2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
จากการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และความเจริญทางเทคโนโลยี มีผลทําให้ สุขภาพประชาชนป่วยหรือตายด้วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้พฤติกรรมการดํารงชีวิตที่อาจทําให้เกิด ความเครียด ภาวะโภชนาการเกิน ซึ่งเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน สถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก ( กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข : พ.ศ. 2564 ) มีผู้ป่วยจํานวน 463 ล้านคน และคาดการณ์ว่าในปี 2588 จะมีผู้ป่วยเบาหวานจํานวน 629 ล้านคน สําหรับประเทศไทยพบอุบัติการณ์ โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 3 แสนคนต่อปี และมีผู้ป่วย โรคเบาหวานอยู่ในระบบทะเบียน 3.2 ล้านคน ของกระทรวงสาธารณสุข ก่อให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาด้านสาธารณสุข เฉพาะโรคเบาหวานเพียงโรคเดียวทําให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉลี่ยสูงถึง 47,596 ล้านบาทต่อปี และหากรวมอีก 3 โรค คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ทําให้ภาครัฐสูญเสียงบประมาณในการรักษารวมกันสูงถึง 302,367 ล้านบาทต่อปีและ โรคเบาหวานยังคงเป็นสาเหตุหลักที่ ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ในกลุ่มโรค NCDs อีกมากมาย อาทิ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง และ โรคไต ฯลฯ
จากการคัดกรองโรคเบาหวานในปีงบประมาณ 2567 พบว่า ประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานจำนวน 1,716 คนโดยพบว่าจำนวนประชากรที่มีภาวะเบาหวานจากการคัดกรองอยู่ในกลุ่มแผง/เสี่ยง จำนวน 619 คน คิดเป็นร้อยละ 36.07 และกลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 69 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.02เพื่อเป็นการคัดกรองค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยรักษาได้อย่างรวดเร็วและทำการควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดโรครายใหม่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองและสร้างความรอบรู้แก่กลุ่มเสี่ยง/สงสัยป่วยโรคเบาหวาน ปี 2568 ขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น
กำหนดเสร็จ
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?- ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองเบาหวาน
- ประชาชนมีความรู้และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
- ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่