กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการเข้าค่ายอบรมเยาวชนปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีงบประมาณ 2568
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
คณะกรรมการมัสยิดตะโละใส
กลุ่มคน
1.นาย สมพร เหมรา
2.นาย จุลชีพ ขุนเศษ
3.นาย สนั่น มัจฉา
4.นาย ถาวร สุวรรณเรืองศรี
5.นาย อภิเชตน์ ลัดเลีย
3.
หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน ปัญหายาเสพติดและอบายมุขยังคงเป็นภัยร้ายแรงต่อเยาวชน โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนช่วงอายุ 10-12 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีความอยากรู้อยากลองและขาดวุฒิภาวะในการไตร่ตรองพฤติกรรมที่เหมาะสม ปัญหานี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ และอนาคตของเยาวชน รวมถึงกระทบต่อครอบครัวและสังคมโดยรวม ดังนั้นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและเสริมสร้างทักษะชีวิตที่ดีให้แก่เยาวชน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดกิจกรรมอบรมให้เยาวชนตระหนักถึงโทษภัยของยาเสพติดและอบายมุข รวมถึงส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์และการเรียนรู้เชิงบวกภายในค่ายอบรมครั้งนี้ ปัญหายาเสพติดในพื้นที่หมู่ ๔ บ้านตะโละใส จังหวัดสตูล เป็นประเด็นที่มีส่งผลกระทบในหลายมิติ
เยาวชนในพื้นที่บางคนขาดโอกาสทางการศึกษา ทำให้บางคนหลงผิดเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทั้งในฐานะผู้เสพและผู้ค้ายา การเข้าถึงยาเสพติดได้ง่ายในพื้นที่มีเครือข่ายของผู้ค้ายาที่แทรกซึมเข้ามาในชุมชน ซึ่งอาศัยช่องว่างของการบังคับใช้กฎหมายและความยากจนเป็นปัจจัยหนุน การใช้ยาเสพติดเพื่อหลีกหนีความเครียดและปัญหาชีวิต ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่จำนวนไม่น้อยเผชิญกับภาวะความยากจน ปัญหาครอบครัว หรือความไม่มั่นคงทางสังคม ส่งผลให้บางคนใช้ยาเสพติดเป็นทางออกชั่วคราว จงมีผลกระทบ อาจนำไปสู่การเกิดอาชญากรรม เช่น การลักขโมยหรือปล้นจี้ เพื่อหาเงินไปซื้อยา ซึ่งก็เกิดขึ้นมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านสุขภาพ: ผู้ที่ติดยาเสพติดมักประสบปัญหาสุขภาพ เช่น โรคตับ โรคหัวใจ ซึ่งมีผลกระทบต่อชุมชน ความไม่ปลอดภัย ความหวาดกลัว และความเสื่อมโทรมของสังคมในชุมชน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตโดยรวมของคนในพื้นที่ลดลงการขาดกลไกของครอบครัวและชุมชนบางครอบครัวอาจไม่สามารถดูแลหรือให้คำแนะนำที่ดีแก่สมาชิกในบ้าน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เข้มงวดการควบคุมยาเสพติดในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่อาจทำได้ยาก เนื่องจากขาดเจ้าหน้าที่หรือทรัพยากรที่เพียงพอ ดังนั้นทางองค์กรศาสนา มัสยิดบ้านตะโละใสร่วมกับคณะนักศึกษาเอกการสอนอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีและผุ้เกี่ยวข้อง จึงเล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษา สนับสนุนการศึกษาทั้งด้านศาสนาและสามัญเพื่อให้เยาวชนในชุมชนมีทางเลือกที่ดีขึ้น การส่งเสริมชุมชนเข้มแข็งสร้างเครือข่ายของเยาวชนผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง อาสาสมัคร และครอบครัวให้มีส่วนร่วมในการดูแลและแก้ไขปัญหายาเสพติด ส่งเสริมให้มีการลด ละเลิกการใช้ยาเสพติดในหมู่เยาวชนโดยการสนับสนุนการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดกับทางศูนย์ที่จัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูหรือโปรแกรมบำบัดยาเสพติดในพื้นที่และนอกพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องการเลิกยา การสนับสนุนให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เพิ่มความเข้มงวดในการปราบปรามเครือข่ายค้ายาเสพติด และป้องกันไม่ให้ยาแพร่ระบาดในชุมชน

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้เยาวชนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติดและอบายมุข
    ตัวชี้วัด : เด็กและเยาวชนมีความรู้เเละตระหนักถึงโทษของยาเสพย์ติด ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 80.00
  • 2. เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและแนวคิดเชิงบวกในการป้องกันตนเองจากยาเสพติดและอบายมุข
    ตัวชี้วัด : เด็กและเยาวชนมีทักษะชีวิตและแนวคิดเชิงบวกในการป้องกันตนเองจากยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้เเบบสอบถาม
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 80.00
  • 3. เพื่อส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และปลูกฝังจิตสำนึกในการเป็นคนดีของสังคม
    ตัวชี้วัด : มีเครือข่ายเยาวชนที่มีความเข้มแข็ง คือกลุ่มเยาวชนมัสยิดบ้านตะโละใส
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 1.00
  • 4. 4.เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเยาวชนในชุมชนผ่านกิจกรรมกลุ่ม
    ตัวชี้วัด : เด็กและเยาวชนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ร้อยละ 100
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 100.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ประชุมคณะดำเนินงานโครงการเข้าค่ายอบรมเยาวชนปลอดยาเสพติดและอบายมุข
    รายละเอียด

    ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 5 คนดังนี้

    1.นายสมพร เหมรา

    2.นายจุลชีพ ขุนเศษ

    3.นายสนั่น มัจฉา
    4.นายถาวร สุวรรณเรืองศรี

    5.นายอภิเชตน์ ลัดเลีย

    -ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ 30 บาท จำนวน 5 คน เป็นเงิน 150 บาท

    งบประมาณ 150.00 บาท
  • 2. เข้าค่ายอบรมเยาวชนปลอดยาเสพติดและอบายมุข ระยะเวลา ๓ วัน ๒ คืน
    รายละเอียด

    รูปแบบกิจกรรมภายในค่าย

    วันที่ 1

    12.00 น. -14.00 น.ลงทะเบียน

    14.00 น. -15.00 น. กิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ สร้างมิตรภาพ

    15.00 น. - 15.10 น.พักรับประทานอาหารว่าง

    15.10 น. - 16.10 น.กิจกรรมก้าวเเรกสู่การรู้จัก(กลุ่มแนวสร้างแรงบันดาลใจ/คุณธรรม พลังใจ กลุ่มสามัคคี กลุ่มกล้าหาญ กลุ่มเพื่อนแท้ ,กลุ่มแนวธรรมชาติ/ผจญภัย/กลุ่ม สายลมกลุ่ม แสงดาว กลุ่มผืนป่า

    กลุ่ม สายน้ำกลุ่ม ,กลุ่มแนวสร้างสรรค์/สนุกสนาน/กลุ่ม นักรบสายฮากลุ่ม แก๊งใจเกินร้อยกลุ่ม ทีมอึด ถึก ทน กลุ่ม สายแข็งไม่แพ้ใคร)

    16.10 น. - 16.50 น.ปฏิบัติศาสนกิจ (ละหมาดอัสรี)

    16.50 น. -18.30 น.เข้าที่พักตามกลุ่ม

    18.30 น.- 18.50 น.ปฏิบัติศาสนกิจ (ละหมาดมัฆริบ)

    18.50 น. - 19.50 น. กิจกรรม ผู้ใหญ่ทักทายเด็ก

    19.50 น. -20.00 น.ปฏิบัติศาสนกิจ (ละหมาดอีชา)

    20.00 น.- 21.00 น. กิจกรรม สานใยเเห่งรัก สร้างกำเเพงยาเสพติด

    21.00เป็นต้นไปพักผ่อนตามอัธยาศัย/เข้าที่พัก

    วันที่ 2

    05.30 น.- 06.00 น.กิจกรรมการปฏิบัติศาสนกิจ (ละหมาดซุบฮิ)

    06.00 น. - 07.00 น. กิจกรรมออกกำลังกายและสันทนาการยาม

    07.00 น. - 08.30 น. อาบน้ำ/รับประทานอาหารเช้า

    08.30 น. - 09.30 น.กิจกรรมใครคือฉัน

    09.30 น. - 10.30 น. พิธีเปิด กล่าวต้อนรับ โดยผู้จัดโครงการฯ เเละกล่าวเปิดงาน โดย ผู้บริหาร

    10.30 น. - 10.40 น.พักรับประทานอาหารว่าง

    10:40 น. - 11.40 น. บรรยาย รู้ทันภัยยาเสพติดและอบายมุข โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ

    11:40 น. -12.00 น.พี่เลี้ยงพบน้องค่าย

    12:00 น. -13.00 รับประทานอาหารกลางวัน/ปฏิบัติศาสนกิจ (ละหมาดซุฮ์รี)

    13:00 น. - 14.00 น.กิจกรรมกลุ่มย่อย: การจำลองสถานการณ์และการแก้ไขปัญหา

    14:00 น. - 15.00 น. เกมสร้างเสริมทักษะชีวิต และกิจกรรมนันทนาการ

    15:00 น. - 15.10 น. พักเบรค/อาหารว่าง

    15:10 น. - 16.10 น. กิจกรรมเพื่อนฉันเพื่อนเธอ

    16.10 น. - 16.30 น. ปฏิบัติศาสนกิจ (ละหมาดอัสรี)

    16.30 น. - 18.00 น. ออกกำลังกาย/ธรรมชาติบำบัด

    18.00 น. - 18.30 น.พักผ่อนส่วนตัว / อาบน้ำ/รับประทานอาหารเย็น

    18:30 น. 18.50 น. ปฏิบัติศาสนกิจ (ละหมาดมัฆริบ)

