กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกโพธิ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการและพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโคกโพธิ์ ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกโพธิ์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโคกโพธิ์ จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ โดยต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณนั้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดได้รับเงินเพิ่มจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในส่วนบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงหรือบริการอื่น อาจสนับสนุนคาใช้จ่ายเพิ่มเติมได้อีกไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทั้งในส่วนของการจัดการประชุมและพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานกองทุน ฯ การจัดหาครุภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการบริหารจัดการการจัดทำแผน หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลโคกโพธิ์ ในฐานะคณะทำงานฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโคกโพธิ์ ซึ่งเป็นส่วนราชการที่ขับเคลื่อนงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการและพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพขึ้น เพื่อให้การบริหารจัดการและการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานบริหารจัดการกองทุน ฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุตามวัตถุประสงค์

สนับสนุนการดำเนินงานบริหารจัดการกองทุน ฯ  เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุวัตถุประสงค์ ร้อยละ 90

70.00 90.00
2 2. เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการจัดบริการสุขภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่รวมทั้งส่งเสริมหรือแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการจัดบริการสุขภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่รวมทั้งส่งเสริมหรือแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 90

70.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 21

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ค่าตอบแทนคณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานชุดต่าง ๆ รวมทั้งผู้เข้าร่วมการประชุม

ชื่อกิจกรรม
1. ค่าตอบแทนคณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานชุดต่าง ๆ รวมทั้งผู้เข้าร่วมการประชุม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อัตรา 400 บาท/คน/ครั้ง
  • อัตรา 300 บาท/คน/ครั้ง
  • อัตรา 150 บาท/คน/ครั้ง            เป็นเงิน  25,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

กิจกรรมที่ 2 2. ค่าจัดซื้อจัดจ้างวัสดุต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม
2. ค่าจัดซื้อจัดจ้างวัสดุต่าง ๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อวัสดุต่าง ๆ  เป็นเงิน    5,000.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 3. ค่าใช้จ่ายในการรับรองและพิธีการ

ชื่อกิจกรรม
3. ค่าใช้จ่ายในการรับรองและพิธีการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มรับรองคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานและผู้เข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ ของกองทุน   อัตรา 35 บาท/คน/มื้อ   เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 4 4. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม หรือศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกองทุนอื่น ๆ สำหรับ กรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
4. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม หรือศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกองทุนอื่น ๆ สำหรับ กรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม หรือศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกองทุนอื่น ๆ สำหรับ กรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง           เป็นเงิน 6,880.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6880.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,880.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กองทุนมีการบริหารจัดการกองทุน ฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุตามวัตถุประสงค์
2. ภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้งประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดบริการสุขภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่เพื่อส่งเสริมหรือแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ


>