชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 พฤษภาคม 2568 ถึง 23 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานสรุปผลการดำเนินงานแจ้ง อสม./ผู้นำชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,055.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้รับการตรวจคัดกรอง ได้รับคำแนะนำเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และส่งรักษาต่ออย่างทันท่วงที
2 ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในระดับที่เสี่ยง มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากสารเคมีมากขึ้น


>