กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำตก

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำตก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบมีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์

 

33.33

ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบลสุคิรินซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธ์เพื่อให้มีการตั้งครรภ์และการคลอด/หลังคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยมีสุขภาพแข็งแรงไม่เกิดโรคภาวะแทรกซ้อน ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม เป็นปัญหาที่สำคัญของงานอนามัยแม่และเด็กในประเทศไทย จากผลการดำเนินงาน งานอนามัยแม่และเด็กในปี 2566 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำตก พบว่าสถานการณ์ปัจจุบันพบว่า ร้อยละของหญิงที่สิ้นสุดการตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบมีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 33.33
มารดาไม่สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ วัยรุ่นจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงกว่าผู้ที่มีอายุเกินกว่า 20 ปี เช่น ภาวะโลหิตจาง ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนดสูง เจ็บครรภ์คลอดนานการคลอดโดยใช้อุปกรณ์ช่วยคลอด เสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม และทารกตายในครรภ์ และวัยรุ่นยังไม่พร้อมด้านจิตใจสำหรับการเป็นแม่เมื่อไม่พร้อมในการเป็นแม่จึงฝากบุตรไว้กับญาติหรือผู้ดูแลเด็ก โดยการให้กินนมผสม ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจตามมา นอกจากนี้การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้าน เศรษฐกิจและสังคมอีกด้วย คือการต้องหยุดหรือออกจากการศึกษา ไม่มีงานทำ ค่ารักษาพยาบาลขณะตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และการเลี้ยงดูบุตร ปัญหาเหล่านี้ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทั้งแม่วัยรุ่นและบุตรที่เกิดมา ผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ ทั้งกาย จิต การศึกษาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทั้งต่อตัววัยรุ่นเอง ครอบครัวและสังคมไทยในภาพรวม ซึ่งก็ยังเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงและส่งผลต่อสุขภาพแม่และเด็ก ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำตก ยังคงดำเนินโครงการนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง

หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง

80.00 80.00
2 2.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ≥75

80.00 80.00
3 3.ร้หญิงที่สิ้นสุดการตั้งครรภ์ มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ลดลง

หญิงที่สิ้นสุดการตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบ มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ ≤14

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
หญิงวัยเจริญพันธ์ที่มีอายุ15-49ปี 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมให้ความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองแก่หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์/มารดาหลังคลอด รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมให้ความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองแก่หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์/มารดาหลังคลอด รายละเอียด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองแก่หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์/มารดาหลังคลอดและครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลตนเองและทารกแรกเกิด ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ 1 ผืน ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร เป็นเงิน720บาท
ค่าวิทยากร (เวลา 09.00-12.00) ชม.ละ 300 บาทx 3 ชม. เป็นเงิน 900 บาท ค่าอาหารว่าง 25 x 50 คน เป็นเงิน 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2870.00

กิจกรรมที่ 2 2.ติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
2.ติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.ติดตามประเมินผล รายละเอียด เวลา 09.00น-15.00น. -ติดตามประเมินผลหลังอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองแก่หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์/มารดาหลังคลอด
-กิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลสุขภาพตนเองเวลา 09.00น-14.00น. ค่าอาหารกลางวัน 50 บ.x 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 2 มื้อx 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,870.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้
2. ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์/หลังคลอด
3.เด็กแรกเกิด-ต่ำกว่า ๖ เดือน กินนมแม่อย่างเดียว


>