    18.50 น. - 19.50 น. กิจกรรม ผู้นำพบชาวค่าย

    19.50 น. -20.00 น.ปฏิบัติศาสนกิจ (ละหมาดอีชา)

    20.00 น.- 22.00 น. กิจกรรม ชาวค่าย

    22.00 เป็นต้นไป พักผ่อนตามอัธยาศัย/เข้าที่พัก

    วันที่ 3

    05.30 น.- 06.00 น.กิจกรรมการปฏิบัติศาสนกิจ (ละหมาดซุบฮิ)

    06.00 น. - 07.00 น. กิจกรรมออกกำลังกายและสันทนาการยาม

    07.00 น. - 08.30 น. อาบน้ำ/รับประทานอาหารเช้า

    08:30 น. -09.30 น.บรรยายเชิงปฏิบัติการ การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

    09.30 น. - 10.30 น.กิจกรรมกลุ่ม แผนชีวิตปลอดภัยจากยาเสพติด

    10.30 น. - 10.40 น.พักเบรค/อาหารว่าง

    10.40 น. -11.40 น.กิจกรรมกลุ่ม แผนชีวิตปลอดภัยจากยาเสพติด

    11:40 น. -12.00 น.พี่เลี้ยงพบน้องค่าย

    12:00 น. -13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน/ปฏิบัติศาสนกิจ (ละหมาดซุฮ์รี)

    13:00 น. - 14.00 น. สรุปผลและประเมินผลการเข้าค่าย

    14:00 น. - 15.00 น. พิธีปิดและมอบเกียรติบัตร

    15:00 น. - 15.10 น. พักเบรค/อาหารว่าง

    15:10 น.เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

    งบประมาณโครงการ

    1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับเยาวชน/พี่เลี้ยง/ผู้เกี่ยวข้อง 50 บาท/คน x 100 คน x 6 มื้อ = 30,000 บาท

    2.ค่าอาหารว่างสำหรับเยาวชน/พี่เลี้ยง/ผู้เกี่ยวข้อง 30 บาท/คน x 100 คน x 5 มื้อ = 15,000 บาท

    3.ค่าป้ายไวนีลโครงการ 1 ป้าย ขนาด 4 ม. x 2 ม. X 150 บาท = 1200 บาท

    4.ค่าตอบแทนวิทยากร 15 คนๆละ 600 บาท = 9,000 บาท

    5.ค่าจัดทำเกียรติบัตร แผ่นละ 10 บาทx จำนวน 100 ใบ = 1,000 บาท

    6.ค่าที่พักของวิทยากร = 2,000 บาท

    7.ค่าเช่าเครื่องเสียง 1 ชุด เป็นเวลา 2 วันๆละ 2500 บาท เป็นเงิน 5000 บาท

    8.ค่าวัสดุอุปกรณ์ทำกิจกรรมในค่าย

    -ค่ากระดาษ ปรู๊ฟ จำนวน 3 โหลๆละ x 48 = 144 บาท

    -ค่าปากกาเคมี จำนวน4 โหลๆละ x 180 = 720 บาท

    -ค่าปากกาลูกลื่นจำนวน2 กระปุกๆละ x 300 = 600 บาท

    -ค่ากาวยู้ฮูสติกจำนวน2 หลอดๆละ x 95 = 190 บาท

    -ค่าแฟ้มกระดุมจำนวน10 โหลๆละ x 180 = 1800 บาท

    -ค่ากระดาษกาวย่น ขนาด1.5 นิ้วจำนวน5 ม้วนๆละ x 60 = 300 บาท

    -ค่ากระดาษการ์ขาว ขนาด180 แกรมจำนวน3 แพคๆละ x 85 = 255 บาท

    9.ค่าเอกสารประกอบการอบรม ราคาชุดละ 50 บาท จำนวน 100 ชุด เป็นเงิน 5000 บาท

    10.ค่ายาและเวชภัณฑ์เบื้องต้นค่าใช้จ่ายอื่นๆ (สำรองฉุกเฉิน) ขอความอนุเคราะห์จากรพ.สต.ปากน้ำ

    11.ค่าประชุมคณะการติดตามโครงการ 30 บาท/คน x 21 คน x 1 มื้อ = 630 บาท

    รวมทั้งสิ้น 72,839 บาท

    งบประมาณ 72,839.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 10 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568

8.
สถานที่ดำเนินการ

ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา) บ้านตะโละใส

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 72,989.00 บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

๑. เยาวชนเข้าร่วมโครงการครบตามเป้าหมายจำนวน ๘0 คน ๒. เยาวชนอย่างน้อย 90% มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติดและอบายมุขเพิ่มขึ้น
(จากการประเมินก่อนและหลังอบรม) ๓. เยาวชนอย่างน้อย 85% สามารถระบุแนวทางการป้องกันตนเองจากยาเสพติดและอบายมุขได้ถูกต้อง ๔. เยาวชนอย่างน้อย 90% มีความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมและเนื้อหาในค่ายอบรมในระดับ "มาก" ถึง "มากที่สุด" ๕. เกิดการเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเยาวชนในกลุ่มเป้าหมาย และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 72,989.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................